ประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • มะลิสา โรจนหิรัณย์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุบาดเจ็บหลายระบบ ของ ผศ. ดร.กรองได อุณหสูตร และเครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พ.ศ.2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ในด้านผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย และความพึงพอใจของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบประเภทฉุกเฉินวิกฤต จำนวน 40 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี 31 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินงาน ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุบาดเจ็บหลายระบบ  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลการบาดเจ็บ แบบบันทึกผลลัพธ์หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของพยาบาล  แบบประเมินความพึงพอใจการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 3 ด้าน จำนวน12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) และ Paired Sample T-test

จากการศึกษาผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 40 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.5 อายุระหว่าง 15-77 ปี (median 37.5 IQR 29) มาโรงพยาบาลในช่วงเวลา 16-24 น. ร้อยละ 42.5 สาเหตุการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรร้อยละ 87.5 บาดเจ็บที่ศีรษะและท้อง คิดเป็น ร้อยละ 35.0 และ 25.0 ตามลำดับ ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาล พบว่า ใช้เวลาในห้องอุบัติเหตุ 35-185 นาที (IQR 46) ผู้บาดเจ็บ ER pass to OR ร้อยละ 57.5 และส่วนใหญ่รอดชีวิต ร้อยละ 85.0 เปรียบเทียบค่าดรรชนีภาวะช็อค (Shock Index) แรกรับเข้าห้องอุบัติเหตุและก่อนจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.007) ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน (O2 Saturation) เมื่อแรกรับเข้าห้องอุบัติเหตุและก่อนจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ 31 คน ต่อการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.48, S.D. 0.45)

พบว่าแนวทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริงให้ผลลัพธ์ที่สะท้อนคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้น และพยาบาลมีความพึงพอใจในการนำไปใช้ปฏิบัติ รวมทั้งสามารถนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลนี้ ไปใช้กำกับนิเทศการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

References

1. World health organization. The-top-10-causes-of-death 2017 [Internet]. [cited 2019 Feb 10]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of death
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติสาธารณสุข 2559. [อินเทอร์เน็ต]. [cited 2019 Jan 16]. Available from: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=367&template =reportid=367&template=1R2C&yeartype=M&subcatid=15.
3. Hasler,R.M., Nuesch,E., Juni, P., Bouamra,O., Exadaktylos A. K., Lecky, F. Systolic blood pressure below 110 mmHg is associated with increased mortality in blunt major trauma patients: multicentre cohort study. Resuscitation 2011; 82: 1202-7.
4. อำนาจ จิตรวรนันท์. แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบ. ว.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2553;6(2):50-60.
5. Kim H, Jung KY, Kim SP, Kim SH, Noh H. Changes in Preventable Death Rates and Traumatic Care Systems in Korea. The Korean Society of Emergency Medicine 2012; 23(2): 189-197.
6. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี. ข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บโรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลอุดรธานี 2562.
7. เพ็ญศรี ดำรงจิตติ, รสสุคนธ์ ศรีสนิท, พรเพ็ญ ดวงดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. ว.การพยาบาลสาธารณสุข 2557;28(1):43-54.
8. กรองได อุณหสูต, เครือข่ายการพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย.การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย Multiple Injury ตามแนวทางการจัดการผู้ป่วย Multiple ตามหลักฐานเชิงประจักษ์.ประชุมเชิงปฎิบัติการ ครั้งที่2/2559;11-12 มิถุนายน 2559 กรุงเทพฯ 2559.
9. อุไรพร ศิริเทพ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. ใน: รัชนี เบญจธนัง, พิมพ์จิตร กาญจนสินธุ์,
ปราณี ทองใส, บรรณาธิการ. การพยาบาลศัลยศาสตร์วิกฤต. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2558: 103-130.
10. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด พ.ศ.2556.พิมพ์ครั้งที่3. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

11. ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม. แนวคิดและหลักการจัดการผู้บาดเจ็บสำหรับพยาบาล. ใน: ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ Trauma Nursing. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2559: 1-28.
12. นันทพร หาสาสน์ศรี, ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, อรพรรณ โตสิงห์, ศรัทธา ริยาพันธ์. ภาวะช็อกในผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล. 2562;34(3): 60–75.
13. กรองได อุณหสูต. Traumatic shock. Online [cited 2019-02-10] Available from: https://www. slideshare.net/krongdai/traumatic-shock
14. รุ่งชัย ชวนไชยะกุล ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดสำคัญอย่างไรกับนักกีฬา.Online [cited 2019-10-10] Available from: https://ss.mahidol.ac.th/th/images/docs/artical/o2blood-rc.pdf Likert, Rensis A. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc; 1961
15. มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. Online [cited 2019-11-1] Available from: fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/ 04/resch.pdf.
16. นวลทิพย์ ธีระเดชากุล, นุชศรา พรมชัย, นงลักษณ์ พลแสน. ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบุรีรัมย์. ว.การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 33(2): 165-177.
17. Best, John. Research in education. Englerood Cilifts. New Jersy:.Printice-Hall; 1970.
18. สุนิดา อรรถชิต.การพัฒนาและการประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ โรงพยาบาลปัตตานี [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาสงขลานครินทร์; 2552.
19. กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร, ฐิติ ภมรศิลปธรรม, ลัดดามี มีจันทร์.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2557; 6(1): 24-37.
20. วิบูลย์ เตชะโกศล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(6): 524-529.
21. ชาติชาย คล้ายสุบรรณ.คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล.นนทบุรี: สามชัย 2017; 2561.
22. จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร.การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ โรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(1): 339-349

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30