การศึกษาภาคตัดขวางความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยของผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลทุ่งฝน

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ กุลวงศ์ โรงพยาบาลทุ่งฝน

คำสำคัญ:

ความรู, พฤติกรรมการดูแลรักษาตนเอง, ยาปฏิชีวนะ, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน, โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน, แผลสดจากอุบัติเหตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และแผลสดจากอุบัติเหตุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้และระดับพฤติกรรมดังกล่าวและทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มารับบริการที่โรงพยาบาลทุ่งฝน ในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2563 จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้และระดับพฤติกรรมโดยใช้สถิติ Chi-Square เปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้ใช้สถิติ Paired Sample t-Test

จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.5) มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 26.3) ระดับความรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=7.77, SD 2.87) มีพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=27.4,       SD 3.54) นอกจากนี้ยังพบว่าอาชีพ ระดับการศึกษา สิทธิ์ในการรักษา ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ ปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา สิทธิ์ในการรักษา มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังการจัดกิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 นั่นแสดงว่าสามารถเสริมสร้างความรู้ให้มากขึ้นได้ และอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาและการดูแลตนเองที่เหมาะสมมากขึ้น โดยอาจศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองหลังได้รับความรู้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษาระยะหนึ่ง หรือเสริมสร้างความรู้และพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว

 

References

1. World Health Organization. The world medicines situation (pharmaceutical consumption). [n.p.]; 2011.
2. กระทรวงสาธารณสุข.คนไทยกินยาปีละ4.7หมื่นล.เม็ดสธ.เร่งรณรงค์ให้ดูแลสุขภาพแทน.[อินเทอร์เนต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/content/245442
3. แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังระบบยา. รายงานสถานการณ์ระบบยาประจำปี. [ม.ป.ท.]; 2552.
4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุสมผล ลดปัญหาเชื้อดื้อยา. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2017/11/14839
5. แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา.ปักหมุดหยุดเชื้อดื้อยา. ยาวิพากษ์ 2560; 9: 9-10.
6. นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, สิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ภูษิต ประคองสาย.ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์; 2558.
7. ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. ผลงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เนต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_3_23_0_100808.pdf
8. นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, กัญญดา อนุวงศ์, พิสนธิ์ จงตระกูล, เขมวดี ขนาบแก้ว, สมหญิง พุ่มทอง. ผลของโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล: การนำร่องที่จังหวัดสระบุรี. วิชาการสาธารณสุข 2553; 19: 899-911.
9. Cochran, W. G. Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons; 1953.
10. Munro, B. H. Statistical Methods for Health Care Research. 3rd ed. Philadelphia: Lippincot; 2001.
11. กัญญดา อนุวงศ์, สมหญิง พุ่มทอง, พัชรี ดวงจันทร์. ผลสัมฤทธิ์ของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Antibiotics Smart Use) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย. กรุงเทพฯ: แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา; 2554.
12. Best, J. W. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1977.
13. สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, มัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2557; 31: 114-127.
14. อรอุมา อินทนงลักษณ์. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา [การค้นคว้าอิสระ]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2556.
15. ชมพูนุท เสียงแจ้ว, คชาพล นิ่มเดช, นาฏยา สุวรรณ, พุทธชาติ มากชุมนุม, วิโรจน์ ทองฉิม, ณัฐนันท์ เพชรประดิษฐ์. การสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผสมสเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ.วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต11 2562; 33: 231-242.
16. จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข, เอมอร ชัยประทีป. ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2555; 6: 91-100.
17. มาริสา ประทุมมา. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นบนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคมของบุคคลในครอบครัว[วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.
18. พัชร์สณธิ์ อ่วมเกิด, จีราภรณ์ กรรมบุตร, วนลดา ทองใบ.ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอสม.ในจังหวัดปทุมธานี. พยาบาลทหารบก 2561; 20: 101-109.
19. ศรีกัญญา ชุณหวิกสิต. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในศูนย์บริการสุขภาพชุมชนตลาดดอนนก เครือข่ายรพ.สุราษฎร์ธานี. วิชาการแพทย์เขต 11 2561; 32: 783-790.
20. อรรัตน์ หวั่งประดิษฐ, รวีวรรณ ช่วยบำรุง, กรกฏ สินประจักษ์ผล, วนิดา ประเสริฐ. ผลการจัดชุดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องยาต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10: 87-95.
21. อัจฉรา มีดวง, ฐาปนีย์ นนท์สะเกษ, กิตติพร รัชตเวชกุล, สมศักดิ์ อาภาศรีทองกุล, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง. ผลของการให้ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะโดยวิธีการบอกเล่า สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อพื้นบ้านแก่ประชาชนบ้านหนองแต้ จังหวัดมหาสารคาม. เภสัชศาสตร์อีสาน 2556; 1: 38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30