ผลการสวดมนต์แนวพุทธต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • รุจาภา จิระประดิษฐ์ผล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ยุภา โพผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศิปภา ภุมมารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มณฑา ลิ้มทองกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ทิฆัมพร มัจฉาชีพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

นักศึกษาชั้นปีที่ 1, ความเครียด, การสวดมนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการสวดมนต์แนวพุทธต่อความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน  โปรแกรมประกอบด้วย 1) การให้ความรู้เรื่องความเป็นมาและความสำคัญของการสวดมนต์ โดยพระภิกษุสงฆ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต 2) สวดมนต์ และนั่งสมาธิ ระยะเวลา 10 วัน วันละ 30 นาที ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เพื่อคัดเลือกคณะที่จะทำการทดลอง  และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 โดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST-20) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 โดยวัดระดับความเครียดก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม สถิติวิเคราะห์ที่ใช้ คือ The Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการสวดมนต์แนวพุทธ คะแนนความเครียดของนักศึกษาลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการสวดมนต์นั้นสามารถช่วยลดระดับความเครียดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษามีกิจกรรมการสวดมนต์เป็นประจำ  เพื่อผ่อนคลายความเครียด และมีความพร้อมเพื่อการเรียนต่อไป

 

References

1. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.กรมสุขภาพจิตห่วงใยวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจก/1384/-กรมสุขภาพจิต-ห่วงวัยรุ่นเยาวชนไทยมีภาวะซึมเศร้า-แนะคนรอบข้างรับฟังอย่างเข้าใจ.html
2. Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. Definitions: Self-directed violence [Internet]. 2016. [cited 2019 Jun 25]. Available from: http://www.cdc.gov/violenceprevention/sui cide/definitions
3. สุภาพ หวังข้อกลาง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาขาสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพวิทยาลัยนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.
4. Pender, N. J., Murdaugh, C. L.,Parsons, M. A. Health promotion in nursing practice. 5th ed.. New Jersey: Pearson Education; 2006.
5. กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนาและการทำสมาธิแบบอาณาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
6. ว.วชิรเมธี. สวดมนต์ ทำไมและสวดอย่างไรไม่เป็น “มนต์คาถา”; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม 2562] . เข้าถึงได้จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/76743.html
7. ชมรมผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สวดมนต์บำบัด. วารสารจดหมายข่าว,18(4)24-30; 2555.
8. Fergusson, D. M., Woodward, L. J. Mental health, education, and social role outcome of adolescents with depression. Archives of General Psychiatry 2002;59:225-231.
9. Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4 Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University; 2014.
10. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความเครียดสวนปรุง; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2562] . เข้าถึงได้จาก http://www. dmh.go. th/test/stress/
11. Pulio-Martos M, Augusto-Landa JM, Lopez-ZafraE. Sources of stress in nursing students: a systematic review of quantitative studies. Inter Nurs Review 2012; 59 (1): 15-25.
12. มหาเถรสมาคม สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ. บทเจริญพุทธมนต์. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2555.
13. อุไร วิรุฬวิริยางกูร. ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ที่พักในหอพักมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2544.
14. Seaward BL. Managing stress: principles and strategies for health and well-being. 7th ed. Burligton: Jones & Bartlett learning; 2012.
15. อารี นุ้ยบ้านด้าน, ประนอม หนูเพชร, เนตรนภา พรหมเทพ. ผลของการสวดมนต์ต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30