ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บ โรงพยาบาลศรีบุญเรือง

ผู้แต่ง

  • ราชวัช ทวีคูณ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลศรีบุญเรือง
  • สมจินตนา สมณะ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลศรีบุญเรือง

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บที่เข้ารับการรักษาในช่วงเวลาเก็บข้อมูล จำนวน 9 คน และพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 11 คน ทำการเก็บข้อมูลผู้ป่วยระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บที่พัฒนาขึ้น แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความคิดเห็น ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.83

            ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บ 9 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 88.9 อายุระหว่าง 18-81 ปี มีค่ามัธยฐานอายุ 43 ปี (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 45) สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 55.6 เข้าถึงโรงพยาบาลโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ร้อยละ 77.8 สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่เกิดจาก tension pneumothorax คิดเป็นร้อยละ 55.6 และพบว่า ร้อยละ 44.4 มีการกลับมาของการไหลเวียนเลือดได้เอง กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ 11 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อแนวปฏิบัติอยู่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.90 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53) ดังนั้นควรนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการบาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง

References

1. Smith JE, Rickard A and Wise D. Traumatic cardiac arrest. Journal of the Royal Society of Medicine.2015; 108: 11-16.
2. Bhoi S, Mishra PR, Soni KD, Baitha U and Sinha TP. Epidemiology of traumatic cardiac arrest in patients presenting to emergency department at a level 1 trauma center [internet] 2016. [cited 12 October 2020]. Available from:https://www.ijccm.org/doi/pdf/10.4103/097 2-5229.188198.
3. Lu CH, Fang PH and Lind CH. Dispatcher-assisted cardiopulmonary resuscitation for traumatic patients with out-of-hospital cardiac arrest [internet] 2019.[cited 11 October 2020]. Available from: https://sjtrem.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/s13049-019-0679-2.pdf.
4. Evans CC, Petersen A, Meier EN, Buick JE, Schreiber M, Kannas D and Austin MA.Prehospital traumatic cardiac arrest: management and Outcomes from the Resuscitation Outcomes Consortium Epistry-Trauma and PROPHET registries [internet] 2017. [cited 11 October 2020]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/Articles/PMC49615 34/pdf/nihms775503.pdf.
5. Chen YC, Wu KH, Hsiao KY, Hang MS, Lai YC, Chen YS and Chang CY. Factors associated with outcomes in traumatic cardiac arrest patients without prehospital return of spontaneous circulation [internet] 2019. [cited 11 October 2020]. Available from: https://www.inju ryjournal.com/action/showPdf?pii=S0020-1383%2818%2930366-8
6. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สถิติสาธารณสุข 2562. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/newbps/sites/default/files/statistic62.pdf.
7. จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์,สุชาตา วิภวกานต์และรัตนา พรหมบุตร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบโรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(1): 339-350.
8. ฟองคำ ติลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน; 2554.
9. Roever L. PICO: Model for Clinical Questions [internet] 2018. [cited 20 October 2020]. Available from: file:///C:/Users/user/Downloads/2471-9919-3-115.pdf
10. Melnyk, B.M. and E., Fineout. Evidence-Based practice in Nursing and Healthcare: A guide to best practice. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkin; 2005.
11. Stewart RM, et al. Advanced Trauma Life Support [internet] 2018.[cited 12 October 2020]. Available from: http://paginas.facmed.unam.mx/deptos/cirugia_/wp-content/uploads/2018/07/Adva nced-Trauma-Life-Support.pdf
12. ANZCOR Guideline. Management of Cardiac Arrest due to Trauma[internet] 2016.[cited 10 October 2020].Available from:https://www.goldcoast.health.qld.gov.au/sites/default/fil es/anzcor-guideline-11-10-1-als-traumatic-arrest-2016.pdf
13. Kim OH, Go SJ, Kwon OS, Park CY, Yu B, Chang SW, Jung PY and Lee GJ.Clinical Practice Guideline for Trauma Team Composition and Trauma Cardiopulmonary Resuscitation from the Korean Society of Traumatology [internet] 2020.[cited 10 October 2020].Available from:https://www.jtraumainj.org/upload/pdf/jti-2020-0020.pdf
14. Lockey DJ, Lyon RM and Davies GE. Development of a simple algorithm to guide the effective management of traumatic cardiac arrest [internet] 2013. [cited 20 October 2020]. Available from:https://www.resuscitationjournal.com/action/showPdf?pii=S0300-9572%2812%2900935-5
15. France J, Smith J, Jones J and Barnard E. Traumatic cardiac arrest in adults [internet] 2019. [cited 20 October 2020]. Available from: https://rcem.ac.uk/wp-content/uploads/2021/10/RCEM_Traumatic_Cardiac_Arrest_Sept2019_FINAL.pdf
16. Camiller D, GummK, Walsh M, Judson R, Williams D and Morley P. Traumatic Cardiac Arrest Guideline [internet] 2018. [cited 22 October 2020]. Available from:https://www.thermh.org.au/sites/default/files/media/Documents/clinical/TRM%2008.12%20Traumatic%20Arrest%20Guideline%20V1.0_08.17.pdf
17. Victorian State Trauma System Guideline.Traumatic Cardiac Arrest [internet] 2017. [cited 20 October 2020]. Available from:https://trauma.reach.vic.gov.au/sites/default/files/ARV-Poster_Cardiac%20Arrest%20_OCT17.pdf
18. ชูศรี วงษ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจ, 2550.
19. พะนอ เตชะอธิก,สุนทราพร วันสุพงศ์และสุมนา สัมฤทธิ์รินทร์. ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลผู้บาดเจ็บที่หน่วยผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554; 34(3): 65-74
20. วีรพล แก้วแปงจันท์, สุภารัตน วังศรีคูณและอัจฉรา สุคนธสรรพ. สถานการณการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจัดการก่อนการเสียชีวิต. พยาบาลสาร. 2561; 45(3): 35-45.
21. ประดิษฐ์ รุ่งพิบูลโสภิษฐ์. การเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.kph.go.th/html/attachments/article/1122/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%201.3.pdf
22. วิมล อิ่มอุไร. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2562; 4(1).
23. อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี, ณัฐธยาน์ งามวงษ์, ศิริพร ไกรสังข์, ยุพาพรรณ ชาวสวน, เบญจรัตน์ ภิระพันธ์พานิชและวราภรณ์มามขุนทด. การรอดชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุในโรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2563;3(1): 1-12.
24. พรรณารัฐ อร่ามเรือง, กรองกาญจน์ สุธรรม, บวร วิทยชำนาญกุล,วีรพล แก้วแปงจันทร์, วิพุธ เล้าสุขศร, รัดเกล้า สายหร่ายและปริญญา เทียนวิบูลย์. การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2563; 14(1): 43-50
25. วาสนา สุขกันต์, จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์และกชพร พงษ์แต้. การพัฒนาและประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ TTS (Tertiary trauma survey) ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและระบบประสาท โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2563; 28(1): 54-67

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30