การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • เขมิกา เสียงเพราะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • จิรภา วิลาวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ยุวดี บุญเนาว์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สมฤทัย ผดุงพล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้รวมทั้งการยืนยันองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาจารย์พยาบาลทุกสาขาทางการพยาบาลและกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต ที่เป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาจำนวน 62 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการสกัดปัจจัยด้วยเทคนิค Principal Factor Analysis และการหมุนแกนแบบแวริแมกซ์ (Varimax Rotation)

ผลการศึกษา พบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ 18 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ก) สมรรถนะด้านคุณลักษณะทางจริยธรรม มี 11 ตัวบ่งชี้            ข) สมรรถนะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ มี 5 ตัวบ่งชี้ และ ค) สมรรถนะด้านกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มี 2 ตัวบ่งชี้ 2) การยืนยันองค์ประกอบสมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล โดยผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันองค์ประกอบในประเด็นความเหมาะสมความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับดีมาก จากผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรนำตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านจริยธรรม จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพให้แก่นักศึกษาพยาบาล

 

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 1ง (ลงวันที่ 3 มกราคม 2561).
2. นฤนาท ยืนยง. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ. ว.พยาบาล 2551; 57(3-4): 1-12.
3. โกสุมภ์ หมู่ขจรพันธ์, อรัญญา ชวลิต, นงนชุ บุญยัง. คณะกรรมการจริยธรรมทางการพยาบาลตามความคิดเห็นของผู้บริหารทางการพยาบาลและพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภาคใต้. ว.พยาบาล 2551; 57(1-2): 1-10.
4. Chitty K K. Professional nursing: Concepts & Challenges. 3rded. Philadelphia: W.B. Saunders; 2001.
5. สภาการพยาบาล. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tnc.or.th
6. พรจันทร์ สุวรรณชาติ. พยาบาลกับการประกอบวิชาชีพที่อาจถูกฟ้องร้องได้. ว.สภาการพยาบาล 2552;24(2): 11-3.
7. มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ คณะพยาบาลศาสตร์. หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ; 2560.
8. ไพศาล วรคำ. การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์; 2560.
9. Rovinelli, R.J., & Hambleton, R.K. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research 1977; 2 ; 49-60.
10. Krejcie, R.V., Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30: 607-610.
11. Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 16: 297-334.
12. Joint Committee on Standards of Educational Evaluation. The program evaluation standards. 2nd ed. London: SAGE Publications; 1994.
13. Baly, Monica E., H. C. G. Matthew, "Nightingale, Florence (1820–1910) ". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press; 2004. 
14. Johnstone. Indicators of Education System. London : Unesco;1981.
15. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์. กลวิธีการพัฒนาอัตลักษณ์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. ว.หาดใหญ่วิชาการ 2558; 3(2): 117-132.
16. สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์, อุไร จักษ์ตรีมงคล, อนันต์ มาลารัตน์, ปริญญา จิตอร่าม. ผลการสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะตามอัตลักษณ์ของบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2560; 10(4): 76-94.
17. American Association College of Nursing. The essentials of master’s education in nursing. Washington, DC: National Academies Press. National Association of Colleges and Employers; 2011.
18. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย. จรรยาบรรณพยาบาลฉบับปีพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.
19. จริยา กฤติยาวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC”; วันที่ 29 กรกฎาคม 2559; ณ มหาวิทยาลัยราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชธานี; 2559.
20. ศนิกานต์ ศรีมณี, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม. การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลอนามัยชุมชนของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ว.พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 20(39): 20-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30