ผลการพัฒนาการบริหารงานบุคคล ของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อุทุมพร อภัยโส สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารงานบุคคล, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคล ได้แก่ การสรรหาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากรกับผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำนวน 188 คน จากทั้งหมด 5,307 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2559 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 68 ข้อ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความคิดเห็นของบุคลากร (Cronbach’s alpha coefficient = 0.974) และผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานบุคคล (alpha= 0.966)

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.4 อายุระหว่าง 21 -59 ปี (เฉลี่ย 43 SD 10.1) โดยที่มีช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 34.6 สถานภาพคู่ ร้อยละ 60.6 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 67.6 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 82.4 มีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ ร้อยละ 38.8 เงินเดือนระหว่าง 20,000-39,999 บาท ร้อยละ 44.7 (Mean 30,000, SD 12,190) มีรายได้อื่น เฉลี่ย 6,292.82 บาท (SD 8,691) มากกว่าครึ่งมีประสบการณ์ทำงาน 20 ปีขึ้นไป (Mean 19.0, SD 10.9) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี 4 ด้าน ได้แก่ การสรรหาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.0 (SD 8.3) แสดงความเห็นด้วยมากที่สุดด้านการสรรหาบุคลากร เฉลี่ยร้อยละ 81.0 (SD 12.0) รองลงมาคือด้านการพัฒนาบุคลากร ร้อยละ 80.6 (SD 6.9) การธำรงรักษาบุคลากร ร้อยละ 78.4 (SD 7.4) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ร้อยละ 76.0 (SD 6.8) ตามลำดับ ความคิดเห็นต่อผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยร้อยละ 85.3 (SD 6.5) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานบุคคลมากที่สุดคือการธำรงรักษาบุคลากร (R2adj = 0.583, beta = 0.765, p-value<0.001) รองลงมาคือ เงินเดือน (R2adj = 0.050, beta = 0.235, p-value = 0.004) การพัฒนาบุคลากร (R2adj = 0.472, beta 0.689, p-value<0.001) การสรรหาบุคลากร (R2adj = 0.43, beta = 0.659, p-value<0.001) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (R2adj = 0.414, beta = 0.646, p-value<0.001) ประสบการณ์ทำงาน (R2adj = 0.024, beta = 0.170, p-value = 0.020) และอายุ (R2adj = 0.016, beta = 0.147, p-value = 0.044) ตามลำดับ

สรุป ผลการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีครั้งนี้ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลให้บุคลากรมีความพึงพอใจในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพ

References

1. บรรยงค์ โตจินดา. การบริหารงานบุคคล Personnel management.กรุงเทพฯ: รวมสาส์น; 2543.

2. อังศินันท์ อินทรกำแหง, นริสรา พึ่งโพธิ์ สภ. การศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารกำลังคนคุณภาพ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน พฤษภาคม 2556: 52-64.

3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.รายงานโครงการศึกษาแนวทางการบริหารราชการและการบริหารบุคลากรด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข.กระทรวงสาธารณสุข.กทมฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ “ที่ปรึกษากฎหมายพระอาทิตย์ 1”. พฤษภาคม 2558: 94-113.

4. Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. (6thed). Singapore: John Wiley & Sons; 1995.

5. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, สมคิด เลิศ ไพฑูรย์, เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล, เมธาวุฒิ พีรพรวิฑูร, อรทัย ก๊กผล.รายงานการวิจัยการพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2546: 678 หน้า.

6. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). คู่มืออธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2551. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ส่วนราชการระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ : ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. [เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2559]. จาก: http://www.newswit.com

7. สุเทพ สุเทวเมธี. การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557:129-137.

8. สุรีย์ภรณ์ เลิศวัชรสกุล, จารุวรรณ บัวบึง. การพัฒนาบุคลากรด้วยแนวคิด ความสุข และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยการศึกษาปัจจัยและกิจกรรมที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน ความสุข และคุณภาพชีวิต ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดพะเยา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2556: 1-13.

9. Demo G, Neiva ER, Nunes I, Rozzett K. Human Resources Management Policies and Practices Scale (HRMPPS). Brazil: BAR, Rio de Janeiro 2012; 9 (4), art. 2; Oct.-Dec: 395-420. [cited 2016 July 11]. Available from: http://www.anpad.org.br

10. พัชรี คงดี. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต) การบริหารการศึกษา; 2557: 2-3. [เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2559]. จาก: http://www.mcu.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-04