ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สังวาลย์ พิพิธพร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในด้านความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยก่อนและหลังได้รับโปรแกรม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของ    Gibson ประกอบด้วย (1) การรับรู้โดยวิเคราะห์ตนเอง ร่วมกำหนดแนวทางการดูแลตนเอง (2) ตระหนักคุณค่าตนเองโดยวางแผนปรับปรุงพฤติกรรมการดูแลตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (3) พัฒนาศักยภาพตนเองตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง (4) ถอดบทเรียนเพื่อยืนยันผลการพัฒนาตนเองใช้เวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยาย การเสนอตัวแบบด้านดี การสาธิตฝึกปฏิบัติ ร่วมทำพันธะสัญญาเพื่อการดูแลตนเอง การอภิปรายผลการฝึกปฏิบัติและติดตามเยี่ยมบ้านเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ  และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของคอนบราค (Cronbach alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง เท่ากับ 0.79 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่าหลังให้โปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนให้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ p<.001) และมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ลดลงจาก 196.27 mg/dl เหลือ 140.50 mg/dl และระดับ HbA1c จาก 8.62 mg/dl เหลือ     6.89 mg/dl ต่ำกว่าก่อนให้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้และพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองดีขึ้น และลดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และระดับ HbA1c ได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายต่อไป

 

References

1. World Health Oganization. Diabetes. [internet]. [เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http: //www. who.int/ncd/dia/databases4. htm. 2011.
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เผยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth. or.th/Content/33953
3. รายงานประจำปี 2560 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www. thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12986 &tid=30&gid=1-015-008
4. เขตสุขภาพที่ 8 ตรวจราชการ 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://r8way.moph.go.th/report-2561/รายงานประจำปี%202561.pdf
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.(2558). ฐานข้อมูล HDC ข้อมูลทั่วไป (ออนไลน์). [อินเทอร์เน็ต]. 2558 เข้าถึงได้จาก: http://203.157.168.8/r505
6. ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 34(3): 243-248.
7. Gibson, C. H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing 1995; 21(6): 1201-1210.
8. ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. เทคนิคการเสริมพลังในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ทีสอดคล้องกับวิถีชุมชน. ว.วิชาการสาธารณสุข 2557; 23(4): 649-658.
9. จุฑารัตน์ รังษา, ยุวดี รอดจากภัย, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(6): 377-383.
10.นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. หัวข้อสถิติที่น่าสนใจสำหรับการวิจัยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=860
11. มนรดา แข็งแรง, นันทัชพร เนลสัน, สมจิตร การะสา, ปิตินัฎราชภักดี. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี. อุดรธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี; 2560.
12. Bloom, Benjamin. Taxonomy of education obectives the classification of educational Goals handbookI:Cognative domain. New York: David Mckay; 1970.
13. ชนิษฎา สุรเดชาวุธ, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ, เจริญ ตรีศักดิ์. กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเบาหวานแบบรายบุคคล.ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2554; 2: 60-69.
14. American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes. Diabetes Care 2018; 41: S1-S159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29