ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต บนขุนทด คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ู้ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 103 คน ช่วงระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ ด้านปัญญา ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.84 และได้ค่าความเชื่อมั่นโดย Cronbach’s Alpha Coefficient เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Multiple Linear Regression กำหนดให้ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

           ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (54.3 %) อายุ 65 – 69 ปี (33.7 %) คะแนนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.60, SD 0.58) ส่วนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุรายด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (x̄=4.72, SD 0.53) รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ (x̄=4.64, SD 0.63) และคุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อม (x̄=4.58, SD 0.50) ตามลำดับ คะแนนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุรายด้านที่อยู่ในระดับมากได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านร่างกายและคุณภาพชีวิตด้านปัญญา (เฉลี่ย 4.48 และ 4.42 ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านโรคประจำตัว ด้านการศึกษา และด้านรายได้ มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ เพศ สถานภาพ อาชีพ สมาชิกกลุ่มในชุมชน ที่พักอาศัย การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และการออกกำลังกายไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

 

 

References

1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2565) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th//Default.aspx?tabid=535; 2557
2. กิตติวงค์ สาสวด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. ว.ชุมชนวิจัย 2560;11(2): 21-38.
3. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์; 2545.
4. Denham, M.J. Care of the long-stay elderly patient. 2nd ed. London: Chapman And Hall; 1991.
5. Ferrel, B.R., Dow K H, Leigh S, Ly J, Gulasekaram P. Quality of life in long-term cancer survivors. Oncology Nursing Forum 1995; 22(6): 915-922.
6. กรมสุขภาพจิต. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. 2532 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh. go.th/news-dmh/view.asp?id=29911; 2562
7. กระทรวงมหาดไทย. ทะเบียนสถิติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2561. บุรีรัมย์: กรมการปกครอง; 2561.
8. เทศบาลตำบลอิสาณ. ทะเบียนสถิติโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ (พ.ศ. 2561). อำเภอเมือง บุรีรัมย์; 2561.
9. ศรันยา สถิตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. ว.ราชนครินทร์ 2559; 13(1): 133-141.
10. จิรัชยา เคล้าดี, ศุภชัย นาคสุวรรณ์, จักรวาล สุขไมตรี. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ว.ราชพฤกษ์ 2560; 15(1): 27-32.
11. อรนิษฐ์ แสงทองสุข. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2563.
12. จันทนา สารแสง. คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลทุ่งข้างพวง อำเภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่; 2561.
13. Campbell, A. Subjective measures of Well-being. American Psychogist 1976; 31(4): 117-124.
14. Dalkey N., Rourke, D. The Delphi procedure and rating quality of life factor in the quality of life concept. Washington, D. C.: Environment Protection Agency; 1973.
15. Orem, D. E. Nursing Concept of Practice. 4th ed. St Louis: Mosky Year Book; 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31