ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพโดยการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร สุ่มมาตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • อุมภิกา ซองเหล็กนอก ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นฟูสภาพ, การประกอบกิจวัตรประจําวัน, การฝังเข็ม

บทคัดย่อ

           การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าความสามารถการประกอบกิจวัตรประจำวัน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับกายภาพบำบัดร่วมกับฝังเข็ม (กลุ่มทดลอง) และได้รับกายภาพบำบัดอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกจำนวน 80 คนที่มารับการฟื้นฟูสภาพในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2559 ถึง 31 กันยายน 2561 กลุ่มทดลองได้รับการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็ม 40 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการกายภาพบำบัด จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอลฉบับภาษาไทย (Barthel  Activities of Daily Living: ADL) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, ใช้สถิติ multiple logistic regression สร้าง propensity score เพื่อควบคุมอคติจากการไม่สุ่มและใช้สถิติ ANCOVA ควบคุมผลกระทบของ propensity scores รายงานผลเป็นค่าเฉลี่ยความต่างของดัชนีบาร์เธลเอดีแอลภายหลังการฟื้นฟู และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95

           ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 70.0 และ 65.0 ตามลำดับระยะการดำเนินโรคน้อยกว่า 2 ปี ร้อยละ 50.0 และ 92.5 ตามลำดับกลุ่มทดลองมีดัชนีบาร์เธลเอดีแอลก่อนการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ 24.89 คะแนน (95%CI: 10.60-36.17; p=0.001) เมื่อควบคุมผลกระทบของ propensity scores พบว่า ดัชนีบาร์เธลเอดีแอลภายหลังการฟื้นฟู กลุ่มทดลองยังคงมากกว่ากลุ่มควบคุม 12.73 คะแนน (95% CI: 3.81-21.65; P=0.006) สรุปผลการศึกษาได้ว่าการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มสามารถเพิ่มความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว

 

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562 (Public Health Statistics A.D.2019) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/ index/ detail/8297
2. Sacco Ralph L., Kasner Scott E., Broderick Joseph P., Caplan Louis R., Connors J.J.Buddy, Culebras, Antonio, et al. An Updated Definition of Stroke for the 21st Century. Stroke 2013;44(7):2064–89.
3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2558.
4. กรมการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์ (ฉบับสมบูรณ์ 2562). กรุงเทพฯ: ธนาเทรส; 2562.
5. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Huachiewtcm.huachiewtcm.com. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.huachiewtcm.com/ jp/content/6894/การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
6. พรพิมล มาศสกุลพรรณ, ทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล, กาญจนา ริ้วทอง, พรทิพย์พา ธิมายอม, พรพิมล วิเชียรไพศาล. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธนาเทรส; 2559.
7. ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต, อำไพ อยู่วันย์. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. J Thai Rehabil 2006;16(1):1–9.
8. อรรัตน์ จันทร์เพ็ญ, ยศพล เหลืองโสมนภา, สุชีรา อนุศาสนรักษ์, เย็นภัทร์ คำแดงยอดไตย, พาณี วสนาท. ผลของการฟื้นฟูตามโปรแกรมการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ต่อระดับกำลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;26(suppl.1):60-71.
9. เสาวภา เด็ดขาด. ผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพโดยใช้การรักษาทางเลือกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ว.ศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2558;32(2):135–46.
10.Chavez LM, Huang S-S, MacDonald I, Lin J-G, Lee Y-C, Chen Y-H. Mechanisms of acupuncture therapy in ischemic stroke rehabilitation:a literature review of basic studies. Int J MolSci 2017;18(11):1-14.
11. Wu X-L, Li X-D, Liu A-G, Li Y-Q, An Z-H. Effects of acupuncture on rehabilitation of nervous functions in the stroke patient of different OCSP types. Zhongguo Zhen Jiu Chin AcupunctMoxibustion 2008;28(5):328–30.
12. Yang A, Wu HM, Tang J-L, Xu L, Yang M, Liu GJ. Acupuncture for stroke rehabilitation. Cochrane Database Syst Rev 2016;(8):1-132.
13. Hou Y, Zhang N, Hao J, Wang X, Wen Z, Luo D., et al. Acupuncture plus rehabilitation for post-stroke depression: A protocol for systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore) 2020;99(28):1-4.
14. Peng L, Zhang C, Zhou L, Zuo H-X, He X-K, Niu Y-M. Traditional manual acupuncture combined with rehabilitation therapy for shoulder hand syndrome after stroke within the Chinese healthcare system: a systematic review and meta-analysis. Clin Rehabil 2018;32(4):429–39.
15. กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. การฝังเข็มกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง- เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2552;19(2):37–42.
16. Bernard R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbury: Thomson learning; 2000.
17. Li L, Zhang H, Meng S, Qian H. An updated meta-analysis of the efficacy and safety of acupuncture treatment for cerebral infarction. PLOS One 2014;9(12): e114057.
18. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2549(1): 1–9.
19. Zhang C, Guo L, Guo X, Li G, Guo X. Short and long-term efficacy of combining Fuzhengliqi mixture with acupuncture in treatment of functional constipation. J Tradit Chin Med Chung Tsa Chih Ying Wen Pan 2013;33(1):51–9.
20. Du J, Liu H, Xu J, Lu C-M, Zhou J-F, Wu P-H, et al. Post-stroke constipation treated with acupoint embedding therapy: a multi-center randomized controlled trial]. Zhongguo Zhen Jiu Chin AcupunctMoxibustion 2020;40(5):493–7.
21. Chavez LM, Huang S-S, MacDonald I, Lin J-G, Lee Y-C, Chen Y-H. Mechanisms of Acupuncture Therapy in Ischemic Stroke Rehabilitation: A Literature Review of Basic Studies. Int J MolSci 2017;18(11):1-14.
22. Shi L-H, Guo L-X, Zhang H-L, Li Y-X, Zhong D-L, Xiao Q-W., et al. Acupuncture for poststroke spasticity: A protocol of a systematic review and meta-analysis. Medicine (Baltimore) 2019;98(39):1-5.
23. Sharififar S, Shuster JJ, Bishop MD. Adding electrical stimulation during standard rehabilitation after stroke to improve motor function. A systematic review and meta-analysis. Ann Phys Rehabil Med 2018;61(5):339–44.
24. Vados L, Ferreira A, Zhao S, Vercelino R, Wang S. Effectiveness of acupuncture combined with rehabilitation for treatment of acute or subacute stroke: a systematic review. Acupunct Med J Br Med Acupunct Soc 2015;33(3):180–7.
25. Shin B-C, Lim H-J, Lee MS. Effectiveness of combined acupuncture therapy and conventional treatment on shoulder range of motion and motor power in stroke patients with hemiplegic shoulder subluxation:a pilot study. Int J Neurosci 2007; 117(4):519-23.
26. Wang X. Effects of the improved acupoints and rehabilitation exercise on locomotor ability of the upper limbs and ability of daily life in the patient of cerebral infarction. Zhongguo Zhen Jiu Chin Acupunct Moxibustion 2007;27(3):179–81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31