การลดการสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยการใช้กรดทราเนซามิคใส่ในแผลผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ สืบพานิช โรงพยาบาลชุมแพ

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบาดเจ็บเล็กน้อย, กรดทราเนซามิค, การสูญเสียเลือดหลังการผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective research) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการสูญเสียเลือดรวมหลังการผ่าตัดระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับกรดทราเนซามิคใส่ในแผลและหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสียเลือดหลังผ่าตัดในการผ่าตัดข้อเข่าเทียมกับได้รับกรดทราเนซามิค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจำนวน 48 คน ได้รับกรดทราเนซามิค 26 คน และไม่ได้รับ 22 คน เปรียบเทียบการสูญเสียเลือดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบาดเจ็บเล็กน้อย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับกรดทราเนซามิคใส่ในแผลผ่าตัด โดยศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยระหว่างเดือนมกราคม ถึงธันวาคม 2558 ทดสอบความแตกต่างของการได้รับหรือไม่ได้รับสารน้ำระหว่างผ่าตัดปริมาณฮีโมโกลบินหลังผ่าตัด คะแนนความปวด (VAS pain) และระยะเวลาผ่าตัด โดยใช้สถิติทดสอบ Independent t-test ทดสอบปริมาณการเสียเลือดรวมโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon rank-sum (Mann-Whitney) test ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสียเลือดหลังผ่าตัดในการผ่าตัดระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับโดยใช้สถิติทดสอบ Chi-square test บนโปรแกรม SPSS

ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยของฮีโมโกลบินหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับกรดทรานเนซามิคมีค่าเฉลี่ย 9.95 และกลุ่มที่ไม่ได้รับมีค่าเฉลี่ย 9.30 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) การเสียเลือดรวม กลุ่มที่ได้รับกรดทรานเนซามิคเสียน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยค่ามัธยฐานเท่ากับ 470 มล.(Q1=440; Q3=585) ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับเท่ากับ 720 มล.(Q1=630; Q3=750) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) ผลทดสอบความแตกต่างของกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับกรดทรานเนซามิค 1) การให้สารน้ำระหว่างผ่าตัด พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,185.50 มล. และ 1,192.78 มล. ตามลำดับ 2) ระยะเวลาผ่าตัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100.80 และ 103.50 นาที ตามลำดับและ 3) VAS pain พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 และ 5.44 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยของ การให้สารน้ำระหว่างผ่าตัด, ระยะเวลาผ่าตัด และ VAS painของกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p-value= 0.909, 0.089 และ 0.313ตามลำดับ) 4) การสูญเสียเลือดหลังผ่าตัดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ร้อยละ 26.9และ ร้อยละ 86.4 ตามลำาดับและพบว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับมีสัดส่วนความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตรหลังผ่าตัดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ 3.55 เท่า (95%CI : 1.64 ถึง 7.73) ความแตกต่างดังกล่าวมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)

สรุป: กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับกรดทราเนซามิคสูญเสียเลือดหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา

References

1. Felson DT,Felson DT. Clinical review osteoarthritis.BMJ 2006; 332: 639-42.

2. วิวัฒน์ วจนวิศิษฐ์.ข้อเสื่อม. ใน: วิวัฒน์ วจนวิศิษฐ, สมชัยปรีชาสุขวิโรจน์, กวินวงศ์โกวิท, บรรณาธิการ.ออร์โธปิดิกส์. ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่

3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาออร์โธปิดิกส์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2550.หน้า 335-7.

3. กีรติ เจริญชลวานิช. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. ใน:สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปรีชานนท์, บรรณาธิการ. ตำาราโรคข้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์จำกัด; 2548. หน้า 1381-90.

4. Alvarez JC, Santiveri FX, Ramos I, Vela E, Puig L, Escolano F. Tranexamic acid reduces blood transfusion in total knee arthroplasty even when a blood conservative program is applied. Transfusion [serial online]. 2008 [cited 2010 Jan 31]; 48:519-25. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/ pubmed/18067499

5. โรงพยาบาลชุมแพ.รายงานประจำปี 2555. ขอนแก่น;2555.

6. Zohar E, Ellis M, Ifrach N, Stern A, Sapir O,Fredman B. The postoperative bloodsparing efcacy of oral versus intravenous tranexamicacid after total knee replacement. AnesthAnalg [serial online]. 2004[cited 2010 Jan 31]; 99:1679-83. Available from: http://www.anesthesia-analgesia.org

7. Hynes M, Calder P, Scott G, The use of tranexamic acid to reduce blood loss during total knee arthroplasty.The knee 2003; 10(4):375-7.

8. วิทยา ประทินทอง.ผลการใช้กรดทราเนซามิคเพื่อลดการสูญเสียเลือดในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลพิจิตร. พุทธชิราชสาร 2553;27:339-47.

9. Seppo T.,Hippala, Leo J.,Strid,Matti I.,WennerstrandJ.,Vesa V,Arvela,Heimo M.,Niemila,Sisko K.,Mantila,et al. Tranexamic acid Radically Decreases Blood Loss and Transfusions Associated with Total Knee Arthroplasty. AnesthAnalg 1997;84:839-44.

10. Orpen N. M., Little C., Walker G.,Crawfurd E. J.,TranexamicAcidreducesearly post-operative blood loss after Total Knee Arthroplasty. The knee2006;13(2):106-10.

11. Wong J,Abrishami A El,Beheiry H,Mahomed N,Davey J R, Gandhi R, Chung F. Topical Application of tranexamic Acid reduces post-operative blood loss in total knee arthroplasty. J Bone Joint Surgery 2010; 92(15): 2513-30.

12. Jansen AJ,Andreica M,ClaeysJ, D Haese F.Camu F.JochmansK. Use of tranexamic acid for an effective blood conservation strategy after total knee arthroplasty. Br J Anaesth 1999; 83: 596-601.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07