การบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา: โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุทิศา ชื่นเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สังคม ศุภรัตนกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พัชราภรณ์ ไชยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การบริหารองค์กร, หลักธรรมาภิบาล, โรงพยาบาลอุดรธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross sectional survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยด้านการบริหารองค์กรและการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคำนวณโดยวิธีของยามาเน่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 353 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทำการศึกษาในช่วงเวลา 1 ธันวาคม 2562 -        31 ตุลาคม 2563 ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 และมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ 343 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยด้านการบริหารองค์กร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=3.97, SD 0.56) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านการบริหารองค์กรทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ระบบขององค์กร ค่านิยมร่วมขององค์กร รูปแบบการบริหารขององค์กร กลยุทธ์ขององค์กร ทักษะขององค์กร โครงสร้างขององค์กร และบุคลากรขององค์กร ตามลำดับ 2) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.08, SD 0.55) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ หลักความรับผิดชอบ ส่วนด้านอื่นอยู่ในระดับมากเรียงตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส และหลักความมีส่วนร่วม ตามลำดับ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า มีตัวแปรจำนวน 5 ตัวแปร ที่มีค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 สามารถนำมาใช้ในการพยากรณ์ภาพรวมของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ร้อยละ 63.50 ได้แก่ ค่านิยมร่วมขององค์กร รูปแบบการบริหารขององค์กร ระบบขององค์กร โครงสร้างขององค์กร และตำแหน่งนักวิชาการ/เจ้าพนักงาน ตามลำดับ

 

References

1. แก้วกัลยาสิกขาลัย สถาบันพระบรมราชชนก. แนวทางการดำเนินการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเพื่อพัฒนาหน่วยงานเป็นโรงพยาบาลคุณธรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.217/healthsite/web_health/download/2105201515235124_news.pdf.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://goo.gl/Gxk0Sh.
3. ปธาน สุวรรณมงคล.การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://goo.gl/exSBdw.
4. สามารถ อภิสนธ์. การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 [วิทยานิพนธ์]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา; 2553.
5. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating) [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.huaykapi.go.th/images/info/book7.PDF.
6. สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและสำนักตรวจและประเมินผล.แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก:http://dmsic.moph.go.th/index/detai l/4546.
7. พลกฤติ พัตรปาล. การศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2549.
8. Helmut Brand. Good governance for the public’s health. European Journal of Public Health 2007; 17(6): 541.
9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542[อินเทอร์เน็ต]. 2542 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://goo.gl/CqtgJa.
10. อังคณา ศรีนิลทิน. การพัฒนาตัวบ่งชี้โรงพยาบาลคุณธรรมสังกัดกองทัพบก. ว.บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2563; 6(1): 14–30.
11. กัมพล ราชวงษ์. การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กรอสังหาริมทรัพย์โดยใช้หลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษาบริษัทแสนสิริจำกัด (มหาชน). ว.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2558; 4(1): 16–34.
12. ชลัช วงษ์วิฑิต. การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. ว.บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2559; 2(2): 65–73.
13. วรชัย สิงหฤกษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด. ว.การจัดการสมัยใหม่ 2559; 14(1): 67–75.
14. พิมพ์ลออ ช่วยประดิษฐ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำหลักคุณธรรมและความโปร่งใสมาใช้ในการปฏิบัติงานพัสดุ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. ว.นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2559; 8(2): 75–85.
15. ภาวิณี ศรีสวัสดิ์. การนำหลักธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติในการบริหารงานพัสดุของโรงพยาบาลอุดรธานีท้องถิ่น. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7; มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: 2559.
16. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โรงพยาบาลคุณธรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 3 ส.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_ hotnew.php?idHot_new=72511
17. Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper and Row; 1967.
18. เพ็ญแข ศิริวรรณ และคณะ. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น; 2551.
19. ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, นิพิฐพนธ์ สีอุปลัด, บังอรศรี จินดาวงค์, อรุณี ต้นกันยา, ไพรินทร์ เนธิบุตร. การบริหารจัดการภายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตามแนวคิด 7S McKinsey. ว.นานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่นสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2563; 10(1): 38-58.
20. ทักษิณา บุญขันธ์. คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี. ว.วิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(3): 142-153.
21. ขนิษฐา ศรีปิ่นแก้ว. การศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.
22. สุคนธ์ทิพย์ โพธิ์หล้า. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น. ว.ราชพฤกษ์ 2558; 16(2): 97-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30