ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel Carboplatin ต่อการเกิดภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) และจำนวนวันนอนหอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัญชลี อ้วนแก้ว โรงพยาบาลอุดรธานี
  • สุจิตรา มลิลา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ภาวนา ดาวงศ์ศรี โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะภูมิไวเกิน, เคมีบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเกิดภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity reactions, HSRs) และจำนวนวันนอนของผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel Carboplatin ระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งทางนรีเวชที่มารับบริการในหอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลอุดรธานี เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษา แบบบันทึกการเกิดภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity)

เครื่องมือได้แก่ คู่มือการให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel Carboplatin และแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel Carboplatin ที่ทีมผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 30 รายและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลจำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2558–30 กันยายน2558 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เปรียบเทียบการเกิดภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) และจำนวนวันนอน(LOS) ด้วยสถิติ Chi-square และ Mann Whitney U- test โดยใช้โปรแกรม SPSS 16.0

ผลการวิจัยพบว่าทั้งกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคน (อายุ 40-59 ปี) จบการศึกษาระดับประถมศึกษาอาชีพแม่บ้าน และสถานภาพคู่ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มร้อยละ 40.0-43.3 ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 1 รับยาคอร์สที่ 1 มีความสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ มีอาการของโรคเล็กน้อย (ECOG SCORE = 0-1) ไม่มีโรคประจำตัว เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการเกิดภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity reactions, HSRs) พบว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีการเกิดภาวะภูมิไวเกินร้อยละ 70 กลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลมีการเกิดภาวะภูมิไวเกินร้อยละ10 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .005) ค่าเฉลี่ยวันนอนของกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 2.27 วัน กลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 2.07 วัน ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาติดตามผลในระยะยาว ในผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ขึ้น

References

1. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2556-2560. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์, มิถุนายน 2556. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. เวชระเบียนผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัดสูตร Paclitaxel Carboplatin หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลอุดรธานี พ.ศ.25556-2557

3. แนวปฏิบัติการบริหารยาเคมีบำบัดกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิด Hypersensitivity Reactions. แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พ.ศ. 2556

4. การเกิดภาวะภูมิไวเกินจากยาเคมีบำบัดกลุ่ม Taxane. เอกสารการประชุมวิชาการประจำปี 2556 เรื่องPatient Safety 3-4 กุมภาพันธ์ 2557 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนครนายก.2556

5. สุมิตรา ทองประเสริฐ.การดูแลผู้ป่วยมะเร็งซึ่งมารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด.[เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2558]. ค้นจาก : http://www.med.cmu.ac.th/dept/intmed/know/onco.pdf

6. ชำนาญ เกียรติพีรกุล. การให้ยาป้องกันการเกิดภาวะภูมิไวเกิน(Hypersensitivity Reactions) จากยา Paclitaxel. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2548;20(2):99-104

7. ควรรู้อะไร…ก่อนให้เคมีบำบัด A stepby step practical guide before giving chemotherapy. เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“Workshop and Traineeship for Oncology Pharmacy Practitioners 2011. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-06