ความเครียด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียด และการเผชิญความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24

ผู้แต่ง

  • ปิติณัช ราชภักดี มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • จริญญา ดวงกุลสา มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ธัญญารัตน์ ลั่นทมเหลือง มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ทิพย์วิมล เหลาแก้ว มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤตพร ศรีสุข มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • จิรัชญา พิสุทธิ์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ภาริณี พรมตู้ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ภัทรวดี ศรีสง่า มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ภาวิณี ธีระวงค์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความเครียด, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียด, ตำรวจตระเวนชายแดน, การเผชิญความเครียด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดน ในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 กลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 จำนวน 92 คน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 ในช่วงเวลาที่เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดระดับความเครียด แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด และแบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องของเครื่องมือทั้งฉบับอยู่ในช่วง 0.63-1.00 และหาค่าความเที่ยงตรงของส่วนที่ 3 และ 4 โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่าระดับความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 50.00) พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.01 ได้แก่ ปัจจัยความก้าวหน้า ด้านสัมพันธภาพ ด้านบทบาท และปัจจัยด้านองค์กร และปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านบทบาท        (β =.362, p<0.05) และปัจจัยด้านความก้าวหน้า (β=.355, p<0.01) วิธี การเผชิญความเครียด พบว่า ใช้วิธีการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นปัญหาบ่อยครั้งกว่าแบบมุ่งปรับลด/ปรับอารมณ์ เมื่อพิจารณารายข้อวิธีการเผชิญความเครียดที่ใช้บ่อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ยอมรับปัญหาในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นตามความจริง (x̄=3.88, SD 0.97) เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองจากประสบ การณ์ที่ผ่านมา (x̄=3.87, SD 0.89) มีสติ พร้อมเผชิญปัญหา (x̄=3.86, SD 0.94) ตามลำดับ ส่วนวิธีการเผชิญความเครียดที่ใช้น้อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ขอเปลี่ยนลักษณะงานที่ได้รับผิดชอบ (x̄=2.45, SD 1.14) สูบบุหรี่เมื่อรู้สึกเครียด (x̄=2.39, SD 1.41) และขอโยกย้ายตำแหน่งไปยังหน่วยงานอื่น (x̄=2.37, SD 1.22)

ข้อเสนอแนะ: จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กรและปัจจัยด้านความก้าวหน้า ดังนั้นผู้บังคับบัญชาควรพิจารณาเรื่องการบริหารงาน บทบาทหน้าที่ในองค์กร และเพิ่มการสนับสนุนความก้าวหน้าในตำแหน่งงานการเลื่อนขั้น ซึ่งจะช่วยให้ตำรวจตระเวนชายแดนในกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน 24 มีความเครียดในการทำงานลดลง

 

References

1. กานดา วิธานธีรกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง จังหวัดชุมพร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.
2. Lazarus R., Folkman S. Stress Appraisal and Coping. New York: Springer; 1984.
3. Patel R., Huggard P., Toledo A. Occupational stress and burnout among surgeons in Fiji. Front: Public Health; 2017. p.5: 41.
4. Henry V. E. Death Work: Police, Trauma, and the Psychology of Survival. Oxford: Oxford University; 2004.
5. มนทิรา ปรีชา. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
6. ภิสักก์ ก้อนเมฆ. การปฏิบัติการทางทหารกับปัญหาทางจิตใจ. ว.นาวิกศาสตร์ 2551; 51(6): 36-41.
7. กุนนที พุ่มสงวน, อายุพร ประสิทธิเวชชากูร, องค์อร ประจันเขตต์. ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของทหารใหม่. ว.พยาบาลทหารบก 2555;. 13(2): 72-81.
8. ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, กลิ่นชบา สุวรรณรงค์. ความเครียด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของตำรวจ. ว.พยาบาลศาสตร์ 2557; 32(3): 20-30.
9. กชกร โฉมแพ. ภาวะความเครียดของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1. ว.วิจัยวิชาการ 2563; 3(2): 113-124.
10. อนุรัตน์ อนันทนาธร, ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตํารวจภูธรสังกัดตํารวจภูธร ภาค 2. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
11. นิพัทธ พลอยเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของตำรวจจราจร: ศึกษาเฉพาะกองบังคับการตำรวจจราจร [สารนิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2544.

12. ปารวี เกื้อกูลรัฐ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการเผชิญความเครียดของตำรวจจราจร กรุงเทพมหานคร. ว.พยาบาลตำรวจ 2554; 3(2): 41-53.
13. ฐิติวัฒน์ ยะชัยมา, วรรณา แผนมุนิน. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร กรุงเทพมหานคร. รมยสาร 2561; 16(2): 539-560.
14. กนกวรรณ ช่วยบำรุง. ความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส [สารนิพนธ์].สงขลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.
15. เด่นชัย จันทรราชา. ระดับความเครียดของข้าราชการตำรวจฝ่ายอำนวยการ 3 กองบังคับการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557.
16. มณทิรา ปรีชา, นันทิกา ทวิชาติ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของตำรวจตระเวนชายแดนกองร้อย 446 จังหวัดนราธิวาส. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2555; 56(2): 245-258.
17. Schumacker, R., Lomax, R. A beginner’s guide to structural equation modelling. Mahwah: Lawrence Erlbaum; 2004.
18. Polit, D. F., Hungler, B. P. Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 1999.
19. สุกิจ ทองพิลา และประไพจิตร โสมภีร์, ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาจิตเพื่อลดความเครียดในนิสิตพยาบาล ที่เตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 ของสภาการการพยาบาล.วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557: 7(4): 64-77.
20. Rui Gomes., Jorge Afonso. Occupational Stress and Coping among Portuguese Military Police Officer. Avances en Psicología Latinoamericana 2016; 34(1): 47-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30