ประสิทธิผลของการใช้ยางยืดและสมาธิบำบัดแบบ SKT ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ของพนักงานขับรถบรรทุก

ผู้แต่ง

  • ชนิดาภา มาตย์บัณฑิต โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การใช้ยางยืด, สมาธิบำบัดแบบ SKT, การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, พนักงานขับรถบรรทุก

บทคัดย่อ

ลักษณะงานของพนักงานขับรถบรรทุกส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพรวมถึงความเสี่ยงจากการทำงานเนื่องจากการขับรถเป็นระยะทางไกลชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและต้องนั่งอยู่บนพื้นที่จำกัดและต้องใช้สมาธิสูงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นปัญหาปวดขาปวดกล้ามเนื้อปัญหาความเครียดภาวะรอบเอวและดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อหาประสิทธิผลการใช้ยางยืดและสมาธิบำบัดแบบ SKT ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพนักงานขับรถบรรทุกโดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานขับรถบรรทุกจำนวน 30 คนโดยใช้แบบประเมิน 3 อ. ในเรื่องพฤติกรรมการกินการออกกำลังกายและอารมณ์แบบประเมินการสูบบุหรี่ประเมินการดื่มสุราประเมินความเครียดโดยใช้แบบวัด (ST5) เปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้ยางยืดและสมาธิบำบัดแบบ SKT ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดและการฝึกปฏิบัติสมาธิบำบัดแบบ SKT พบว่ารอบเอวเกินเกณฑ์ลดลงจากร้อยละ 50.0 เหลือร้อยละ 33.3 ดัชนีมวลกายในระดับอ้วนมากลดลงจากร้อยละ 20.0 เหลือร้อยละ 10.0 ภาวะความดันโลหิตสูงก่อนและหลังร่วมกิจกรรมลดลงร้อยละ 10.0 เหลือ 0 ภาวะเครียดก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับน้อยร้อยละ 80.0 ผลการประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.7 เป็นร้อยละ 10.0 โดย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับต่ำมีแนวโน้มดีขึ้นจากร้อยละ 26.7 ลดเหลือร้อยละ 23.3 พฤติกรรมการสูบบุหรี่เปลี่ยนจากติดบุหรี่ขั้นปานกลางปรับเป็นติดบุหรี่ขั้นต่ำ (ร้อยละ 6.7) ไม่พบพฤติกรรมการดื่มสุราเกินมาตรฐานหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างทุกคนพึงพอใจต่อการออกกำลังกายด้วยยางยืดเห็นว่าง่ายและสะดวกและพอใจในการทำสมาธิบำบัดแบบ SKT

สรุปการนำกิจกรรมการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืดและการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ไปใช้กับพนักงานขับรถบรรทุกมีส่วนช่วยให้เกิดพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพการควบคุมน้ำหนักและดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

 

References

1. กระทรวงคมนาคม. สถิติการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารภายในประเทศปี 2554-2558 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2559] เข้าถึงได้จาก: http://www.news.mot.go.th/motc/portal/graph/np/index.asp.
2. กระทรวงคมนาคม. สถิติอุบัติเหตุจำแนกตามรูปแบบการขนส่งปี 2554-2558 สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 มีนาคม 2559] เข้าถึงได้จาก: http://www.news.mot.go.th/motc/portal/graph/np/index7.asp.
3. จุฑามาศบุตรเจริญ. โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดแบบวงจรเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ
ทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ. วารสารคณะพลศึกษา 2555; 15: 7-13.
4. สมาธิบำบัด SKT ทางเลือกใหม่ไร้โรค. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2558] เข้าถึงได้จาก: http://synergyjapan.com.
5. สำนักโภชนาการกระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบคนไทยไร้พุง. [อินเตอร์เน็ต].
[เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2558] เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/konthai56/criteria.php.
6. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2558].เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th/Content/20399.html.
7. พานทิพย์แสงประเสริฐ. การสร้างเสริมสุขภาพผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงสำหรับ อสม. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2558].เข้าถึงได้จาก: http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:cmT_UJEtO9sJ:58.181.147.25/ojsjournal/index.php/5-01/article/download/132/228+&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th.
8. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http//:www.thaihypertension.org/guideline.html.
9. วณิชากิจวรพัฒน์. คู่มือพิชิตอ้วนพิชิตพุง. สำนักโภชนาการกรมอนามัย. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2555.
10. กองสุขศึกษากระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่สำหรับวัยทำงาน.
[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557] เข้าถึงได้จาก :http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:jY5zfpphU4AJ:www.hed.go.th/linkhed/file/262+&cd=10&hl=th&ct=clnk&gl=th.
11. แผนงานการพัฒนาระบบรูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.). แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2557] เข้าถึงได้จาก :http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:D3qgt3AqB_sJ:www.i-mapthailand.org/site/media/knowledge/practitioners/audit_self_test.pdf+&cd=2&hl=th&ct=clnk
&gl=th.
12. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียด ST5. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2558].เข้าถึงได้จาก: http//:www.dmh.go.th/test/qtest5/.
13. สมฤทัยพุ่มสลุด, ศศิมาพกุลานนท์. ผลการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. รายงานการประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:20Qy0M3ZDAJ:researchconference.kps.ku.ac.th/article_9/pdf/p_sci_sport01.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th.
14. เจริญกระบวนรัตน์. ยางยืดชีวิตพิชิตโรค. กรุงเทพฯ : บริษัทแกรนด์สปอร์ตกรุ๊ปจำกัด; 2550. ตัวบ่งชี้ความอ้วนสำหรับคนไทย (Obesity Indices for Thai).[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hooraygoodhealth.com/obese_calc.html.
15. สมพรกันทร, ดุษฏีเตรียมชัยศรี. สร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT โดยรศ.ดร.สมพร กันทรดุษฏีเตรียมชัยศรี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2558].เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/439655.
16. สกุลรัตน์อัศวโกสินชัย, จารุวรรณแสงเพชร, วราภรณ์รุ่งสาย. ผลของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2554; 28: 111-124.
17. Kerbs DE, Jette AM, Assmann SF. Moderate exercise improves gait stability in disabled elder. Arch Phys Med Rehabil 1998; 79:1489-96.
18. กุณฑลีย์ บังคะดานรา, สราอาภรณ์, อรวรรณ แก้วบุญชู, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกสารเคมี.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 35: 62-71.
19. ศิริการนิพพิทา, นภัสสกรณ์จิตต์ไพบูลย์. รายงานการวิจัยการศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ยางยืด 2 ชนิดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. ศูนย์อนามัยที่ 1. กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
20. นงลักษณ์บุญช่วย. ผลการให้ความรู้และฝึกสมาธิบำบัดต่อการบรรเทาความไม่สุขสบายและความเครียดของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองในระยะเปลี่ยนผ่านอำเภอศรีสมเด็จจังหวัดร้อยเอ็ด. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=98&Itemid=156.
21. กระทรวงสาธารณสุข. สมาธิบำบัด SKT สำนักการแพทย์ทางเลือก. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=610:2014-09-18-03-36-32&catid=39:2009-09-07-18-17-08&Itemid=69.
22. วิลัยเพลินสุข. การนำเสนอประสบการณ์การใช้สมาธิบำบัด (SKT) ในผู้ป่วยแผลอักเสบหอบหืดและผู้ป่วยเอดส์. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicam.go.th/index.php?option=com_attachments...id=318.
23. สมคิดทองมี, มัณฑนาเอื้อละพันธ์. ผลการฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ต่อระดับความดันโลหิตของผู้รับบริการในแผนกงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์แบบผสมผสานกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลปัตตานี. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaicam.go.th/index.phpoption=com_content&view=category&layout=blog&id=98&Itemid=156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05