ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยเด็กที่ใส่เครื่องช่วยหายใจบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือนถึง 15 ปี ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจตั้งแต่ 24 ชั่วโมงขึ้นไปในหอผู้ป่วยหนักเด็กโรงพยาบาลอุดรธานีจำนวน 30 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 15 รายกลุ่มทดลองได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยกลุ่มควบคุมได้รับการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามวิธีปฏิบัติปกติของแพทย์พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานีและแบบบันทึกแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2558 – 31 สิงหาคม 2558 ประเมินประสิทธิผลโดยการวัดความสำเร็จและจำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคสแควร์และสถิติที (t-test) โดยใช้โปรแกรม SPSS 16.0
ผลการศึกษาพบว่าความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในกลุ่มควบคุมมีความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจร้อยละ 53.3 กลุ่มทดลองมีความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจร้อยละ 86.7 แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.11) ค่าเฉลี่ยจำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่า 18.27 และ 12.53 วันตามลำดับพบว่ากลุ่มทดลองมีจำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01)
สรุปการนำแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลอุดรธานีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีมีความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมากขึ้นและลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจควรมีการนำมาใช้ในงานประจำสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
References
2. รัตติกาล มณีนุตร์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กโรงพยาบาลแม่สอดจังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
3. ประวิทย์ เจตนชัย. Monitoring & Weaning off ventilator support.ใน: ดุสิต สถาวร, เฉลิมไทย เอกศิลป์, รุจิภัทร์ สำราญสำรวจกิจ, บรรณาธิการ. Pediatric critical care: The Essentials. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2558. หน้า 37-47.
4. เวชระเบียนผู้ป่วยหอผู้ป่วยหนักเด็กโรงพยาบาลอุดรธานี พ.ศ. 2557-2558.
5. โสภา เกิดพิทักษ์, วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, อาภาวรรณ หนูคง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็ก. Journal of Nursing Science 2558;32:33-40.
6. ศจี พานวัน, เบญจมาศ ถิ่นหัวเตย,ชัชฎาวดี ปานเชื้อ. ผลการใช้แนวปฏิบัติการใช้เครื่องช่วยหายใจต่อความรู้ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพและจำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยหออภิบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2557;28:829-838.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร