การประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการทำงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีระยะ 2 ปี (ปี 2557-2558)

ผู้แต่ง

  • นิศาชล ศรีหริ่ง โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การพัฒนาศักยภาพการทำงาน, ยุทธศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการทำงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ระยะ 2 ปี (ปีงบประมาณ 2557-2558) เก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม 2557 และตุลาคม 2558 ประชากร คือ บุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัด โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งหมดมีจำนวน 5,438 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นรวม=0.87 ประกอบด้วยการประเมินผลการพัฒนาศักยภาพการทำงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพรูปแบบ CIPP Model (ประกอบด้วยบริบท ปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต) แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินพฤติกรรมการทำงาน และแบบบันทึกคะแนนผลงาน

ผลการวิจัย: พบว่า ผลการประเมินบริบทโดยบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจด้านนโยบายยุทธศาสตร์สุขภาพมากที่สุด ร้อยละ 94.0 ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าโดยมีระบบการประสานงานสาธารณสุขในพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มงานอื่น ปฏิบัติงานสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมโรค และคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขมากที่สุด ร้อยละ 98.6 ผลการประเมินกระบวนการในการถ่ายทอดนโยบายการพัฒนาศักยภาพการทำงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพไปสู่บุคลากรนำไปปฏิบัติ โดยรับรู้ว่าผู้บริหารมีระบบการถ่ายทอดนโยบายมากที่สุด ร้อยละ 97.1 ผลการประเมินผลผลิตในการทำงานเชิงกลยุทธ์ โดยมีการวัดระดับของผลการดำเนินงานมากที่สุด ร้อยละ 81.9 หลังการพัฒนาศักยภาพการทำงานพบว่าบุคลากรมีพฤติกรรมการทำงานที่ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.70 โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) โดยรวมมีความพึงพอใจการพัฒนาศักยภาพกรทำงาน ร้อยละ 93.4 ผลการเปรียบเทียบคะแนนการประเมินผลงานของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ระหว่าง ปี 2557-2558 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยผลงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (p-value=0.016) พฤติกรรมการทำงาน (p-value=0.022)และความพึงพอใจ (p-value=0.034)

สรุป: การพัฒนาศักยภาพการทำงานมีผลทำให้บุคลากรมีพฤติกรรมการทำงานที่ดีและมีคะแนนเฉลี่ยผลงานเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. ณัฐธิดาสวนคร้ามดี. การศึกษาและเปรียบเทียบแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรค สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2550-2553:1-9.

2. ยศ ตรีระวัฒนานนท์, ศรีเพ็ญ ตันติเวส, ศิดาพร ยังคง, อินทิรา ยมาภัย, จอมขวัญ โยธาสมุทร, พิศพรรณ วีระยิ่งยง. รายงานการประเมินผลสำเร็จของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ.โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2556:64-66.

3. วัฒนา นันทะเสน. การประเมินผลการพัฒนางานระบบสุขภาพอำเภอ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7 (3) พฤศจิกายน 2557 –กุมภาพันธ์ 2558:105-113.

4. ประชาภรณ์ ทัพโพธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ โรง-พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. 7(2)พฤษภาคม – สิงหาคม 2557:475-491.

5. Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore:John Wiley & Sons;1995.

6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. ทะเบียนบุคลากร. กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล; 2557.

7. Stufebeam DL, Shinkfeld AJ. Evaluation Theory, Models and Applications;
program evaluation approaches. John Wiley and Son;2007:768. Available from : http://www.
wiley.com.

8. นิพัฒน์ ชัยวรมุขกุล. ระบบการพัฒนาองค์กรด้วยทุนทางปัญญา โดยจิตวิทยาเชิงบวก. กรรมการบริหาร บริษัท ABC CLUB;2556. Available from : http://www.hrdproclub.com

9. อาภารดี โคเวียง. การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม. กรกฎาคม 2555. Available from: http://www.strategysasuk101.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07