ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก

Authors

  • ปุณรดา เจริญดี หน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Keywords:

แนวทางปฏิบัติทางคลินิก, การใส่ท่อระบายทรวงอก, ความรู้, การปฏิบัติ, clinical nursing practice guideline, intercostal chest drain, knowledge, practice

Abstract

      การวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้  การปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก  ทัศนคติ  และความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและได้รับการบาดเจ็บช่องทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก จำนวนทั้งสิ้น 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)  แบบประเมินความรู้  3)  แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก  4)  แบบประเมินทัศนคติ  5) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล   วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย  การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์    

      ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิก  กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.001   มีคะแนนการปฏิบัติผ่านเกณฑ์ 80  เปอร์เซ็นต์   มากกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .020    มีทัศนคติต่อการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บช่องอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกไม่แตกต่างกันที่ระดับ .5 ระดับความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกอยู่ระดับมากที่สุด

      สรุป การปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ใส่ท่อระบายทรวงอกพยาบาลสามารถพัฒนาทักษะและให้การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ใส่ท่อระบายทรวงอกได้

      ข้อเสนอแนะ    ในการศึกษาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกครั้งต่อไปควรทำแนวทางปฏิบัติในกลุ่มโรคอื่นๆ


Effectiveness  of Clinical  Practice  Guideline for Caring Chest Trauma Patients with  Intercostal   Drainage

        This quasi-experimental one-group pre- and post-test design  research aimed to compare the levels of knowledge, practices of nurses, attitudes  and satisfaction of nurses with using Clinical Nursing Practice Guidelines (CNPG) for intercostal Drainage Caring Implementation in adult patients with chest trauma to a total of 118 nurses working at the patient wards to provide care to adult chest trauma patients included in the study. The self-administered questionnaire comprised 1) characteristics 2) knowledge 3) practice (CNPG) 4) attitude 5) satisfaction.  Descriptive statistics and a Chi-square test were used to analyze data. The implementation of CNPG significantly increased the score of knowledge of nurses who passed the 80% cut-off point (p<0.001). After the implementation, the scores of nurses who passed the 80% cut-off point adherence to the CNPG  increased significantly (p=0.020), whereas the attitude remained unchanged (p = 0.5). Finally, the nurse satisfaction for CNPG was that of highly satisfied. In conclusion, the implementation of CNPG can improve practice in ICD care for trauma nurse. However, a future study is required to investigate its role in CNPG among other diseases.


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)