ศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กังวานไทย ออกตลาด โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 78 คน ประกอบด้วย อาสาสมัคร จำนวน 24 คน และสมาชิกในครอบครัว จำนวน 54 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน ซึ่งเป็นผู้ดูแลกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม 2560 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจ (alpha 0.87) แบบวัดคุณภาพชีวิต (WHOQOL–BREF- Thai) (alpha 0.94) และแบบวัดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า (Thai HADS) (alpha 0.85) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอย Multinomial logistic regression และวิเคราะห์ สรุปเนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลทั้งกลุ่มอาสาสมัครและสมาชิกในครอบครัว ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 70.8 และ 75.9 อายุเฉลี่ย 42 และ 51 ปี ตามลำดับ มีศักยภาพด้านบทบาทโดยรวมคะแนนเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 39.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.28, 44.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.28), คุณภาพการดูแลอยู่ในระะดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 29.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.7, 27.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.8), คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอย่ในเกณฑ์ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 93.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12.0, 85.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.8) จำแนกเป็น ด้านร่างกาย (ค่าเฉลี่ย 25.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0, 24.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.8) ด้านจิตใจ (ค่าเฉลี่ย 27.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0, 22.14 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 6.8) ด้านสังคม (ค่าเฉลี่ย 10.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0, 10.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.8) และด้านสิ่งแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย 29.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.0, 27.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.8), ความวิตกกังวลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 87.5 และ 87.0 ตามลำดับ ภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 66.7 และ 68.5 ตามลำดับ และมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.3 และ 79.6 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนของนักการแพทย์แผนไทย (adj.OR = 19.18, 95% CI: 0.29-0.36) การสนับสนุนของพยาบาลวิชาชีพ (adj.OR: 2.82, 95%CI: 0.78-0.92) ศักยภาพตามบทบาท (adj.OR: 2.50,
95%CI: 0.69-0.90) เพศ (adj.OR: 1.88, 95%CI: 0.45-0.86) ความวิตกกังวลระดับปานกลาง (adj.OR: 1.85, 95%CI: 0.32-0.54) และอายุของผู้ดูแล (adj.OR: 1.08, 95%CI: 0.30-0.35) สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล ได้แก่ การไม่ได้ทำงาน (adj.OR: 0.25, 95%CI: 0.14-0.77) ศักยภาพการดูแลผู้ป่วย (adj.OR: 0.65, 95%CI: 0.18-0.31) และภาวะซึมเศร้า (adj.OR: 0.34, 95%CI: 0.01-0.05) และพบว่าต้องการของผู้ดูแลมี 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) รัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข มีการกำหนดนโยบาย การดูแลสุขภาพของผู้ดูแลและด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริการสังคม 2) ระดับจังหวัด มีการสนับสนุนให้ประชาชนเตรียมพร้อมทางด้านการเงินก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ 3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยี่ยมดูแลผู้ป่วยและ
เป็นที่ปรึกษา 4) มีการส่งเสริมสุขภาพ จัดให้มีค่าตอบแทนเบี้ยยังชีพและการพัฒนาศักยภาพสนับสนุนความก้าวหน้า และ 5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายชุมชน มีการตั้งชมรมช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง
สรุป ผลการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงเป็นการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ. 7 จังหวัดในเขตบริการสุขภาพที่ 8 จัดระบบการดูแลเชิงรุกผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยระยะสุดท้าย [อินเทอร์เน็ต]. สำนักข่าว hfocus; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content.
2. วัจนา ลีละพัฒนะ, สายพิณ หัตถีรัตน์.เมื่อผู้ดูแลทำไม่ไหวแล้ว (working with caregiverburnout). ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตรรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. [เข้าถึง เมื่อ 30 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.mahidol.ac.th/ fammed/th/article23.
3. สันต์ ใจยอดศิลป์. การเป็นผู้ดูแลคนป่วยเรื้อรัง (Caregiver) [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.visitdrsant.blogspot.com/2010/07/caregiver.html
4. Ebrahimzadeh MH, Shojaee BS,Keshtan FG, Moharari F, Kachooei AR, FattahiAS. Depression, anxiety and quality of life in caregiver spouses of veterans with chronic
spinal cord injury. Iran J Psychiatry 2014; 9(3): 133–36.
5. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. แนวปฏิบัติการดูแลทางสังคมจิตใจใน Psychosocial clinic และคลินิกต่างๆ ของโรงพยาบาลชุมชน. นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2559:
3-18. [เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sorporsor.com
6. Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995: 180.
7. เวชระเบียนโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี, 2559.
8. สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, พฤกษา บุกบุญ, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. รายงานการสำรวจสถานการณ์และความคิดเห็นต่อนโยบายทีมหมอประจำครอบครัว. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
2558; 16.
9. Best JW. Research in education.Englewood cliffs. New Jersey: Prentice hall inc; 1970.
10. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
11. ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล, อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม hospital anxiety and depression scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41(1): 18-30.
12. อุเทน มุกเย. การพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยอัมพาตที่บ้านด้วยการแพทย์แผนไทย ของชุมชนตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร. [วิทยานิพนธ์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558: 213-23.
13. วารุณี มีเจริญ. ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง: การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. Rama Nurs J 2555; 20(1): 10-21.
14. อรพรรณ กาศโอสถ, ศิริภรณ์ ทองคำ, ขวัญทิพย์ กาสาย, วิชุดา ศรียุทนา, วราภรณ์ มหาพรม, ยงยุทธ แก้วเต็ม. ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเขตพื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558: 1-14.
15. Hoof JV, Wetzels MH, Dooremalen AM, Overdiep RA, Nieboer ME, Eyck AM. Exploring Innovative Solutions for Quality of Life and Care of Bed-Ridden Nursing Home
Residents Through Codesign Sessions. JA research 2015: 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28