ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำเพื่อการพัฒนาโปรแกรมอบอุ่นร่างกายในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง, ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ, ภาวะหนาวสั่นบทคัดย่อ
การเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ จะส่งผลให้เกิดภาวะหนาวสั่น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง (spinal block: SB) ซึ่งภาวะอุณหภูมิกายต่ำทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้ป่วยตามมาได้ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบ SB โรงพยาบาลหนองบัวลำภู และรวมถึงความพึงพอใจของบุคลากรต่อการใช้แนวปฏิบัติอบอุ่นร่างกาย ศึกษาผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังที่มารับการผ่าตัด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2559 แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ระหว่างกลุ่ม 1 ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 418 คน กลุ่ม 2 ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 364 คน และพยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานวิสัญญีวิทยาผู้ใช้แนวปฏิบัติอบอุ่นร่างกาย จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกลักษณะผู้ป่วย แบบบันทึกอุณหภูมิใช้การวัดระดับของ Hasankhani (2007) (alpha 0.95) โดยใช้ tympanic thermometer, แบบประเมินระดับหนาวสั่น ฉบับภาษาไทยของสาธร หมื่นสกุล (alpha 0.96) และแบบประเมินความพึงพอใจ (alpha 0.90) สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ independent t-test และวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกหลายชั้น (multinomial logistic regression) แสดงค่า adjusted Odds ratio (AOR) และ 95% confdence interval (CI) มีค่านัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 ไม่มีความแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ใช้เวลาในการผ่าตัดมากกว่า 30 นาที ได้รับสารน้ำน้อยกว่า 2,000 มล. เสียเลือดน้อยกว่า 500 มล. ข้อมูลที่แตกต่างกันในช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 พบว่าระยะเวลาผ่าตัด เฉลี่ย 25.17 และ 54.36 นาที, การได้รับสารน้ำเฉลี่ย 1,188.81 และ 1,441.31 มล., ปริมาณเสียเลือด เฉลี่ย 118.74 และ 256.25 มล., อุณหภูมิกายนาทีที่ 15 (T3) เฉลี่ย 34.28 และ 34.65 ๐C, อุณหภูมิกายนาทีที่ 30 (T4) เฉลี่ย 35.22 และ 35.58 ๐C อุณหภูมิหลังอบอุ่นร่างกายต่ำกว่า 36.5 ๐C อุบัติการณ์หนาวสั่นเมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด 308 และ 8 คน ตามลำดับ อุบัติการณ์อุณหภูมิกายต่ำและหนาวสั่นช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 พบว่า โดยรวมผู้ป่วย SB มีภาวะอุณหภูมิกายต่ำลดจากร้อยละ 17.96 เป็นร้อยละ 12.53 ภาวะหนาวสั่นลดจากร้อยละ 14.29 เป็นร้อยละ 8.12 ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิกายต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประเภทผ่าตัด (AOR 2.06, 95%CI: 1.458-3.171), SBP (systolic blood pressure; AOR 2.08, 95%CI: 1.374-3.454), ปริมาณเสียเลือดมากกว่า 500 มล. (AOR 1.06, 95%CI: 1.074-2.135), การได้รับสารน้ำมากกว่า 2,000 มล. (AOR 1.02, 95%CI: 1.036-2.056) และระยะเวลาผ่าตัด ≥ 30 นาที (AOR 0.75, 95%CI: 0.008-0.767) ช่วงปีงบประมาณ 2558-2559 โดยรวมความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับสูงเพิ่มจากร้อยละ 63.33 เป็น 86.9 และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อบุคลากรในการอบอุ่นร่างกาย อยู่ในระดับสูง เพิ่มจากร้อยละ 61.16 เป็น 91.2 ตามลำดับ
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่นและอุณหภูมิต่ำในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบ SB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประเภทผ่าตัด ความดันโลหิต ปริมาณเสียเลือด การได้รับสารน้ำ และระยะเวลาผ่าตัด
References
2. Baker B, Lawson R. Maternal and newborn outcomes related to unplanned hypothermia in scheduled low-risk cesarean delivery births. Newborn & Infant Nurs rev. 2012; 12: 7-75.
3. วัลภา จิรเสงี่ยมกุล. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะหนาวสั่นในห้องพักฟื้นหลังได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2558; 29: 579 – 86.
4. ญาณนันท์ รัตนธีรวิเชียร, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, นฤมล ทองคำ, กรรณิกา กัลยาณคุปต์.อุบัติการณ์และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. J Nurs Sci. 2013; 31: 34-44. 5. โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. สถิติผู้ป่วยผ่าตัด ในโปรแกรมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วย; 2558.
6. Hasankhani H, Mohammadi E, Moazzami F, Mokhtari M, Naghizadeh MM. The Effects of Warming Intravenous Fluids on Perioperative Haemodynamic Situation, Postoperative Shivering and Recovery in Orthopedic Surgery. Can Oper Room Nurs J 2007; 25: 20-7.
7. สาธร หมื่นสกุล. ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิแกนและอาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556: 46-8. [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2560] จาก: https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms
8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypothermia. งานพัฒนาคุณภาพบริการวิสัญญี ภาควิชาวิสัญญีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554: 74-80. [เข้าถึงเมื่อ 28 เมษายน 2560] จาก: https://www.anaes1.md.kku. ac.th
9. Pisitsak C, Virankabutra T, Deewong K, Pornprasertsuk M. Postoperativehypothermia: Incidence and associated factors. Thai J Anesthesiology 2011; 37: 93-103.
10. Roggla M, Frossard M, Wagner A, Holzer M, Bur A, Roggla G. Severe accidental hypothermia with or without hemodynamic instability: rewarming without the use of extracorporeal circulation. Wien Klin Wochenschr 2002; 114: 315–20.
11. ชาริณี ประจันทร์นวล, เทพกร สาธิต การมณี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี, ดวงธิดา นนท์เหล่าพล, วิริยา ถิ่นชีลอง. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอุณหภูมิกายต่ำขณะผ่าตัดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการป้องกันตามมาตรฐาน. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วิสัญญีสาร 2556; 39: 183-91.
12. สุพิศ สกูลคง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในห้องพักฟื้น.กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3: 195-207.
13. Yimer TH, Hailekiros AG, Tadesse YD. Magnitude and Associated Factors of Postanaesthesia Shivering Among Patients Who Operated Under Regional Anesthesia, Northwest Ethiopia: A Cross Sectional Study. Ethiopia. J Anes Clin Res. 2015; 6: 587-12.
14. Luggya TS, Kabuye RN, Mijumbi C, Tindimwebwa JB, Kintu A. Prevalence, associated factors and treatment of post spinal shivering in a Sub-Saharan tertiary hospital: a prospective observational study. BMC Anesthesiol 2016; 16: 100
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร