ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามเพื่อการคัดกรองโรคปริทันต์ อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
โรคปริทันต์อักเสบ, เบาหวานชนิดที่ 2, แบบคัดกรอง, ความเที่ยงตรงบทคัดย่อ
การรักษาเบาหวานควบคู่กับการรักษาโรคในช่องปากมีความสำคัญที่ช่วยลดการสูญเสียฟันและ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีการตรวจวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบทางคลินิกตามวิธีมาตรฐานต้องใช้ทันตแพทย์ และเครื่องมือเฉพาะทาง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อทดสอบความเที่ยงตรงของการคัดกรอง เบื้องต้นโดยการใช้แบบสอบถามในการวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การวิจัยนี้เป็นการ ศึกษา Diagnostic test ประชากรศึกษาคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพช่องปาก ที่แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนมิถุนายน 2561 คำนวณ ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ 138 คน ใช้แบบสอบถามและการตรวจมาตรฐานวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบ ใช้สถิติเชิง พรรณนา สถิติเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาความสัมพันธ์และทดสอบความเที่ยงตรง
ผลการศึกษา พบความชุกของโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 40.6 ทดสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม 7 ข้อ ที่จุดตัดตั้งแต่ 2 คะแนนขึ้นไปให้ค่าความไวและความจำเพาะร้อยละ 95.9 และ 45.1 ค่าความถูกต้อง ของการทำนายร้อยละ 85.4 (AUC=0.85, 95%CI 0.79, 0.92) แต่ถ้าคัดคำถามที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ 4 คำถามพบว่าให้ค่าความไวและความจำเพาะร้อยละ 92.9 และ 32.9 ค่าความถูกต้องของการ ทำนายดีขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 88.4 (AUC=0.88, 95%CI 0.83, 0.94) สรุป การใช้แบบสอบถามทั้งสองชุด (7 ข้อหรือ 4 ข้อ) มีความเที่ยงตรงเหมาะสมสำหรับการคัดกรอง โรคปริทันต์อักเสบเบื้องต้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
References
2. Blicher B, Joshipura K, Eke P. Validation of Self-reported Periodontal Disease: A Systematic Review.J dent res 2005; 84(10): 881-90.
3. Quisumbing JP, LoTE, Lagaya-Estrada Ma. C,Kimono C, JasulJ Jr.Validation of the Oral Health Screening Questionnaire in Predicting Serious Periodontitis Among Adult Filipinos with Type 2 Diabetes Mellitus. J ASEAN Fed Endocr Soc 2016; 31(2): 106-114.
4. Mustansir Zaidi, Fatima Waseem, Fahim Ahmed, IrfanZafar andSaniaFahim.Sample size Estimationof diagnostic test studies in health sciences. 14th International Conference on Statistical Sciences Karachi, Pakistan 2016; 29: 239-246.
5. KhaderY, Alhabashneh R, Alhersh F. Validity of a Self-Reported Periodontal Disease Questionnaire Among Jordanians. Dentistry 2014;4: 201-217.
6. Cyrino RM, Miranda Cota, Maria CE,Bastos EM, Fernando Oliveira LF Costa. Evaluation of Self-Reported measures for Prediction of Periodontitis in a Sample of Brazilians. J periodontal 2011; 82(12): 1693-704.
7. MillerKristen,EkePaul I, Schoua GlusbergAlisu. Cognitive Evaluation of Self Report Questions for Surveillance ofPeriodontitis. J periodontal 2007; 78(7 Suppl): 1455-62.
8. Slade Gary D.Interim Analysis of Validity of Periodontitis Screening Questions in the Australianpopulation. J periodontal 2007; 78 (7 Suppl): 1463-70.
9. RenatusA, KottmannT, Schwarzenberger F, Jentsch H. Evaluation of a New Self-Reported Tool for Periodontitis Screening. J Clin Diagn Res 2016; 10(6): 107-112.
10. Bassani DG, Silva CM, Oppermann RV .Validity of the Community Periodontal Index of Treatment needs (CPITN) for population periodontitis screening. Cad. SaúdePública, Rio de Janeiro 2006; 22(2): 277-283.
11. Mealey BI, Oates TW. Diabetes mellitus and periodontal disease. J Periodont 2006; 77(8): 1289-1303. 12. Tom Edward Lo,Ma. Lagaya-Estrada C, Jimeno C, JasulG Jr. Clinical Utility of Self-Reported Oral Health Measures for predicting Periodontitis among Adult Filipinos with Type 2 DM. 2016. Available from:http:// dx.doi.org/10.15605/jafes.031.01.03
13. Miyawaki A, Toyokawa S, Inoue K, Miyoshi Y, Kobayashi Y. Self-Reported Periodontitis And incident Type 2 Diabetes among male workers from a 5-Year FollowUp to MY Health Up Study. PLoS ONE 2016; 11(4): e0153464.
14. Robert J Genco, Karen L Falkner, SaraGrossi,Dunford R.and Trevisan M. Validity of Self Reported Measures for Surveillance of Periodontal Disease in Two Western New York Population Based Studies. J periodontal 2007; 78(7 Suppl): 1439-54
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร