ประสิทธิผลของสื่อวีดีโอต่อคะแนนความรู้ของผู้ดูแลสุขภาพเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ฆารสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ณัฏฐพล นนทิบุตรธีรชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ก้านจิต ศรีนนท์ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม1 โรงพยาบาลอุดรธานี
  • นงค์นุช หวายแก้ว หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม1 โรงพยาบาลอุดรธานี
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สื่อวีดีโอให้ความรู้, ผู้ดูแลเด็ก, เด็กวัยเรียน, โรคธาลัสซีเมีย

บทคัดย่อ

           การส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ดูแลเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถนำไปใช้ดูแลเด็กให้มีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อวิดีโอต่อความรู้ของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลที่พาเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียมารับบริการที่คลินิกโรคเลือด ณ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ สื่อวีดีโอให้ความรู้ เรื่อง “มารู้จัก โรคธาลัสซีเมียกันเถอะ” ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าอัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.99 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความยากง่าย เท่ากับ 0.68 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้สถิติทดสอบ paired T-test และ independent T-test

           ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้ของผู้ดูแลเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียในกลุ่มควบคุมในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 84.78) ด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ความรู้เกี่ยวการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม (ร้อยละ 95.00) ด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสม (ร้อยละ 72.50) ส่วนกลุ่มทดลอง ระดับความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 91.46) ด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือความรู้เกี่ยวการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม (ร้อยละ 95.00) และความรู้ในความสำคัญของการมาตรวจตามนัด (ร้อยละ 95.00) ด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ(ร้อยละ 86.00) กลุ่มทดลองหลังดูสื่อวิดีโอให้ความรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนดูสื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01, mean difference 4.25, 95%CI 3.50 to 4.99) และกลุ่มทดลองที่ได้ดูสื่อวิดีโอให้ความรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับคำแนะนำตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01, mean difference 2.25 95%CI 1.49 to 3.00)

           สรุป สื่อวีดีโอให้ความรู้มีประสิทธิผลที่ดีในการส่งเสริมความรู้แก่ผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย

 

References

1. กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียโรคทางพันธุกรรมที่น่าเป็นห่วงในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/116500
2. Cakaloz B., Cakaloz I., Polat A., Inan M., Oguzhanoglu NK. Psychopathology in Thalassemia major. Acta Paediatr Jpn 2009; 51(6): 825-828.
3. Gharaiben H., Amarneh BH, Zamzam S Z. The psychological burden of patients with beta thalassemia major in Syria. Acta Paediatr Jpn 2009; 51(5): 630-6.
4. วิปร วิประกษิต. แนวทางในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางในเด็ก. ว.โลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2557; 24(4): 395-405.
5. นภารินทร์ นวลไธสง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ปัจจัยพื้นฐานบางประการกับพฤติกรรม การดูแลตนเองของเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ; 33(2): 34-41.
6. พรพิมล นาคะ, ชมนาด วรรณพรศิริ, สาโรจน์ สันตยากร.ประสบการณ์ของครอบครัวในการดูแลเด็กป่วยธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2552; 3(2):117-131.
7. หน่วยเวชระเบียนและสถิติ. สถิติเด็กที่เป็นธาลัสซีเมีย 2553 .กรุงเทพฯ: ภาควิชาโลหิตวิทยา และมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศิริราช.
8. จุไรรัตน์ กีบาง. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมและพัฒนาความสามารถผู้ปกครอง ในการล้างจมูกเด็กต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนโรคภูมิแพ้ ทางเดินหายใจของผู้ปกครอง. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20(1): 236-244.
9. นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนนเรืองศักดิ์. ประสบการณ์การจัดการดูแลตนเองของเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 4(23): 48-60.
10. Grey, M., Knafl, K., McCorkle, R. A framework for the study of self-and family management of chronic conditions. Journal of Nursing Outlook 2006; 54(55): 279-286.
11. สุธีร์ ธรรมิกบวร, การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. การปรับกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด; 2554.
12. Gagné, R. M., Briggs, L. J., and Wager, W. W. Principles of instructional design. 4th ed. Fort Worth, TX: Harcourt Brace Jovanovich College; 1988.
13. นิภาพรรณ บุญช่วย, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, นงลักษณ์ จินตนาดิลก, กลีบสไบ สรรพกิจ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย. ว.วิทยาศาสตร์พยาบาล 2558; 34(3): 41-53.
14. Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. Duxbery: Thomson learning; 2000.
15. สุภาพร หมุกรอด. ผลการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาและการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
16. Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971. อ้างใน เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(1): 48-49.
17. นารถฤดี ศิริไทย. ผลของสื่อแอนิเมชั่นต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กวัยก่อนเรียนโรคหอบหืด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
18. Ahmad, R. Z., Faezeh, J., Fatemeh, A., Najmeh, R., Afshin, O. The Impact of Multimedia Education on Knowledge and Self-efficacy among Parents of Children with Asthma: A Randomized Clinical Trial. J Caring Sci 2014; 3(3): 185-192.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31