การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยแผลไหม้ด้วยภาวะโภชนาการ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สุนิสา กังวานตระกูล หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ฐิติมา นาสมตรึก กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • เพียงเพ็ญ บุษมงคล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยแผลไหม้, ภาวะโภชนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการทำการศึกษาที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี ในระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564 กลุ่มตัวอย่างการศึกษาคือผู้ป่วยแผลไหม้จำนวน 23 ราย และเจ้าหน้าที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกจำนวน 10 ราย ผู้ป่วยแผลไฟไหม้ประกอบด้วยผู้ป่วยแผลไฟไหม้รุนแรงปานกลางจำนวน 13 รายและผู้ป่วยที่มีแผลไหม้รุนแรงมากจำนวน 10 รายที่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลเพื่อการวิจัยและได้รับการดูแลตามแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนา ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาของผู้ป่วยแผลไหม้ 23 ราย มีอายุเฉลี่ย 45.50 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19.74), น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อแรกรับ 66.04 กก. (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.93), น้ำหนักเฉลี่ยในวันที่จำหน่าย 63.84 กก. (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน13.09), จำนวนวันในการรักษาเฉลี่ย 16.96 วัน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.28), ปริมาณพลังงานเฉลี่ยที่ได้รับ 2,661.82 กิโลแคลอรีต่อวัน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 940.59) เจ้าหน้าที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกทั้ง 10 ราย เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.3 ปี อายุงานเฉลี่ย 17.3 ปีและมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแผลไหม้เฉลี่ย 8.8 ปี ผู้ป่วย 21 ราย (ร้อยละ 91.3) ได้รับพลังงานตามเป้าหมาย เมื่อเข้ารับการรักษาครั้งแรกผู้ป่วยแผลไหม้รุนแรงมาก จำนวน 10 ราย มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงและปานกลาง จำนวน 3 ราย ณ วันที่จำหน่าย อาการดีขึ้น มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารปานกลาง จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยแผลไหม้รุนแรงปานกลาง จำนวน 13 ราย มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารปานกลาง จำนวน 1 ราย ณ วันที่จำหน่ายไม่พบผู้ป่วย ไม่มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงและปานกลาง แนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่ปรับปรุงสามารถช่วยทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ เจ้าหน้าที่ที่ใช้แนวปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติเนื่องจากใช้ได้ง่าย มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้นและระบุว่าแนวทางนี้มีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยทุกราย ดังนั้นแนวทางที่พัฒนาขึ้นควรนำใช้ในการดูแลผู้ป่วยแผลไฟไหม้อย่างต่อเนื่อง

 

References

1. อนงค์ ประสาธน์วนกิจ. ความปวดและการจัดการกับความปวดด้วยตนเองและทีมสุขภาพ: ประสบการณ์ของผู้ป่วยแผลไหม้. มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่; 2544; Available from: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/ 2010/6932.
2. World health organization. World health statistics 2018: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals 2018 [internet] 2018. [cited 2020 July 20]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/gho-docu ments/world-health-statistic-reports/6-june-18108-world-health-statistics-2018.pdf.
3. ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2559. ว แผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2560;1(1):2-15.
4. ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2560. ว แผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2561; 2(1): 2-13.
5. ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย. รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2561. ว แผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2562; 3(1): 2-13.
6. หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานผลงานหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี ประจำปี 2560. โรงพยาบาลอุดรธานี. 2561.
7. หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานผลงานหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี ประจำปี 2561. โรงพยาบาลอุดรธานี. 2562.
8. หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานผลงานหอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลอุดรธานี ประจำปี 2562. โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563.
9. Richardson P, Mustard L. The management of pain in the burns unit.BURNS. 2009;35(7):921-36. Epub 2009/06/10.
10. วารณี บุญช่วยเหลือ, ณัฏฐิญา ค้าผล, ขวัญชนก เจนวีระนนท์. ภาวะทุพโภชนาการและผลกระทบในผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(2): 287-304.
11. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, คัคนางค์ โตสงวน. ภาวะโภชนาการในโรงพยาบาลเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 2556. Available from: http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/09/pb_thuphophchna akaar_final_for_web_260913.pdf.
12. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์. การคัดกรองภาวะทุพโภชนาการในโรงพยาบาลจำเป็น แต่ทำไมไม่เกิดขึ้น? โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Policy Brief). 2559; 4(39): 1-4.
13. วรัทยา กุลนิธิชัย. การพยาบาลเพื่อติดตามเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2556; 30(1): 2-16.
14.Komindr S, Tangsermwong T, Jane panish P. Simplified malnutrition tool for Thai patients. Asia Pac J Clin Nutr. 2013; 22(4): 516-21.
15. Yura H, Walsh MB. The nursing process: assessing, planning, implementing, evaluating. 5, editor: Norwalk, Conn. :Appleton & Lange; 1988.
16. วรรณรัตน์ ศรีกนก, พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ. การปฏิบัติการพยาบาลสู่การวิจัย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(2): 15-22.
17. สาโรช โศภีรักข์. การวิจัยและพัฒนา (Research & Development). [cited 2020 2020-07-29]; Available from: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl. php?nid=1240.
18. Yang H, Chao X, Cheng X, et al. The application of PDCA cycle in the teaching management of ICU specialized nurse training. J Nur Administration. 2009; 9: 34-5.
19. Gao X, Gao M, Zhou Z, et al. Application of PDCA Cycle in the management of intraoperative pressure sore. Chin J Inju Rep Wou Heal 2014; 9: 17-9.
20. Liu X. Application of PDCA Cycle in nursing management in interventional operating room. World Lat Med Info. 2018; 47: 263-4.
21. He Y. Application value of PDCA Cycle in operating room nursing management. Electronic J Prac Clin Nur Sci. 2019; 23: 169-70.
22. Li X. Application of PDCA cycle management mode combined with detail nursing in department of general surgery nursing management. Chin J Prim Med Pharm. 2019; 26: 2293-5.
23. Mahadevan SV, Garmel GM, eds. An introduction to clinical emergency medicine. 2nd ed. Cambridge: Cambridge University Press; 2012. 216–9 p.
24. สมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ SPENT. [ออนไลน์] 2560. [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.spent. or.th/uploads/event/แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ%20new.pdf
25. อัญชัญ เกตุเมฆ. การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยแผลไหม้. วารสารบาดเจ็บไฟไหม้น้ำร้อนลวกแห่งประเทศไทย. 2557; 7(2): 61-71.
26. Pibul K, Techapongsatorn S, Thiengthiantham R, Manomaipiboon A, Trakulhoon V. Nutritional Assessment for Surgical Patients by Bhumibol Nutrition Triage (BNT) and Subjective Global Assessment (SGA). The THAI Journal of SURGERY. 2011; 32: 45-8.
27. ชมชนก ศรีจันทร์. รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพ เรื่อง การสำรวจภาวะโภชนาการผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ประจำปีงบประมาณ 2559. 2560.
28. สุรีพร อัยแก้ว, เบญจา มุกตพันธุ์. ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยไอซียูศัลยกรรมโดยใช้แบบติดตามภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยโรงพยาบาลอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2555; 27(4): 354-60.
29. นันธิพร ศรีนารัตน์, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, เกศศิริ วงษ์คงคำ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยแผลไหม้. วารสารสภาการพยาบาล. 2558; 30(4): 19-31.
30. มรกต สุวรรณการ. การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยแผลไหม้รุนแรงในผู้ใหญ่. Thai JPEN. 2020; 28(2): 102-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30