การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า: แนวคิดและการนำไปใช้ลดความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ละหุการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • อุทุมพร ดุลยเกษม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ศศิกานต์ กาละ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า, ความเครียด, หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาที่สำคัญทางสูติศาสตร์ เพราะเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่หญิงตั้งครรภ์จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดจากการคลอดก่อนกำหนดและส่งผลให้เกิดความเครียดตามมา ความเครียดในขณะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจะส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความรู้สึกทางอารมณ์ที่ไวต่อเหตุการณ์ต่างๆที่มากระตุ้น ก่อให้เกิดความบกพร่องของการควบคุมจิตใจได้การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้า เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยลดความเครียด โดยจะลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติค กล้ามเนื้อทุกส่วนเกิดการผ่อนคลาย มีผลต่อกระบวนการรับรู้ ความคิดและอารมณ์ที่ดีขึ้น เกิดความรู้สึกสบาย มีสมาธิเพิ่มขึ้นรวมถึงการแสดงพฤติกรรมเผชิญความเครียดที่เหมาะสม ส่งผลให้ความเครียดลดลง บทความฉบับนี้เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าเพื่อนำไปใช้ลดความเครียดซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะเครียดได้ต่อไป

References

1. World Health Organization. Preterm birth. Health Satatistic., [cited 2017 August 15] Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs363/en/
2. สมบูรณ์ บุณยเกียรติ. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง 1. กรุงเทพฯ: สินธนา ก๊อปปี้ เซ็นเตอร์;2557.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนการเกิดมีชีพทั้งประเทศจำแนกตามน้ำหนักเด็กแรกเกิด กลุ่มอายุมารดาและเพศ. พ.ศ.2558. [เข้าถึงเมื่อ 5 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.19:191
4. Maloni, J. A. Lack of evidence for prescription of antepartum bed rest. Expert Review of Obstetrics &Gynecology 2011;6(4):385-393.
5. Urech, C., Fink, N. S., Hoesli, I., Wilhelm, F. H., Bitzer, J. and Alder, J. Effects of relaxation on psychobiological wellbing during pregnancy : A randomized controlled trial.Psychoneuroendocrinology 2010;35:1348-1355.
6. Sandman, C. A., Davis, E. P. & Glynn, L. M. Psychobiological stress and preterm birth. Preterm birth-mother and child. 95-124. [cited 2012 August 15] Available from: http://www.cdn.intechopen.com/pdfs/ 27122/Psychobiological_stress_and_preterm_birth.pdf
7. ฐิติกานต์ ณ ปั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. ว.สาธารณสุขล้านนา 2557;10(2):142-150.
8. Bigelow, C., & Stone, J. Bed rest in pregnancy. Mount Sinai Journal of Medicine 2011;78:291-302.
9. Cunningham, F. G., Leveno, K.J., Bloom, S. L., Spong, C.Y., Dashe, J.S., Hoffman, B.L., & Sheffield, J.S. Williams obstetrics. 24thed. New York:McGraw-Hil; 2014.
10. Sciscione, A. C. Maternal activity restriction and theprevention of preterm birth. American Journal of Obstetrics and Gynecology 2010;202:1-5.
11. รุจา แก้วเมืองฝาง, พิริยา ศุภศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ผลของการฝึกโยคะต่อการลดความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(1):73-84.
12. ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ลักษมีรุ่ง;2555.
13. วรพงศ์ ภู่พงศ์, เยื้อน ตันนิรันดร. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน: สุวิทย์ บุณยะเวชชีวิน, เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2558:28-30.
14. Richmond, L. R. Progressive muscle relaxation. In A Guide to Psychology and Its Practice. [cited 2015 August 15] Available from: http:// www Guide to psychology.com.
15. เพียรดี เปี่ยมมงคล. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ:ธรรมสาร;2553.
16. Varvogli, L., &Darviri, C. Stress management techniques: Evidence-based procedures that reduce stress and promote health. Health Science Journal 2011;5(2):74-89.
17. กาญจนา บัวหอม, ศศิกานต์ กาละ, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. ผลของการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ว.นราธิวาสราชนครินทร์ 2559; 9(2):38-51.
18. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แผ่นซีดีเสียงรวมชุดการฝึกปฏิบัติการคลายเครียด: การผ่อนคลายความเครียด. [เข้าถึงเมื่อ30 ตุลาคม 2558 ]. เข้าถึงได้จาก: www.dmp.ac.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29