ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน
คำสำคัญ:
การรับรู้คุณภาพในการดูแล, ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน ในตำบลท่าสว่างที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรงโคกเพชร อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ คำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power3.0.10 ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามปัจจัยในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน มีข้อคำถามทั้งหมด 6 ด้าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า CVI=1 ตรวจความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาคเท่ากับ .91 และ 3) แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนมีข้อคำถามทั้งหมด 4 ด้าน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาได้ค่า CVI=1 ความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .90 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2561 โดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.79 มีอายุอยู่ในช่วง 60-70 ปี ร้อยละ 62.50 สถานภาพสมรส ร้อยละ 61 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.52 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 61.03 และมีรายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1,001-5,000 บาท/เดือน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้คุณภาพในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชน ได้แก่ ปัจจัยด้านระบบสุขภาพ (r=.277, p<.01) ด้านการออกแบบระบบการให้บริการ (r=.479, p<.001) ด้านการสนับสนุนการตัดสินใจ (r=.301, p<.001) ด้านข้อมูลข่าวสารทางคลินิก (r=.244, p<.01) และด้านการสนับสนุนการจัดการดูแลตนเอง (r=.322, p<.001) ดังนั้น พยาบาลควรนำเอาแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาใช้ในการออกแบบดูแลการให้บริการเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป
References
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง; 2558.
3. จินตนา อาจสันเที๊ยะ, พรนภา คำพราว. รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. ว.พยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 123-127.
4. เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยฑฤฆ, ญาณิศา โชติกะคาม. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลมาบแค. ว.พยาบาลทหารบก 2555; 13(2): 8-14.
5. วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ศิริพันธ์ สาสัตย์, พรทิพย์ มาลาธรรม, จิณณ์สิรา ณรงค์ศักดิ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. ว.สภาการพยาบาล 2557; 29(3): 104-115.
6. สุรพล ชยภพ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
7. อัมพรพรรณ ธีรานุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจน์, วาสนา รวยสูงเนิน. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องแบบเป็นองค์รวมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง กรณีศึกษาในโรงพยาบาลศูนย์. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
8. นิลุบล วินิจสร, ปรีดา ตั้งจิตเมธี, นฤนาท ยืนยง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเมือง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบางขะแยง อําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(3): 18-32.
9. Kvist1 T, Voutilainen1 A, Mäntynen1 R, Vehviläinen-Julkunen K. The relationship between patients’ perceptions of care quality and three factors: nursing staff job satisfaction, organizational characteristics and patient age . BMC Health Services Research 2014; 14: 466-476.
10. Hussami M, Momani M, Hammad S, Maharmeh M. Patients’ perception of the quality of nursing care and related hospital services. Health and Primary Care 2017; 1(2): 1-6.
11. Ana L, Slack M, Malone D, MacKinnon NJ, Warholak TL. Relationship Between Patients’ Perceptions of Care Quality and Health Care Errors in 11 Countries: A Secondary Data Analysis. Q Manage Health Care 2016; 25(1): 13–21.
12. The MacColl Center for Health Care Innovation. The Chronic Care Model, [Internet]. 2006 [Cited 2017 Augs 9]. Available from: http://www.improvingchroniccare.org/index.php?p=The_ Chronic_Care_Model&s=2
13. Duangbubpha S, Hanucharurnkul S, Pookboonmee R, Orathai P, Kiatboonsri C. Chronic Care Model Implementation and Outcomes among Patients with COPD in Care Teams with and without Advanced Practice Nurses. Pacific Rim Int J Nurs Res 2013; 17(2): 102-116.
14. สุขสิน เอกา. รายงานสรุปโรคเรื้อรังประจำปี พ.ศ. 2561. สุรินทร์: ม.ป.ท.; 2558.
15. อิศวร ดวงจินดา. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. ว.วิชาการสาธารณสุข 2558; 24(6): 1118-1126.
16. ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคเรื้อรัง. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37(2): 154-159.
17. Weingart N, Zhu J, Chiappetta L, Stuver, S, Schneider, E, Epstein, A, et al. Hospitalized patients’ participation and its impact on quality of care and patient safety. J Qual Health Care 2011; 23(3): 269-277.
18. Phipatanapanit P, Pongthavornkamol K, Wattakitkrileart D, Viwatwongkasem C, Vathesatogkit P. Predictors of Perceived Quality of Care in People with Heart Failure. Pacific Rim Int J Nurs Res 2019; 23(1): 87-99.
19. Houtuma L, Heijmansa M, Rijkena M, Groenewegen P. Perceived quality of chronic illness care is associated with self-management: results of a nationwide study in the Netherlands. Health Policy 2016; 120(4): 431-439.
20. Porat T, Delaney B, Kostopoulou O. The impact of a diagnostic decision support system on the consultation: perceptions of GPs and patients. Am J Manag Care 2012; 18(5): 244-252.
21. Ward M, Vartak S, Loes L, O'Brien J, Mills TR, Halbesleben JR, et al. CAH staff perceptions of a clinical information system implementation. Am J Manag Care 2012; 18(5): 244-252.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร