การบริหารจัดการโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์พลังขับเคลื่อนงานโภชนาการ

ผู้แต่ง

  • สมพร แวงแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์, พลังขับเคลื่อน, งานโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาโภชนาการ โดยใช้แบบประเมินสำหรับแรกเกิด-ต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 262 คน (Cronbach’s alpha coefficient = 0.89), เด็กอายุ 1- ต่ำกว่า 6 ปีจำนวน 1,367 คน (alpha = 0.87), เด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 6,714 คน (alpha = 0.91) และแบบประเมินองค์กรปกครองท้องถิ่น (alpha = 0.84) ดำเนินการระหว่างปี 2554-2555 ดำเนินการโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์พลังขับเคลื่อนงานโภชนาการ ประกอบด้วย 5 ขั้น: (1) การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จัดทำแผนที่ความคิด (2) การกำหนดจุดหมายปลายทาง (3) สร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์หลัก (4) จัดทำแผนปฏิบัติการ (5) การอธิบายเป้าประสงค์ กิจกรรมและสร้างเครื่องชี้วัด และพัฒนากระบวนการดำเนินงาน 5 กลยุทธ์ ดังนี้: 1) สร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ 2) พัฒนาระบบข้อมูลทางโภชนาการ 3) พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรที่พึงประสงค์ด้านอาหารและโภชนาการ 4) พัฒนานโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการ 5) พัฒนาระบบการประเมินผล และสรุปถอดบทเรียนจัดทำข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการ

ผลการศึกษาพบว่า ผลการสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนงานโภชนาการ เกิดการเชื่อมต่อภาคประชาชนร่วมสร้างกิจกรรมด้านโภชนาการ เกิดมาตรการทางสังคม และเกิดองค์กรที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการโดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แผนยุทธศาสตร์หลักจำนวน 82 กลยุทธ์ 55 โครงการ เมื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงของเด็กอายุแรกเกิด–ต่ำกว่า 1 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 (Mean 22.0; SD 2.29) ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ได้แก่ เด็กที่มีภาวะโภชนาการ สมส่วน ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน สำหรับภาวะโภชนาการเด็กอายุ 1-ต่ำกว่า 6 ปี มีน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (Mean 22.0; SD 1.10) ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ได้แก่ เด็กที่มีภาวะโภชนาการ สมส่วน ท้วม เริ่มอ้วนและอ้วน นักเรียนประถมศึกษามีน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (Mean 23.3; SD 1.22) ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ได้แก่ นักเรียนประถมศึกษา มีน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วน ค่อนข้างผอม ผอม ท้วมและอ้วน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาบูรณาการสอนด้านอาหารและโภชนาการไว้ในหลักสูตรการสอน การพัฒนาขยายผลกระบวนการแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนงานโภชนาการนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสงขลา โรงเรียนยอดเยี่ยมด้านการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการไปนำเสนอผลงานที่ ลองบีชแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ โรงเรียนโนนหวาย อำเภอหนองวัวซอ และข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการที่สำคัญคือร้านค้าในชุมชน ไม่จำหน่ายขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี กำหนดคุณลักษณะของผู้ประกอบอาหารให้มีใบรับรองและเพิ่มค่าอาหารกลางวันแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจาก 13 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 20 บาทต่อคน

References

1. กรมอนามัยและกรมสุขภาพจิต. คู่มือโครงการพัฒนา IQ EQ เด็กวัย แรกเกิด – 5 ปี.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยและกรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.

2. วัฒนา ตรองพาณิชย์. ภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มจังหวัด ที่ 6 และ 7. ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี; 2550. Online variable from URL: http://www.hpc.go.th/rcenter// index.php?

3. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการเด็กและการจัดการอาหาร; 2557. Online variable from URL: http://www.fhpprogram.org/presentations.

4. สัญชัย ปิยะพงษ์กุล. การพัฒนา IQ,EQ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี, 2553.

5. รายงานการสำรวจการรับประทานอาหารของคนไทย ปี 2554. โครงการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา เด็กไทย; 2554. Online variable from URL: http://www.archive.voicetv.co.th.

6. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2549: 35–44.

7. กระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา”รวมพลังเป็นหนึ่งระหว่างปัญญา (สมอง) จิตวิญญาณ (หัวใจ) และทักษะการบริหารจัดการ. กรมประชาสัมพันธ์ 2554: Online variable from URL: http:// www.radio.prd.go.th

8. อมร นนทสุต. แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ก้าวใหม่ของการบริหารจัดการสุขภาพ: เชื่อมั่น และทำให้เป็นจริง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2553. Online variable from URL:http://www.amornsrm.net

9. นิภา สัตย์จริง, สุทธิรา วงศ์เครือ, พัทธริกา ศรีบุญมาก. แนวโน้มภาวะโภชนาการที่ผิดปกติของนักเรียนในเขตเทศบาลนครลำปางในช่วงปีการศึกษา 2548-2550. โรงพยาบาลลำปาง; 2551.

10. พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ปัญจภรณ์ ยะเกษม, นุชจรีรัตน์ ชูทองรัตน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2557; 20(1); มกราคม–มิถุนายน: 30-43.

11. รองเรือง อินไสย. การแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน. งานวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม สังกัดงานบริหารทั่วไป งานอนามัย โรงเรียนอัสสัมชัญ; 2557: 6-9. Online variable from URL: http://www.sws.acp.ac.th.

12. สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงส์ไกรเลิศ, นารีรมย์นุกูล, ฐิติมา อุดมศรี. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ. การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ: กรณีนำร่องเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร; 2555: 81 หน้า.

13. อมร นนทสุต. คู่มือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์: การขยายงานแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สู่ท้องถิ่นตำบล. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553. Online variable from URL:http://www.amornsrm.net

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-04