ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อการปรับตัวของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณรงค์กร ชัยวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ณิชาภัทร มณีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตการปรับตัว, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อการปรับตัวของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 32 คน ซึ่งได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิต จำนวน 8 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการปรับตัวของนักศึกษาของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้น 1 สัปดาห์ และติดตามผล 3 เดือน โดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measure analysis of variance) และเมื่อค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวมีความแตกต่างในแต่ละระยะ ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการเปรียบเทียบเชิงพหุคูณบอนเฟอร์โรนี

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล หลังการทดลองเสร็จสิ้น 1 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 3 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Wilks' Lambda = .113, F(2, 30) = 117.45, η2=.887) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลภายหลังการทดลอง ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันด้วยวิธี Bonferroni พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลในระยะก่อนการทดลอง และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น 1 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 3 เดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมการปรับตัวดีขึ้นตามช่วงระยะเวลาที่ผ่านไป

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสามารถส่งเสริมการปรับตัวนักศึกษาพยาบาลได้ดีขึ้น คณาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถนำรูปแบบของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใหม่หรือนักศึกษากลุ่มอื่น ๆ สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

References

1. Janice, R. E., Celia, L. H. Nursing in today’s world . 5thed. Philadelphia: J. B. Lippincott; 1995.
2. ปราณี อ่อนศรี, สายสมร เฉลยกิตติ. การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาลเพื่อสร้างความสุข: บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน. ว.พยาบาลทหารบก 2556; 14(1): 8-16.
3. Usawasiriroj, W. Happiness index of Chiangmai University’s students. Chiangmai: Chiangmai University; 2012.
4. Arnett, J. J. Adolescence and emerging adulthood: A cultural approach. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall; 2001.
5. ศิริไชย หงษ์สงวนศรี. พัฒนาการทางจิตใจ. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์,บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรช์; 2548. หน้า 1-19.
6. Roy C, Andrews HA. The Roy adaptation model. 2nd ed. Stamford Connecticut: Appleton & Lange; 1999.
7. Burnard, P., Rahim, H. T., Hayes, D., Edwards, D. A descriptive study of Bruneian student nurses’ perception of stress. Nurse Education Today 2007; 27: 808-818.
8. Joseph, J. M. The resilient child: Preparing today’s youth for tomorrow’s world. New York: Plenum Books; 1994.
9. มารุต พัฒผล. การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2557.
10. Grotberg, E. H. A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Hague: The Bernard van Leer Foundation; 1995.
11. Hodges, H. F., Keeley, A. C., Grier, E. C. Professional resilience, practice longevity, Parse’s theory for baccalaureate education. Journal of Nursing Education 2005; 44: 548-554.
12. Wilks, S. E., Spivey C. A. Resilience in undergraduate social work students: Social support and adjustment to academic stress. Journal of Social Work Education 2010; 29: 276-288.
13. McAllister, M., McKinnon, J. The importance of teaching and learning resilience in the health disciplines: A critical review of the literature. Nurse Education Today 2009; 29: 371-379.
14. ระบบบริการการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://reg.bru.ac.th/registrar/instructor.asp?avs642677277=160%22
15. Polit DF, Hungler BP. Nursing research:principles and methods. Philadelphia: J.B.Lippincott Company; 1983.
16. นันทิชา บุญละเอียด. การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
17. เพ็ญประภา ปริญญาพล.. ความยืดหยุ่นและทนทานของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ว.สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2550; 13(2): 137-153.
18. Donelson, R. Group Dynamics. California: Wadsworth Cengage Learning; 2010.
19. ธนพล บรรดาศักดิ์, ชนัดดา แนบเกษร,ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. ว.สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2560; 5(3): 195-208.
20. กนกพร เรืองเพิ่มพูล, นฤมล สมรรคเสวี, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2558; 21(2): 259-274.
21. อาภรณ์ อุ่นธวัชนัดดา, อัมพร อรุณศรี. ผลกระทบการมีส่วนร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปีการศึกษา 2548. ว.สงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2551; 14(3): 432-445.
22. เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. พัฒนาการมนุษย์. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30