ความรู้และทัศนคติของมารดาหลังคลอดปกติที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต บนขุนทด คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • วิภาดา กาญจนสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ชนาธิป สันติวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุพรรษา จิตรสม คณะพยาบาลศาสตร์ วัชรพล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พิมพ์รดา ธรรมีภักดี วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศุกลรัตน์ ชาญวิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • นภารินทร์ นวลไธสง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติของมารดาหลังคลอดปกติที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอดปกติ จำนวน 181 คน โดยการคำนวณจากตารางสำเร็จรูปเครจ์ซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรู้เรื่องนมแม่ 15 ข้อ และทัศนคติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 17 ข้อ โดยมีค่าความตรง 0.86 และ 0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.80 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของมารดาหลังคลอดปกติที่ต้องการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ เรียงตามลำดับคะแนนมากไปน้อยคือ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลไกการสร้างและการหลั่งน้ำนมประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อทารก และการปฏิบัติตัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตามลำดับส่วนทัศนคติของมารดาหลังคลอดในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า แม่หลังคลอดมีทัศนคติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในรายด้านเรียงจากมากไปน้อยคือ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเศรษฐกิจ และสังคม (x̄= 4.91, S.D. 0.29) การสร้างความมั่นใจแก่มารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (x̄= 4.48, S.D. 0.94) และประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาและทารก (x̄= 3.72, S.D. 1.15) และตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และทัศนคติของมารดาหลังคลอดในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน (r= .062, p= .521) ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะคือ ควรสนับสนุนให้ชุมชนมีการจัดการพื้นที่ให้มีแหล่งให้ความรู้ปัจจัยที่จะช่วยทำให้พฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น ซึ่งได้แก่ การมีญาติช่วยเลี้ยง การให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา รวมถึงการจัดให้มีแหล่งช่วยเหลือในการให้นมบุตรในชุมชนมีมากขึ้น

 

References

1. American Academy of Pediatrics. Breastfeeding and the use of human milk. Pediatrics 2005; 115(2): 496-506.
2. American College of Obstetricians and Gynecologist. Breastfeeding: Maternal and infant aspect [Internet]. 2007 [cited 2014 Feb 3]. Available from: http//www.oumedicine.com/docs/ado bgynworkfiles/acogclinreviewbfdg2007.pdf?sfvrsn =2.
3. World Health Organization (WHO), United Nations Children’s Fund (UNICEF). Baby-friendly hospital initiative revised updated and expanded for integrated care [Internet]. 2009 [cited 2014 Sep 8]. Available from: http//www.unicef.org/french/nutrition/files/BFHI_2009_s3.slides.pdf
4. สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์. ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ว.พัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2560; 11(1): 2560.
5. National Statistic Office. Major findings of multiple indicator cluster survey 2012. Bangkok: Text and Journal Publication; 2013.
6. Scott, J. A., Binns, C. W., Oddy, W. H., Graham, K. I. Predictors of breastfeeding duration: Evidence from a cohort study. Pediatric 2006; 117 (4): 646-655.
7. Ajzen, I. The theory of planned behavior. Organization Behavior and Human Decision Processes 1991; 50(2): 179-211.
8. Persad, M. D., Mensinger, J. L. Maternal breastfeeding attitudes: Association with breastfeeding intent and socio-demographics among urban primiparas. Community Health 2008; 33(2): 53-60.
9. สุวรรณา ชนะภัย, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ความรู้ทัศนคติการรับรู้สมรรถนะในตนเอง และการสนับสนุนจากสามีและพยาบาล ในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์. ว.พยาบาลศาสตร์ 2557; 32(1): 51-60.
10. Scott, J., Shaker, M., Reid, R. Parental attitude toward breastfeeding: their association with feeding outcome at hospital discharge. Birth 2004;31(1):19-26.
11. ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, นันทา กาเลี่ยง, อนงค์ ภิบาล, รัตนา ใจสมคม, วนิสา หะยีเซะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ของมารดาในจังหวัดนราธิวาส. ว. พยาบาล สาร 2014; 41(5): 123-133.
12. สุพรรณิการ์ ปานบางพระ, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. ความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเอกชน. J Nurse Sci 2013; 31(1): 70-79.
13. McCann, M. F., Baydar, N., Williams, R. L. Breastfeeding attitudes and reported problems in a national sample of WIC participants. Journal of Human Lactation 2007; 23(4): 314-324.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30