ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดn โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุริยันต์ ปัญหาราช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

โรคสมองขาดเลือด, การฟื้นฟูสมรรถภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective analytic study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดที่มารับบริการที่แผนกเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลหนองบัวลำภู ระหว่าง มกราคม-ธันวาคม 2558 จำนวน 245 ราย โดยใช้แบบประเมิน Modifed Barthel Index (Thai version) เป็นเครื่องมือในการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เพื่อวัดประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันโดยใช้สถิติ paired T- Test และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยสถิติ Independent T- Test และ ANOVA

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยมีคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า เพศ อายุ ภูมิลำเนา โรคประจำตัว ตำแหน่งพยาธิสภาพของโรคไม่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย มีเพียงจำนวนครั้งของการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเท่านั้นที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจำนวน 6-10 ครั้งและ 11-15 ครั้งมีค่าคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเฉลี่ยมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ 1-5 ครั้ง

References

1. Thai Stroke Society. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง [Internet]. [cited 2016 July 1]. Available from: https://thaistrokesociety.org/purpose/

2. Go A S, Mozaffarian D, Roger V L, Benjamin E J, Berry J D, Borden W B, et al. Heart disease and stroke statistics—2013 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2012:e2–241.

3. Jauch E C, Saver J L, Adams H P Jr, Bruno A, Connors J J, Demaerschalk D R, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association /American Stroke Association. Stroke 2013;44(3):870.

4. Adams H P, del Zoppo G, Alberts M J, Bhatt DL, Brass L, Furlan A, et al. Guidelines for the Early Management of Adults With Ischemic Stroke. Circulation 2007;115:e478-e534.

5. บุษกร โลหารชุน, ปานจิต วรรณภีระ, จินตนา ปาลิวนิช, กัญญารัตน์ ค้ำจุน. ความน่าเชื่อถือของการประเมินผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยแบบประเมิน Modifed Barthel Index ฉบับภาษาไทย. Buddhachinaraj Medical Journal 2008;25:842-51.

6. เนาวรัตน์ ลีโทชวลิต. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบผู้ป่วยนอก ประเมินโดยใช้ Barthel Index โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17:74-9.

7. Bolsche F, Hasenbein U, Reissberg H, Lots – Rambaldi W, Wallesch CW. Short term results of outpatient vs. inpatient rehabilitation after stroke. Rehabilitation 2002;41(2-3):175-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-26