ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการติดบุหรี่ ความตั้งใจเลิกบุหรี่และพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก ที่มีผลต่อภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่ ตำ บลกลางใหญ่ อำ เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ อินกลอง โรงพยาบาลบ้านผือ
  • หทัยชนก นาเจิมพลอย โรงพยาบาลบ้านผือ

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, ความตั้งใจ, พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก, ภาวะสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

                การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่ออวัยวะปริทันต์และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ จึงเป็นที่มา ของการศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของการติดบุหรี่ ความตั้งใจเลิกบุหรี่ พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากและภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่ 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์หลังการใช้โปรแกรม ช่วยเลิกบุหรี่เพื่อลดระดับความรุนแรงของการติดบุหรี่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการติดบุหรี่ ความตั้งใจเลิกบุหรี่ พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่อง ปากกับภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลเดือน กันยายน 2561 โดยประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ ด้วยกระบวนการ 5A5R5D กลุ่มตัวอย่างผู้ สูบบุหรี่ จำนวน 212 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ชุด เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ชุดที่ 1 แบบวัดความรุนแรงของการ ติดสูบบุหรี่ ความตั้งใจเลิกบุหรี่ พฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบประเมินภาวะสุขภาพช่องปาก ชุดที่ 2 โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุ

                ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรุนแรงของการติดสารนิโคตินระดับปานกลางและมีแนว โน้มมากขึ้นในระดับสูง มากที่สุด ร้อยละ 45.8 โดยรวมมีคะแนนความตั้งใจเลิกบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อย ละ 51.9 (mean 2.05, SD 0.36) มีคะแนนพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.3 (mean 27.23,SD 5.45) ผลลัพธ์หลังการใช้โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่มีระดับความรุนแรงการติดบุหรี่ลดลงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมจากติดสารนิโคตินจำนวนเฉลี่ย 53.0 คน ลดลงเป็นไม่ติดสารนิโคตินจำนวนเฉลี่ย 46.7 คน และ พบว่าความรุนแรงของการติดบุหรี่ และพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพช่องปาก ของผู้สูบบุหรี่และสามารถพยากรณ์ภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 (Adj.R2 =0.554) แสดงได้ว่าหลังได้รับโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ช่วยให้มีพฤติกรรม ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและสามารถลดความรุนแรงของการติดบุหรี่ จึงส่งผลทำให้มีภาวะสุขภาพช่องปากดีขึ้น ได้ ร้อยละ 55.4 การศึกษาครั้งนี้พบความรุนแรงของการติดบุหรี่ และพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากมีผลต่อ ภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูบบุหรี่

References

1. Pindborg JJ. Tobacco and gingivitis: I. Statistical examination of the significance of tobacco in the development of ulceromembranous gingivitis and in the formation of calculus. J Dent Res. 1974; 26: 261-264.
2. สำนักทันตสาธารณสุข. แผนการเปลี่ยน แปลงการดําเนินงานของสํานักทันตสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับกระบวนงานหลักของกรมอนามัย. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
3. World Health Organization. Framework Convention on Tobacco Control. Geneva: WHO;2014.
4. Linden GJ, Mullally BH. Cigarette smoking and periodontal destruction in young adults. J Periodontol 1994; 65: 718-723.
5. โรงพยาบาลบ้านผือ. ผลสำรวจสภาวะ ทันตสุขภาพ. อุดรธานี: โรงพยาบาลบ้านผือ; 2558.
6. กรองจิต วาทีสาธกกิจ. ถนนปชต การ ส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่; 2552.
7. Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6thed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995.
8. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบ คุมยาสูบ. การประชุมวิชาการบุหรี่และสุขภาพแห่ง ชาติ ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: เจริญมั่งคงดี; 2559.
9. World Health Organization. Oral health survey basic method manual, design, practice and management. Geneva: WHO; 1997.
10. ทักษิณ ถิ่นเมือง. การปรับเปลี่ยน พฤติกรรมกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ด้วย 5A5R ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการ บุหรี่และสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: เจริญ มั่งคงดี; 2559.
11. Wayne J. Millar, David Locker. Status smoking and oral health status. JDJCDA 2017; 78(2): 155-163. 12. นวภรณ์ พรอนันต์รัตน์. ผลกระทบของ การสูบบุหรี่ต่อผลการรักษาปริทันต์บำบัดรักษาแบบไร้ ศัลยกรรม. J DENT ASSOC THAI 2016; 66(4): 285-295.
13. Ojima M, Hanioka T, Shimada K, Haresaku S, Yamamoto M and Tanaka K. The role of tobacco use on dental care and oral disease severity within community dental clinics in Japan. Tobacco Induced Diseases 2013; 11(13): 1-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30