การเปรียบเทียบการรับรู้ความเจ็บป่วย และการจัดการตนเองของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานีที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Authors

  • อรทัย เหรียญทิพยะสกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิมลรัตน์ บุญเสถียร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

การรับรู้ความเจ็บป่วย, การจัดการตนเอง, เบาหวานชนิดที่ 2, illness perception, self-management, type 2 diabetes

Abstract

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความเจ็บป่วย และการจัดการตนเองของบุคคลวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ จังหวัดปทุมธานี ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 220 คน อยู่ในวัยผู้ใหญ่ 81 คน ร้อยละ36.8 และวัยสูงอายุ 139 คน ร้อยละ 63.2 ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาอย่างน้อย 1 ปี ได้รับการรักษาโดยรับประทานยา หรือฉีดอินสุลิน หรือทั้งสองชนิด มีสัญชาติไทย สื่อสารภาษาไทยได้ และยินดีให้สัมภาษณ์ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน และแบบสอบถามการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent samples t test หรือ Mann-Whitney U test ขึ้นกับลักษณะการกระจายของข้อมูล ผลการวิจัยพบความคล้ายคลึงกันของการรับรู้ความเจ็บป่วยระหว่างกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มผู้สูงอายุ ยกเว้นด้านการควบคุมโรคด้วยการรักษา ซึ่งผู้เป็นเบาหวานกลุ่มผู้ใหญ่รู้สึกเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของการรักษาที่ได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์สูงกว่ากลุ่มผู้สูงอายุ (Z = -2.941, p = 0.003) ส่วนการเปรียบเทียบการจัดการตนเองเมื่อเป็นเบาหวานไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

        ผลการศึกษาครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้พยาบาลเข้าใจความแตกต่างทางความคิด การรับรู้ และการจัดการตนเองในมุมมองของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องและเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย

 

A Comparison of Illness Perception and Self-Management among Adults and Elderly with Type 2 Diabetes in Pathum Thani Province

        A cross-sectional descriptive study was conducted with the aim to investigate the differences of illness perception and self-management among adults and elderly people with type 2 diabetes living in Pathum Thani province. A multistage sampling method was used to randomly select 220 participants, comprising 81 adults (36.8%) and 139 elderly (63.2%) diagnosed with type 2 diabetes for at least one year, taking oral anti-diabetic agent(s), insulin injections, or both, and who are Thai citizens, speak Thai and are willing to be interviewed. The measurement tools consisted of the Illness Perception Questionnaires for Diabetes and the Diabetes Self-Management Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and an independent samples t-test or Mann-Whitney U test, depending on data distribution. The findings demonstrated the greatest similarities of illness perception except for the treatment control sub-scale. The adults, more than the elderly, with diabetes felt more confident in the effectiveness of the treatment provided by the healthcare professionals (Z = -2.941, p = 0.003). No statistical significance was found when comparing the self-management among adult and elderly groups.

        These research findings may enhance nurses’ understanding of the differences of the way of thinking, perceptions, and self-management from the views of the adults and elderly with diabetes resulting in the ability of the nurses to design individualized care plans accordingly for these specific groups. 


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)