เหตุผลการมารับบริการ และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับบริการในโครงการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

Authors

  • วราภรณ์ ศิริธรรมานุกุล พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

Keywords:

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, เหตุผลการรับบริการ, ความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก, cervical cancer screening, reasons for service utilization, health belief, cervical cancer prevention

Abstract

        การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลการมารับบริการและความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี ที่มารับบริการในโครงการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรี จำนวน 360 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเหตุผลในการมารับบริการ และแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว  และการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's method)

        ผลการศึกษา พบว่าเหตุผลโดยรวมต่อการมารับบริการ คือ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ รองลงมาคือ ความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาล และเพื่อน/คนรู้จักชวนให้มาตรวจ ตามลำดับ ความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกโดยรวมอยู่ในระดับสูง (\dpi{80} \small \bar{X}= 3.70, S.D.= 0.37) การเปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกโดยรวม ของสตรีกลุ่มตรวจไม่สม่ำเสมอ ไม่เคยตรวจ และตรวจสม่ำเสมอ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและด้านการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ .01 ตามลำดับ)

        ข้อเสนอแนะ คือ บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรสร้างบริการที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น สร้างกลุ่มแกนนำเครือข่าย เพื่อน/คนรู้จัก เพื่อจูงใจกลุ่มสตรีให้เข้ารับบริการตรวจ และวางแผนรณรงค์จูงใจให้สตรีลดอุปสรรคของการปฏิบัติในการป้องกันโรค รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคให้มากขึ้น


Reasons for Service Utilization and Health Belief in Cervical Cancer Prevention among Females Undergoing the Cervical Cancer Prevention and Surveillance Project of Chulabhorn Hospital

        This descriptive research aimed to study: 1) reasons for service utilization, and 2) health belief in cervical cancer prevention among Thai females undergoing the cervical cancer prevention and surveillance project at Chulabhorn Hospital. This study were conducted using simple random sampling with 360 Thai female subjects. The research instruments comprised: 1) the reasons for service utilization questionnaire, and 2) health belief in cervical cancer prevention questionnaire. Data analysis was conducted using descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA and post hoc tests multiple comparisons by Scheffe' method.

        The results showed that the most common reasons for service utilization among Thai females are that there are no costs, the hospital’s reliability, and friends’ persuasion, respectively. In addition, health belief in cervical cancer prevention overall aspect were of high range (\dpi{80} \small \bar{X} = 3.70, S.D.= 0.37). There was no statistically significant difference in health belief toward cervical cancer prevention overall aspect among those without previous screening for cervical cancer, not always previous screening for cervical cancer group, and always previous screening for cervical cancer group (p> .05). However, perceived susceptibility of cervical cancer aspect and perceived barriers to cervical cancer prevention aspect were statistically significant different (p<.05 and .01, respectively).

        This study suggests that the health personnel involved should create a service that contributes to reliability and creates a friends/acquaintances network for increased rate of female motivation to service utilization. In addition, the campaign should plan to motivate Thai females to reduce perceived barriers of cervical cancer and focus on enhancing perceived susceptibility of cervical cancer.

    

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)