ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี
บทคัดย่อ
ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับที่สองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลอุดรธานี การดูข้อมูลย้อนหลังจะมีประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ดียิ่งขึ้น การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ สาเหตุ การรักษา อัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จากเวชระเบียนผู้ป่วยวินิจฉัยภาวะความดันเลือดในปอดสูงที่รักษาในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ระหว่างมกราคม 2558 – ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ (IQR) วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ Student T test และ Mann-Whitney U test กำหนดค่าความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: พบภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด 75 ราย เป็นอุบัติการณ์ 1.17:1,000 การเกิดมีชีพ อายุครรภ์เฉลี่ย 38 สัปดาห์ สัดส่วนเพศชายต่อหญิง 1.5:1 สาเหตุสำคัญได้แก่ ภาวะสูดสำลักขี้เทา (ร้อยละ 41.3) ภาวะขาดออกซิเจน (ร้อยละ 18.6) ภาวะสำไส้เลื่อนกะบังลม (ร้อยละ 10.7) ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะปอดติดเชื้อจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ (ร้อยละ 35.0) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (ร้อยละ 28.4) และภาวะถุงลมรั่วในปอด (ร้อยละ 23.4) เปรียบเทียบกลุ่มทารกรอดชีวิตพบว่ามีค่าดัชนีออกซิเจนต่ำกว่ากลุ่มเสียชีวิต (23.75, 42.5; p=0.001) และมีแนวโน้มได้รับแก๊สไนตริกออกไซด์มากกว่ากลุ่มเสียชีวิต (p=0.051) อัตราเสียชีวิตโดยรวมร้อยละ 53.3
สรุป: ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดมีอัตราการเสียชีวิตสูงร้อยละ 53.3 ส่วนใหญ่เกิดจากการสูดสำลักขี้เทา ภาวะแทรกซ้อนหลักคือปอดติดเชื้อจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ
References
2. พิมล วงศ์ศิริเดช. Burden of PPHN. ใน: สันติ ปุณณะหิตานนท์, บรรณาธิการ. Highlights in Neonatal Problems. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์; 2561. หน้า 404-23.
3. Steinhorn RH, Abman SH. Persistent pulmonary hypertension. Christine A, Gleason SEJ, editors. Avery’s disease of the newborn. Philadelphia: Elsevier; 2018. P.768-78.
4. Hernandez-Diazs S, Lj VM, Mm W, Louik C, Aa M. Risk factors for Persistent pulmonary hypertension of the newborn. Pediatrics 2007; 120: 272-82.
5. นพวรรณ พงศโสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. ว.วชิรการแพทย์เขต 11 2560; 31: 49-59.
6. อุกฤษฎ์ จิระปิติ, วรางคณา มหาพรหม. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีความดันโลหิตในปอดสูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2557; 6(1): 57-65.
7. วรนาฎ จันทร์ขจร. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร 2549; 30: 151-8.
8. Bendapudi P, Rao GG, Greenough A. Diagnosis and management of persistent pulmonary hypertension of the newborn. Paediatric Respiratory Reviews 2015; 16(3): 157–161.
9. Walsh-Sukys MC, Tyson JE, Wright LL. Persistent pulmonary hypertension of the newborn in the era before nitric oxide: practice variation and outcomes. Pediatrics 2000; 105(1): 14–20.
10. Satyan L, Martin K. Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn. Neoreviews 2015; 16: e680-92.
11. สุชาดา ชีวะพฤกษ์. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลปทุมธานี. วิชาการสาธารณสุขวารสาร 2551; 17: 379-389.
12. พิชญา ถนอมสิงห์. ผลการรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไปในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาเวชสาร 2554; 35: 31-43.
13. ชรินพร พนาอรุณวงศ์. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนครพนม. ว.โรงพยาบาลนครพนม 2560; 4(2): 5-18.
14. นพวรรณ พงศ์โสภา. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี. ว.วิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31: 49-59.
15. ฐานิตา พิสิษฐ์กุล. การศึกษาผลของการใช้ยา Iloprostในการรักษาภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. ว.โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 2556.
16. วรนาฎ จันทร์ขจร. ผลการรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. ว.กุมารเวชศาสตร์ 2563; 59(2): 131-138.
17. Barrington KJ, Finer N, Pennaforte T, Altit G. Nitric oxide for respiratory failure in infants born at or near term. Cochrane Database Syst Rev 2017; 1(1).
18. Kinsella JP, Truog WE, Walsh WF. Randomized, multicenter trial of inhaled nitric oxide and high-frequency oscillatory ventilation in severe, persistent pulmonary hypertension of the newborn. J Pediatr 1997; 131(1 Pt 1).
19. Lazar DA, Cass DL, Olutoye OO. The use of ECMO for persistent pulmonary hypertension of the newborn: a decade of experience. J Surg Res 2012; 177(2): 263-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร