ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผน ต่อการระงับความปวดด้วยเครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง (Patient Controlled Analgesia: PCA) ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความรู้อย่างมีแบบแผน, การระงับความปวด, ความพึงพอใจ, เครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเองบทคัดย่อ
ที่มา ความเจ็บปวดเป็นภาวะหนึ่งที่ผู้ป่วยได้รับจากการผ่าตัดซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การระงับความปวดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการความปวดด้วยตัวเอง การนำเครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเองมาใช้กับผู้ป่วยจึงต้องมีวิธีการให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้ และความพึงพอใจต่อการระงับความปวดด้วยเครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง โดยมีรูปแบบการให้ความรู้แตกต่างกัน ได้แก่ การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนและแบบปกติ เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการระงับความปวดของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองทำการเก็บข้อมูล 1 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2559 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลอง ให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อการระงับความปวดด้วยเครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง และกลุ่มควบคุมให้ความรู้แบบปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติวิเคราะห์ Independent t - test
ผลการศึกษา พบว่าคะแนนเฉลี่ยความปวดขณะพักของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อครบเวลา 24, 48, 72 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และขณะขยับของกลุ่มตัวอย่างเมื่อครบเวลา 24, 48 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนคะแนนความปวดขณะขยับของกลุ่มตัวอย่างเมื่อครบเวลา 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.527) และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการระงับความปวดของกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
สรุป การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อการระงับความปวดด้วยเครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถระงับความปวดหลังผ่าตัดได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่องานบริการการระงับความปวด
References
2. Gordon,D.B.,Dahl, J.L., Miaskowski, C., McCarberg,B., Todd, K. H., Paice, J. A., et al. American Pain Society recommendations for improving the quality of acute and cancer pain management: American Pain Society quality of care task force. Archive of Internal Medicine 2005;165:1574-80.
3. Berry, P. H and Dahl, J . The new JCAHO pain standards: Implementations for pain management nurses. Pain Management Nursing 2000;1: 3-12.
4. Joshi, G. P. Pain management after ambulatory surgery. Ambulatory Surgery 1999;7:3-12.
5. Eisenach JC, Grise SC, Dewan DM. Patient controlled analgesia following cesarean section: a comparison with epidural and intramuscular narcotics. Anesthesiology 1989;68:444-8.
6. อรวรรณ ลือบุญธวัชชัย. การคิดอย่างมี วิจารณญาณ: การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์ กรุงเทพฯ: ธนาเพรสแอนกราฟฟิค; 2543
7. Wu CL, Cohen SR, Richman JM, Row lingson AJ,Courpas GE, Cheung K, et al. Efficacy of postoperative patient-controlled and continuous infusion epidural analgesia versus intravenous patient-controlled analgesia with opioids. Anesthesiology 2005;103 (5):1079-88.
8. รุ่งนภาดาบพลอ่อน.ผลของการจัดการความปวดโดยใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง (PCA) ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลสกลนคร.การค้นคว้าอิสระ.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร;2558
9. จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี ,สุธีราจักรกุล เหลืองสุขเจริญ.การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลัน โรงพยาบาลรามาธิบดี.การค้นคว้าอิสระ.วารสารโรงพยาบาลรามาธิบดี;2552
10. ศิริลักษณ์ วรรณละเอียด.ประสิทธิผลการบริหารความปวดโดยใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตัวเอง (PCA) ในผู้ป่วยคลอดที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. การค้นคว้าอิสระ.วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์; 2556
11. รัฐพล แสงรุ้ง, อนรรฆพร น้อมนุชและศิริพร เป้าเพชร.ประสิทธิผลของการให้ยาระงับปวดทางหลอดเลือดดำโดยผู้ป่วยควบคุมการให้ยาด้วยตนเองหลังการผ่าตัด .การค้นคว้าอิสระ. พุทธชินราชเวชสาร:2555
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร