ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กาญจนาภรณ์ ถกลกิจสกุล กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อน, ติดเชื้อในกระแสโลหิต, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต (sepsis) เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขและจังหวัดหนองคาย เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตสูงและใช้ทรัพยากรในการรักษามากผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อในกระแสโลหิตและมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลหนองคาย

            วิธีการศึกษา ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (logistic regression analysis) ในผู้ป่วยมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลหนองคายระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 เมษายน 2564 โดยนำข้อมูลพื้นฐานมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่พบและไม่พบการติดเชื้อ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด

            ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวิจัย 342 ราย พบการติดเชื้อในกระแสโลหิต 61 ราย (ร้อยละ 17.8) การติดเชื้อที่พบมากที่สุดคือภาวะไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำ (febrile neutropenia) จำนวน 23 ราย (ร้อยละ 37.7) รองลงมาคือการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง 21 ราย (ร้อยละ 34.4) และการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 6 ราย (ร้อยละ 9.8) โดยพบการติดเชื้อในกระแสโลหิตหลังการให้ยาเคมีบำบัดครั้งที่หนึ่งมากที่สุดคือ 17 ราย (ร้อยละ 27.9) ปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการติดเชื้อในกระแสโลหิต ได้แก่ เพศชาย (OR 2.395, 95% CI 1.014-5.657, p = 0.046) ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ดี PS ECOG 2 (OR 2.186, 95% CI 1.016-4.704, p = 0.046) และการเกิดแผลในช่องปาก (OR 3.949, 95% CI 1.970-7.915, p< 0.001)

            สรุปผล เพศชายความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ดีและการเกิดแผลในช่องปากเป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในกระแสโลหิตในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อนที่ได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งควรเฝ้าระวังและนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงแนวทางในการรักษาผู้ป่วยต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Rudd KE, Johnson SC, Agesa KM, Shackelford KA, Tsoi D, Kievlan DR, et al. Global, regional, and national sepsis incidence and mortality, 1990-2017: analysis for the Global Burden of Disease Study. The Lancet 2020; 395: 200-211.
2. คลังข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง service plan สาขาอายุรกรรมประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://hdc2.cbo.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
3. Dugar S, Choudhary C, Duggal A, Duggal A. Sepsis and septic shock: Guideline-based management. Cleveland and Clinic Journal of Medicine 2000; 87(1): 53-64.
4. Gotts JE, Matthay MA. Sepsis: pathophysiology and clinical management. British Medical Journal 2016; 353: i1585.
5. Rojanamatin J, editor. Cancer in Thailand. Vol. X, 2016-2018. Bangkok; 2021. p.5-6.
6. ทะเบียนผู้ป่วยงานมะเร็งโรงพยาบาลหนองคาย. ข้อมูลเพื่อการตอบสนอง service plan สาขามะเร็งประจำปี 2563. 2563.
7.Marvelde LT, Whitfield A, Shepheard J, Read C, Milne RL, Whitfield K. Epidemiology of sepsis in cancer patients in Victoria, Australia: population-based study using linked data. Epidemiology 2020; 44: 53-58.
8. Van de Louw A, Cohrs A, Leslie D. Incidence of sepsis and associated mortality within the first year after cancer diagnosis in middle aged adult: A US population-based study. PLoS ONE 2020; 15(12): e0243449.
9. Crawford J, Dale DC, Lyman GH. Chemotherapy induced neutropenia: risks, consequences, and new directions for its management. Cancer 2004; 100: 228-37.
10. ปิยะดา สิทธิเดชไพบูลย์. Manual of Clinical Oncology. กรุงเทพฯ: หน่วยมะเร็งวิทยาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559. หน้า 166-167.
11. Family L, Li Y, Chen LH. Risk factors for febrile neutropenia in cancer patients treated with chemotherapy. Journal of clinical oncology 2016; 34(15): 6559.
12. ปิยะวดี เทพรัตน์, นงลักษณ์ คณิตทรัพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวต่ำของผู้ป่วยมะเร็งหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558; 15(2): 200-209.
13. อภิชญา ลือพืช, ขวัญจิต ด่านวิไล. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. Thai journal of Pharmacy Practice 2017; 9: 180-191.
14. Oken MM, Creech RH, Tormey DC, Horton J, Davis TE, McFadden ET, Carbone PP. Toxicity and response criteria of the Eastern Cooperative Oncology Group. Am J Clin Oncol 1982; 5: 649-655.
15. DE Castro CarpenoJ, Gascon-Vilaplana P, Tejerina AM, Anton-Torres A, Lopez-Lopez R, Barnadas-Molins A, et al. Epidemiology and characteristics of febrile neutropenia in oncology patients from Spanish tertiary care hospital: PINNACLE study. Molecular and clinical oncology 2015; 3(3): 725-729.
16. Abou Dagher G, EI Khuri C, Chehadeh AA-H, Chami A, Bachir R, Zebian D, BouChebl R. Are patients with cancer with sepsis and bacteremia at a higher risk of mortality? A retrospective chart review of patients presenting to tertiary care centre in Lebanon. BMJ Open 2017; 7: e013502.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30