ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลและบรรยากาศองค์กรของบุคลากร ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารงานบุคคล, บรรยากาศองค์กรบทคัดย่อ
การบริหารงานบุคคลถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและยุ่งยากที่สุด ทั้งนี้ เพราะตามหลักทั่วไปในการบริหารงานบุคคล เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่เหมาะสมที่สุดกับงาน และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดบรรลุเป้าหมายขององค์กร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลและประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลกับบรรยากาศองค์กร
วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ศึกษากลุ่มตัวอย่างบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 311 คน ระหว่างเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2562 โดยใช้แบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล (alpha= 0.91) และบรรยากาศองค์กร (alpha= 0.87) โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Pearson และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Stepwise of multiple linear regression)
ผลการวิจัยโดยรวมประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล เรียงตามระดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ การธำรงรักษาบุคลากรอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.7 (x̄=17.28, S.D.=2.0) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบริหารบุคคล อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96.1 (x̄=17.17, S.D.=1.8) การแต่งตั้ง-รับโอน-ย้าย-เลื่อนตำแหน่งอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.7 (x̄=16.88, S.D.=1.20) การคัดเลือกสรรหาบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.3 (x̄=15.50, S.D.=3.32) การวางแผนการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 82.6 (x̄=15.12, S.D.=1.75) และการพัฒนาบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.8 (x̄=12.53, S.D.=3.13) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก เรียงลำดับความสัมพันธ์มากไปน้อย ได้แก่ การแต่งตั้ง-โอน-ย้าย-เลื่อนตำแหน่ง (r=0.985) การธำรงรักษาบุคลากร (r=0.770) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบริหารบุคคล (r=0.701) การคัดเลือกสรรหาบุคลากร (r=0.614) การพัฒนาบุคลากร (r=0.563) และการวางแผนบริหารงานบุคคล (r=0.135) ตามลำดับ ปัจจัยที่ศึกษาสามารถร่วมกันทำนายอิทธิพลต่อบรรยากาศองค์กรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ร้อยละ 57 (R2adj 0.574, beta 0.758) เรียงลำดับมีอิทธิพลมากไปหาน้อย ได้แก่ การแต่งตั้ง-โอน-ย้าย-เลื่อนตำแหน่ง, การธำรงรักษาบุคลากร, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบริหารงานบุคคล, การสรรหาบุคลากร, การพัฒนาบุคลากรและการวางแผนบริหารงานบุคคล ตามลำดับ
สรุป: ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลมีความสัมพันธ์กับบรรยากาศองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นได้ว่าการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพจะสามารถทำให้บรรยากาศองค์กรดีขึ้น
References
2. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉ 9) พ.ศ. 2560.
3. สำนักมาตรฐานวิจัย. แนวทางการลงโทษ. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ.; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 15กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fisheries.go.th
4. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนที่ 43 ก (ลงวันที่ 5 เมษายน 2562).
5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.รายงานโครงการศึกษาแนวทางการบริหารราชการและการบริหารบุคลากรด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ "ที่ปรึกษากฎหมายพระอาทิตย์ 1”; 2558. หน้า 94-113.
6. กระทรวงสาธารณสุข. ผลการประเมิน Happinometer เขตสุขภาพที่ 8. เอกสารประกอบการตรวจราชการ และนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต] นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://datastudio.google.com
7. กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 64 ก (ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2560).
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. โปรแกรมข้อมูลบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2562.
9. Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995.
10. น้องนุช วงษ์สุวรรณ, สถิตย์ นิยมญาติ, บุญเลิศ ไพรินทร์. ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silpakorn University 2018; 11(1): 1759-75.
11. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มืออธิบายตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: ซีโนพับลิชชิ่ง(ประเทศไทย); 2551.
12. Sunarsih N, Helmiatin. Influence of Organizational Climate, Motivation and Job Satisfaction on Employee Performance. RIBER 2017; 6(1): 263-275.
13. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
14. ฐานิตา อ่วมฉิม, มณฑา จำปาเหลือง. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. ว.วิชาการ Veridian E-Journal 2557; 7(3): 272-284.
15. ธัญญานันท์ ศรีธรรมนิตย์. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลของโรงพยาบาลเอกชน. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
16. นวลปรางค์ ภาคสาร, จันทนา แสนสุข. อิทธิพลของบรรยากาศองค์กรและความยุติธรรมขององค์กรที่มีต่อประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ว.บริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2559; 13(1): 43-65.
17. มะลิวรรณ อรรคเศรษฐัง, สายตา บุญโฉม. บรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3.วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา; 2559. หน้า 531-537.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร