ผลการใช้แบบรายการตรวจสอบความปลอดภัยของทีมผ่าตัดในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี ราชจำปี โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย, ผู้ป่วยผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดในโรงพยาบาลหนองบัวลำภูระหว่างปี 2556 และปี 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นบุคลากรทีมผ่าตัดที่ใช้คู่มือแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดจำนวน 44 คน เก็บข้อมูลย้อนหลังในเดือนกรกฎาคม 2559 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกผลการใช้คู่มือแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด (alpha = 0.91) และความพึงพอใจ (alpha = 0.97) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 44 คนส่วนใหญ่เป็นพยาบาลร้อยละ 61.4 มีอายุเฉลี่ย 39 ปี เป็นกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปร้อยละ 47.7 เพศหญิงร้อยละ 75.0 ระดับการศึกษาจบปริญญาตรีร้อยละ 61.4 ระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 79.5 ( Χ= 11, SD 6.60) ระยะเวลาปฏิบัติงานห้องผ่าตัด 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 79.5 ( Χ= 11, SD 6.50) เคยได้รับการชี้แจงการเข้าร่วมทีมผ่าตัดร้อยละ 79.5 และเคยอบรมเรื่องการรับรู้ความผิดพลาดที่ไม่พึงประสงค์ร้อยละ 68.2 อัตราความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดในปี 2558 หลังผ่าตัดผู้ป่วยเสียชีวิตลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 66.1 การติดเชื้อแผลสะอาดร้อยละ 0.2 ความไม่พร้อมในผู้ป่วยก่อนผ่าตัดร้อยละ 0.16 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่อายุ (p-value = 0.038) ระยะเวลาที่ทำงานตำแหน่งปัจจุบันระยะเวลาปฏิบัติงานห้องผ่าตัดและการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด (p-value = 0.008) ปัจจัยโดยรวมสามารถทำนายความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 12.9 (R2adj= 0.129, p-value = 0.006) และพบว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด (beta = 0.362) มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจร้อยละ 11.2 (R2adj= 0.112, p-value = 0.011) อายุ (R2adj= 0.021, p-value = 0.038)ระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน (R2adj= 0.012, p-value = 0.008) ตามลำดับอธิบายได้ว่าเมื่อทีมผ่าตัดมีอายุมากขึ้นและมีระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งปัจจุบันมานานจึงมีประสบการณ์ในการตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดอยู่ในระดับสูงส่งผลทำให้มีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดที่นำไปสู่คุณภาพบริการผู้ป่วยผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นตามไปด้วย

สรุป การนำแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยผ่าตัดขององค์การอนามัยโลกมาประยุกต์ใช้ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

References

1. Beyea SC. Accident prevention in surgical settings-keeping patients safe. AORN J 2002; 75(2): 361-363.
2. โรงพยาบาลหนองบัวลำภูสถิติผู้ป่วยผ่าตัด.โปรแกรมข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลหนองบัวลำภู; 2558.
3. การผ่าตัดที่ปลอดภัยขึ้นรักษาได้หลายชีวิต. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www. saraya-thailand.com.
4. กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่. ทะเบียนบุคลากร. หนองบัวลำภู: โรงพยาบาลหนองบัวลำภู; 2559.
5. Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995: 189-90.
6. WHO. Safe Surgery Saves Lives, the Second Global Patient Safety Challenge [Internet]. 2012. [Cited 2016 June 16]. Available from: http://www.who.int
7. นภาพร ชูนาม, สิริรัตน์ แสงจันทร์, ปิณฑ กานต์, อุไร วัฒนา. การศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติหน่วยงาน การพยาบาลผู้ป่วยวิสัญญี. [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital. tu.ac.th
8. Papaconstantinou HT, Jo TH, Reznik SI, Smythe WR, Janek HW. Implementation of a Surgical Safety Checklist: Impact on Surgical Team Perspectives.Och J 2013; 13: 299– 309.
9. สมรรัตน์ สุภาคาร,วัชราภรณ์ ทองวุฒิ,อรดี ตอวิวัฒน์, สุลักขณา จันทวีสุข. รายงานการวิจัยการรับรู้ของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อการป้องกันข้อผิดพลาดก่อนลงมีดผ่าตัด. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. [อินเตอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www. ppkhosp.go.th
10. นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ, นเรนทร์ โชติรสนิรมิต, สมใจ ศิรกมล, ปาริชาติ ภัควิภาส. คู่มือการใช้แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hospital.tu.ac.th
11. รุ่งอรุณ เกศวหงส์, ชวนพิศ เหลืองกิตติก้อง, ธนกฤต จินตวร, มนตรี ลักษณ์วงศ์, พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์, พัชร์จิรา เจียรณิชานันท์และคนอื่นๆ. SIMPLE: Thai Patient Safety Goals. [อินเตอร์เน็ต]. 2551. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้ จาก: https://www.ha.or.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-05