ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์จังหวัดอุดรธานี ปี 2559 (Udonthanimodel classifying pregnancy 2016) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ 32 แห่ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจันทร์ ชัยชมพู โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์จังหวัดอุดรธานี ปี 2559 ของพยาบาลที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพ ด้านการคัดกรองความเสี่ยง คุณภาพการบันทึกข้อมูล ความทันเวลาและช่องทางการส่งต่อ ทั้งในกรณีฉุกเฉินและกรณีส่งพบสูติแพทย์ตามมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากพยาบาลที่รับผิดชอบงานฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี 32 คน ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2561 พัฒนาศักยภาพกลุ่มตัวอย่างด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ในการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การคัดกรองภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และจากโรคทางอายุรกรรมเปิดเวทีให้นำเสนอกรณีศึกษาและจัดให้มีการซ้อมแผนฉุกเฉินด้านสูติกรรมในพื้นที่มีการติดตามผล โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แนวทางแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงที่คลินิกฝากครรภ์และที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิงในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรม โดยใช้ Paired t-test วิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Coefficient of Alpha) ค่าเท่ากับ 0.86

                ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงทั้งหมด อายุเฉลี่ย 46.53 ปี (S.D. 5.8) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 90.60 เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในคลินิกฝากครรภ์ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 43.80 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นต่อการใช้แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์พบว่ามีระดับความคิดเห็นระดับมากขึ้นไปทุกหัวข้อ ( X =4.43, S.D.=0.56) การส่งต่อหญิงตั้งครรภ์มาที่ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลอุดรธานี มีการตรวจส่งต่อ 150 ราย โดยร้อยละ 68.70 เป็นระดับความเสี่ยงต่ำมาก มีการบันทึกผลการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 99.30 มีการบันทึกผลตรวจเลือดขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 90.66 มีการบันทึกอาการสำคัญและสาเหตุที่ส่ง ร้อยละ 96.00 ส่งต่อทันเวลาตามความเร่งด่วนของอาการและอายุครรภ์ ร้อยละ 94.70 การส่งต่อหญิงตั้งครรภ์มาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี มีการส่งเข้ามาช่องทางนี้ จำนวน 2 ราย ทั้งสองรายไม่มีการตรวจครรภ์หรือตรวจร่างกายก่อนส่งต่อข้อเสนอแนะจากการวิจัยด้านบริการ คือ การพัฒนาระบบบริการสนับสนุนให้ความรู้และมีทักษะการดูแลตนเองแก่หญิงตั้งครรภ์ การเพิ่มศักยภาพของสถานพยาบาลปฐมภูมิให้สามารถคัดกรองหญิงตั้งครรภ์รายที่มีความเสี่ยงได้เพิ่มมากขึ้น ด้านการบริหาร ควรมีการกำกับติดตามการใช้แนวทางแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์ อย่างต่อเนื่อง ด้านการวิจัย ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้านคุณภาพการดูแล การส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง และควรมีการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการในกลุ่มโรคอื่นๆ

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
2. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. สรุปผลงานตามตัวชี้วัด.อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี;2560.
3. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี. สรุปผลงานตามตัวชี้วัด. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2560.
4. คณะกรรมการแม่และเด็กจังหวัดอุดรธานี.แนวทางการแบ่งประเภทการดูแลหญิงตั้งครรภ์จังหวัดอุดรธานี ปี 2559 (Udonthani model classifyingpregnancy 2016. อุดรธานี; 2560.
5. World Health Organization. Antenatal care randomized trial for the evaluation of a new model of routine antenatal care. [Internet]. (2002). [cited 2018 July 10]. Available from: https://s3.amazonaws.com/academia.edu.documents.
6. ภิเศก ลุมพิกานนท์, ณรงค์ วินิยกูล, โฉมพิลาศ จงสมชัย. องค์ความรู้แนวปฏิบัติการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.
7. จินตนา พัฒนพงศ์ธร, นงลักษณ์ รุ่งทรัพย์สิน, กรรณิการ์ มณีวรรณ. โครงการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกในบริบทประเทศไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557. 14-17.
8. อมรรัตน์ หิมทอง. การศึกษาวิจัยการประเมินผลการดำเนินงานในแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ว.วิชาการแพทย์ เขต 11 2556; 7(27): 879-89.
9. เพ็ญศรีบำรุง, รัตติยา ทองสมบูรณ์, สมทรงบุตรตะ, รำไพ เกตุจิระโชติ. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงโรงพยาบาลมหาสารคามและโรงพยาบาลชุมชน เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม. ว.การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559; 34 (1): 37-45.
10. ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย,วลัยพร พัชรนฤมล, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อังคณา สมนัสทวีชัย, ประเทือง เผ่าดิษฐ, และคนอื่นๆ. บริการฝากครรภ์ตอนที่สอง: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการฝากครรภ์ของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. ว.วิชาการสาธารณสุข 2558; 24(5): 885-91.
11. MacDonal, C. UnderstandingParticipatory Action Research: A Qualitative Research Methodology Option. CJAR 2012; 13(2): 34-50.
12. Piaggio G, Ba’ ageel H, Bergsjo P, Carroli G, Farnot U, Lumbiganon P, et al. The practice of antenatal care: comparing four study sites in different parts of the world participating in the WHO Antenatal care randomized controlled trial. Paediatr Perinat Epidemiol 1998; 12 (Suppl): 27-58.
13. Villar J, Bakketeig L, Donner A, Mazrou Y, Ba’aqeel H, Belizan JM, et al. The WHO Antenatal care randomized controlled trial: rational and study design. Paediatric and Perinatal Epidemiology. 1998; 12 (Suppl.): 27-58.
14. World Health Organization. Antenatal care randomized trial: Manual for the implementation of the new model. [Internet]. (2002). [cited 2018 July 10]; 1556-59. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/42513/1/WHO_RHR_01.30.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30