ผลของโปรแกรมอาหารสุขภาพต่อดัชนีมวลกายของบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Authors

  • วริษา ศิริเวชยันต์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาอาหารและโภชนาการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • น้องนุช ศิริวงศ์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุฑาพร เนียมวงษ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อำพร แจ่มผล ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พรทิพย์ พสุกมลเศรษฐ์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

พลังงาน, สารอาหารหลัก, ดัชนีมวลกาย, อาหารสุขภาพ, energy, macronutrients, body mass index, healthy diet

Abstract

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมอาหารสุขภาพต่อค่าดัชนีมวลกายของบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่มารับบริการอาหารที่ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด จำนวน 49 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมอาหารสุขภาพพัฒนาจากอาหารที่ให้บริการบุคลากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้มีพลังงานต่อวัน 1,600 กิโลแคลอรี่ สำหรับผู้หญิงวัยทำงาน และ 2,000 กิโลแคลอรี่ สำหรับผู้ชายวัยทำงาน และสัดส่วนการกระจายของสารอาหารหลักเป็นดังนี้ คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60-63 โปรตีน ร้อยละ 12-15 และไขมัน ร้อยละ 25-30 ของพลังงานทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการบริโภคอาหาร เครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง เก็บรวบรวมข้อมูลค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมอาหารสุขภาพ และข้อมูลอาหารที่บริโภคในมื้ออาหารที่ไม่ได้มารับบริการโดยจดบันทึกในแบบบันทึกการบริโภคอาหาร  ผู้วิจัยจะนำมาคำนวณพลังงานและสารอาหารหลักโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป INMUCAL-V.3 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าดัชนีมวลกายหลังทดลองลดลงจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยพลังงานในมื้ออาหารที่ไม่ได้มารับบริการนั้น เท่ากับ 489.3 กิโลแคลอรี่ต่อมื้อ ซึ่งมีค่าต่ำกว่าพลังงานที่ควรได้รับต่อมื้อ ดังนั้น โปรแกรมอาหารสุขภาพนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาอาหารให้มีพลังงานและสารอาหารหลักที่เหมาะสมและสมดุลกับผู้บริโภค 


Effect of Healthy Diet Program on the Body Mass Index of King Chulalongkorn Memorial Hospital Staff

        The objective of this study was to investigate the effect of a healthy diet program on the body mass index (BMI) of King Chulalongkorn Memorial hospital staff. Forty nine participants were included from King Chulalongkorn Memorial hospital staff. This healthy diet program was a research tool which was developed from a traditional food program served to hospital staff by modifying energy and nutrients distribution. Modified energy for women was 1,600 kilocalories per day and 2,000 kilocalories for men. The nutrients distribution ratio between carbohydrate, protein, and fat was 60-63, 12-15, and 25-30% of energy intake, respectively. A food diary, body weight scale and stature meter were used for data collection. Weight and height were calculated to BMI before and after this program. In addition, the food diary used for recording the other meals was collected and energy and nutrients intake calculated by INMUCAL-V.3 software. The results of this study showed that BMI after this program was significantly decreased compared with before this program (p<0.05). Average energy intake of other meals was 489.3 kilocalories per meal which was lower than the energy requirement per meal. Therefore, this program can be used as a model for developing energy and nutrients distribution to be adequate and appropriate for the consumers. 


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)