อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: บทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, สถาบันพระบรมราชชนก
  • สาริณี โต๊ะทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, บทบาทการดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน, วิกฤตโควิด-19

บทคัดย่อ

          การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ด้านสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ของ อสม.เป็นกลไกสําคัญ
ของการขับเคลื่อนแผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เพราะเป็นส่วนที่ทําให้การปฏิบัติการดูแลจิตใจ
เบื้องต้นของประชาชนที่ประสบภาวะวิกฤตมีความทั่วถึงและรวดเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพจิตที่สมบูรณ์
          บทบาทหน้าที่ของ อสม.ด้านสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย 1) การประเมิน
คัดกรองภาวะสุขภาพจิตเบื้องต้นประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาหาย กลุ่มผู้ที่แยก
สังเกตอาการที่บ้าน และกลุ่มประชาชนทั่วไป 2) การปฐมพยาบาลทางจิตใจเบื้องต้นประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ใช้
หลัก 3 ส ได้แก่ สอดส่องมองหาผู้ที่กําลังต้องการความช่วยเหลือ ใส่ใจรับฟังปัญหาและความต้องการ และส่งต่อเชื่อมโยง
การให้ความช่วยเหลือและแหล่งสนับสนุนอื่นๆ 3) การให้คําแนะนําการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตด้วยตนเอง
ประกอบด้วยแนวทางการปฏิบัติตามกลุ่มผู้ประสบภาวะวิกฤต ได้แก่ กลุ่มผู้แยกสังเกตอาการที่บ้าน กลุ่มประชาชนทั่วไป
กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเด็ก และ 4) การดําเนินงานเรื่องวัคซีนสุขภาพจิตมีหลักการและแนวทางปฏิบัติแบ่งเป็นวัคซีนบุคคล
(อึด ฮึด สู้) วัคซีนครอบครัว (พลังบวก พลังยืดหยุ่น พลังร่วมมือ) และวัคซีนชุมชน (4 สร้าง 2 ใช้)
          ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ระดับตําบลซึ่งนําโดย รพ.สต.ในพื้นที่ควรนําสารสนเทศ
ของบทความนี้ไปเผยแพร่แก่ อสม.ในความรับผิดชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของ อสม.ในการ
ดูแลสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

References

1. กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
2. ธีระ วรธนารัตน์. อาการของโรค “โควิด-19” จากไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นอย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-426166
3. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์. การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. ว.สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28(4):280-91.
4. กรมสุขภาพจิต. แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.
5. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง. วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ (วันที่ 20 มีนาคม ทุกปี) [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/central/Intro1_2.php
6. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อการยกระดับ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.
7. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม.มืออาชีพ. นนทบุรี: พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.
8. วีระพงษ์ รามางกูร. คนเดินตรอก: อสส. และ อสม. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/opinion-column/news-458827
9. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ปารณัฐ สุขสุทธิ์. อาสาสมัครสาธารณสุข:ศักยภาพและบทบาทในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2550:1;268-79.
10. มณฑิรา นาควิเชียร. อสม.ไทยกว่าล้านคน หรือ “ผู้ปิดทองหลังพระ” ช่วยสอดส่องดูแลให้ชุมชนห่างไกลโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/thailands-1-million-village-health-volunteers-unsung-heroes-are-helping-guard-communities-nationwide-from-covid-19-TH
11. กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team:MCATT) ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561. นนทบุรี: บียอนด์พับลิชชิ่ง; 2561.
12. กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ: ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.
13. ผ่องรักษ์ ยศเดช. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานใช่เพียงแค่การเขียน work flow เท่านั้น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564], เข้าถึงได้จาก: https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=749
14. Kohrt BA, Asher L, Bhardwaj A, Fazel M, Jordans MJD, Mutamba BB, et al. The role of communities in mental health care in low- and middle-income countries: a meta-review of components and competencies. Int J Environ Res Public Health 2018;15(6):1279 doi:10.3390/ijerph15061279
15. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. ว.สถาบันบำราศนราดูร 2563;14:92-103.
16. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, พยงค์ เทพอักษร. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563:7;ก-จ.
17. วิทยา ชินบุตร, นภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. ว.สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564:6;304-18.
18. Miao Q, Schwarz S., Schwarz G. Responding to COVID-19: community volunteerism and coproduction in China. World Development 2020;1:137,105128;doi.10.1016/j.worlddev.2020.1 05128

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31