รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ปัญหาราช กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, ผู้ดูแลหลัก, จิตอาสา, พัฒนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีโดยชุมชนมีส่วนร่วม พื้นที่การ
ดำเนินการวิจัย เป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนคูณ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัยประกอบด้วยกลุ่มคณะกรรมการดำเนินการจำนวน 51 คน จิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนจำนวน 45 คน และผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลเด็ก 0-5 ปีจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่มแบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
ในชุมชน มีค่าความเชื่อมั่น Kuder-Richardson; KR 20=0.70 และแบบสอบถามผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลเด็ก 0-5 ปี มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s Alpha=0.79 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ t-test

ผลการวิจัย (1.) ปัจจัยการนำเข้าพบว่า คณะกรรมการดำเนินการได้เสนอแนวคิดและเห็นร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีในชุมชน (2.) กระบวนการ ได้มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักภายหลังการอบรมได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพบว่าเพิ่มขึ้น จาก 54.67 เป็น 69.24 เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.00) ส่วนจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชน ภายหลังการอบรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความรู้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพิ่มขึ้น จาก 31.22 เป็น 33.56 เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.00) (3.) ผลลัพธ์คณะกรรมการดำเนินการได้สรุปรูปแบบในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยจัดให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักและจิตอาสา จากนั้นผู้ดูแลหลักจะต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องโดยจะมีจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็กติดตามเยี่ยมเดือนละ 1 ครั้ง และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามได้สนับสนุนนมจืด ไข่ และเกลือไอโอดีนให้กับครอบครัวของเด็ก

การศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลหลักและจิตอาสานักส่งเสริมพัฒนาการเด็กในการส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยชุมชนมีส่วนร่วม

References

1. วิชัย เทียนถาวร.ตำราการสร้างเสริมสุขภาพแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
2. IsaranurugS, NanthamongkolchaiS,Kaewsiri D. Factors influencing development of children aged one to under six years old. J Med Assoc Thai 2005; 88(1):86-90.
3. Foote JM, Brady LH, Burke AL, Cook JS, Dutcher ME, Gradoville KM,et al. Development
of an evidence-based clinical practice guideline on linear growth measurement of children. J Pediatr Nurs 2011; 26: 312-324.
4. ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลาการ,นิชรา เรืองดารกานนท์, ปราณี ชาญณรงค์, ภาสุรี แสงศุภวาณิช์, จิราลักษณ์ นนทารักษ์ และคนอื่นๆ. สุขภาวะเด็กไทย 2553. กุมารเวชสาร 2553:17(2):87-88.
5. สำนักตรวจและประเมินผล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนิน “โครงการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” ปี 2559.กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]; 2559.
6. CDC. Child development: basicinformation[Internet]. 2017 [cited 2017 Nov 13]. Available From: https://www.cdc.gov/ ncbddd/ childdevelopment/facts.html.
7. ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ปราณี สุทธิสุคนธ์.การอบรมเลี้ยงดูเด็ก. ว.สาธารณสุขและการพัฒนา 2550; 5(1):105-118.
8. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. ผลการคัดกรอง Social Risk พัฒนาการเด็กปีงบประมาณ 2560; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1. php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=890c7adff77936af39aa9c76f6c15e35
9. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp ปีงบประมาณ 2560 ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม2560]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/
format1. php&cat_id=1ed90bc32310b503b-7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd180 4032119e824
10. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2560 ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม hdc/reports/report.php?source=pformated/ format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b-7ca9b32af425ae5&id=890c7adff77936af39aa9 c76f6c15e35
11. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. ผลการคัดกรอง Social Risk พัฒนาการเด็ก เขตสุขภาพที่ 8 จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2560; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22
ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก:https://nbp.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=
pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b-7879f442749bd1804032119e824
12. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง หนองบัวลำภู. รายงานการสำรวจเด็ก 0-5 ปี เขตสุขภาพที่ 8 ปี 2560. (อัดสำเนา)
13. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. ผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : https://203.157.169.1/ ChildDev/childDev.php?report=Y.
14. มหาวิทยาลัยมหิดล. ผลกระทบของการย้ายถิ่นภายในประเทศที่มีต่อสุขภาวะและพัฒนาการเด็ก
ปฐมวัย : ผลการสำรวจพื้นฐานเชิงปริมาณและคุณภาพ;2559 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก
:https://www.unicef.org/thailand/tha/UNICEF_CLAIMS_Report_Thai.pdf.
15. ทิพวรรณ ถามะพันธ์. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน [รายงานการศึกษาอิสระ].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
16. Preteur Y, Lescarret O, Leonardis de M.Family education, child-parent interactions and Psychology of Education1998; 13(4): 461-474.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31