การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเครือข่ายสุขภาพอำเภอพลจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กงทอง ไพศาล โรงพยาบาลพล

คำสำคัญ:

พัฒนา, ระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด, เครือข่ายสุขภาพอำเภอพล, เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาสภาพปัจจุบันของระบบการส่งต่อ 2. พัฒนากระบวนการส่งต่อ 3. ศึกษาผลการพัฒนาระบบส่งต่อของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเครือข่ายสุขภาพอำเภอพลจังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างได้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลพลจำนวน 42 คนและจากชุมชนอำเภอพลจังหวัดขอนแก่นจำนวน 51 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. การประชุมปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC (Appreciation Influence Control) 2. แบบบันทึกการประเมินการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดขอนแก่นและจากชุมชนของหน่วยกู้ชีพตำบลมาโรงพยาบาลพลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ร้อยละและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สถานการณ์ปัจจุบันของการส่งต่อคือรถพยาบาลไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐานอัตรากำลังไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ทักษะและความชำนาญในการส่งต่อผู้ป่วยความไม่พร้อมใช้ของอุปกรณ์เครื่องมือขาดการประสานข้อมูลการส่งต่อไม่มีศูนย์ส่งต่อที่ชัดเจนขาดแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระบบการส่งต่อยังไม่ชัดเจนไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันบทบาทของภาคีเครือข่ายไม่ชัดเจน
  2. กระบวนการพัฒนาจากการประชุมปฏิบัติการเชิงสร้างสรรค์ AIC ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบส่งต่อได้โครงการพัฒนา 7 โครงการ นำโครงการลงสู่การปฏิบัตินิเทศติดตามประเมินผลปรับปรุงพัฒนาจนได้ระบบการส่งต่อที่มีคุณภาพมาตรฐาน
  3. ผลการพัฒนาระบบส่งต่อของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่าสามารถส่งต่อผู้ป่วยทันเวลาร้อยละ 100 ผู้ป่วยปลอดภัยไม่พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิต

References

1. ทราภา ศรีสวัสด์, บรรณาธิการ Acute ST–ST- elevation myocardial infarction STEMI) อายุรศาสตร์ฉุกเฉินโครงการตำราวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพฯ:นำอักษรการพิมพ์; 2551.
2. ดวงพร สายอร่ามและคณะ. การศึกษาและพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิและสูงกว่าของสถานพยาบาลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
3. ธนาศิระ วัฒนชัย, สมชาติ โตรักษา, กำธร ตันติวิทยาทันต์. การพัฒนางานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก: 2555.
4. Kemmis, S.& Me Taggart, R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.
5. ศิราวรรณ โพธิ์งาม. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
6. ประชาสรรค์ แสนภักดี. เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. [อินเตอร์เน็ต] .[เข้าถึง เมื่อ 26 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงจาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html.
7. วิภารัตน์ หงส์ษา. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วยโรงพยาบาลจังหวัดบึงกาฬ. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
8. สุพรรณี นาผล. การสร้างมาตรฐาน การพยาบาลการส่งต่อผู้ป่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเขาสวนกวางจังหวัดขอนแก่น [ รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
9. Barbara Aehlert. Emergency Medical Responder.First Responder in Action. New York: Mc Graw Hill; 2011.
10. พวงทิพย์ ทัศนเอี่ยม, ธนตพร อ่อนชื่นชม, ศรีอัมพร ต้านยี่. การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเครือข่ายจังหวัดสกลนครและเขตรอยต่อ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2554; 9(3) : 35-45.
11. วราณี โสไกรและคณะ. การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการและการส่งต่อผู้ป่วยภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : บริษัทจรัญสนิทวงศ์การพิมพ์จำกัด; 2553.
12. สิริญา ฉิมพาลี. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยหลังคลอดเครือข่ายบริการโรงพยาบาลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี [รายงานการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (บริการสาธารณสุข)]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาธิราช; 2553.
13. ธษาศิระ วัฒนชัย,สมชาติ โตรักษา, กำธรตันติวิทยาทันต์. การพัฒนางานส่งต่อผู้ป่วยศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก; 2555 (อินเตอร์เน็ต) [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2556] เข้าถึงได้จาก: www.gj.mahidol.ac.th/ 7_A_Development_of_Referral_System

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05