การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์และพัฒนาแนวทางการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • อุ้มพร มาลาศรี หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลอุดรธานี
  • สมถวิล ธุระพระ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสับสนเฉียบพลัน, การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน และพัฒนาแนวทางการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ทำการศึกษาที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี ในระหว่างเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 กลุ่มตัวอย่างการศึกษามี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดจำนวน 59 ราย ที่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลเพื่อการวิจัยและได้รับการดูแลตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น และ 2) แพทย์และพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกจำนวน 19 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันโดยใช้แบบประเมินภาวะง่วงซึม กระวนกระวาย (The Richmond Agitation and Sedation Scale: RASS) และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลัน (The confusion Assessment Method-Intensive Care unit: CAM-ICU) และแบบประเมินการใช้แนวทางการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ของแพทย์และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวทางการดูแลที่พัฒนาขึ้น ใช้สถิติเชิงพรรณนาใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ Fisher’s exact test ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 66.49 ปี (SD 4.89) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54.2) เกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดร้อยละ 13.6 พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติการณ์ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ได้แก่ การเสียเลือดมากกว่า 900 มิลลิลิตร (p=0.041) ภาวะความดันโลหิตต่ำ (p=0.002) ระดับฮีโมโกลบิน (p=0.045) ระดับอัลบูมิน (p=0.045) ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอักเสบ (p=0.016) และภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ อิเล็กโทรไลท์ (p=0.026)  แพทย์และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวทางการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีความเข้าใจในแบบประเมินและแนวทางการดูแลอยู่ในระดับมาก (x̄=4.05, SD 0.524) และมีความพึงพอใจในการใช้แนวทางการดูแลอยู่ในระดับมาก (x̄=4.21, SD 0.535) จากผลการศึกษาผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรพัฒนาแนวทางการดูแลให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องใช้อย่างกว้างขวางในการประเมิน และดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากภาวะสับสนเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดได้

References

1. Inouye SK, Westendorp RGJ, Saczynski JS. Delirium in elderly people. Lancet. 2014; 383: 911-22.
2. Inouye S.K., Current concepts of delirium in older persons. New Engl J Med. 2006; 354: 1157-65.
3. ผ่องพรรณ อรุณแสง. 2556. การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ: การนำใช้. (พิมพ์ครั้งที่2).ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
4. Peterson JF, Pun BT, Dittus RS, Thomason JW, Jackson JC, Shintani AK, Ely, EW. Delirium and its motoric subtypes: A study of 614 critically ill patients. J Am Geriatr Soc. 2006; 54: 479–484.
5. Ali S, Patel M, Jabeen S, Bailey RK, Patel T, Shahid M, et al. Insight into Delirium. Innovations in Clinical Neuroscience, 2011; 8(10): 25-34.
6. Horacek R, Prasko J, Mainerova B, Latalova K, Grosmanova T, Blahut L, et al. Delirium in surgery intensive care unit. Activitas Nervosa Superior Rediviva, 2011; 53(3): 121-133.
7. นิศารัตน์ เอี่ยมรอด, ศิริอร สินธุ, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, เกรียงไกร ตันติวงศ์โกสีย์. ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด. วารสารพยาบาลทหารบก, 2559; 17(2) :34-42.
8. Guenther U, Theuerkauf N, Frommann I, Brimmers K, Malik R, Stori S, et al. Predisposing and precipitating factors of delirium after cardiac surgery. Annals of Surgery. 2013; 257(6): 1160-1167.
9. Bakkera RC, Osseb RJ, Tulenb JHM, Kappeteina AP, Bogers AJJC.
Preoperative and operative predictors of delirium after cardiac surgery in elderly patients. European Journal of Cardio-Thoracic Surgery. 2012; 41: 544-549
10. Young J, Inouye SK. Delirium in older people. British Medical Journal.2007; 334(7598): 842-6.
11. ประเสริฐ อัสสันตชัย. เมื่อผูสูงอายุตองไดรับการผาตัด. สารศิริราช, 2546; 55(10): 607 – 61
12. กุลธิดา เมธาวศิน. Topic review: ภาวะสับสนเฉียบพลัน การวินิจฉัย แบบประเมินและแนวทางการรักษา. North – Eastern Thai journal of Neuroscience. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561; 21-29.
13. Chang, Y.L., Tsai, Y.F., Lin, P.J., Chen, M.C., & Liu, C.Y. Prevalence and risk factors for postoperative delirium in a cardiovascular intensive care unit. American Journal of Critical Care. 2008; 17(6), 567-575.
14. Ely EW. ICU delirium and cognitive impairment study group. [Internet] (access December 27 2014). Available from http://www.mc.vanderbilt.edu/icudelirium/docs/CAM_ICU_training.pdf.
15. Clegg A, Young JB. Which medications to avoid in people at risk of delirium: A systematic review, Age and Aging. 2011; 40(1), 23-29.
16. เบญจลักษณ์ มณีทอน, ณรงค์ มณีทอน. จิตเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2) เชียงใหม่: รัตนกุลการพิมพ์. 2556.
17. McPherson JA, Wagner CE, Boehm LM, Hall JD, Johnson DC, Miller LR, et al. Delirium in the cardiovascular intensive care unit: exploring modifiable risk factors. Critical Care Medicine. 2013; 41(2), 405-413.
18. หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานผลงานหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลอุดรธานี ประจำปี 2563. โรงพยาบาลอุดรธานี. 2564.
19. Foreman MD. Acute confusion states in hospitalized elderly: A research dilemma. Nursing Research. 1986; 35(1): 34-8.
20. Neuman B. The Neuman Systems Model. In Neuman B and Facett J (Eds.). The Neuman Systems Model (4thed.). New Jersey. NJ: Pearson education. 2002; 3-33.
21. Bone R.C, Balk R.A, Cerra F.B, Dellinger R.P, Fein A.M, Knaus W.A, et al. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. The ACCP/SCCM Consensus Conference Committee. American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine. 1992. Chest. 2009 Nov; 136 (5 Suppl) : e28.
22. Cavallazzi R, Saad M, Marik PE. Delirium in the ICU: An overview. Ann of Intens Care. 2012, 2:49 doi: 10.1186/2110-5820 -2 -49.
23. Tejangkura L. Factors related to delirium in adult patients undergoing open heart surgery. Mahidol University, Bangkok, Thailand, Unpublished master’s thesis. 2007.
24. Soukup, M. The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North America. 2000; 35:301-9.
25. นงลักษณ์ พานิช, ยุภา ภูผา, ศิริญญา วุฒิวรรณผล, นัฐวิกานต์ ชาญประโคน. รายงานผลการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพ: แนวทางการพยาบาลเพื่อตรวจจับภาวะซึมสับสนเฉียบพลัน. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2559.
26. Tracy L, Sheila AH, Judy ED, Audreg K. Postoperative delirium prevention in older adult: An Evidence-Based process improvement project. Med surg nursing: official Journal of the Academy of medical-surgical. 2015; 24(4): 256-63.
27. Inouye SK, Bogardus ST Jr, Charpentier PA, Leo-Summers L, Acampora D, Holford TR, Cooney LM Jr. A multicomponent intervention to prevent delirium in hospitalized older patients. N Engl J Med, 1999; 340(9): 669-676.
28. Fong TG, Tulebaev SK, Inouye SK. Delirium in elderly adult: diagnosis, prevention, and treatment. Nat Rev Neurol. 2009; 5:210-20.
29. นิตยา ศรีจำนง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านความคิดและสติปัญญา: ภาวะสมองเสื่อม(Dementia)และภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium). 2563. (ออนไลน์). (เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงได้จาก http://www.elnurse.ssru.ac.th/nitaya_si/plug infile.php/32/block_html/
30. Afonso A, Scurlock C, Reich D, Raikhelkar J, Hossain S, Bodian C, et al. Predictive model for postoperative delirium in cardiac surgical patients. Seminars in Cardiothoracic and Vascular Anesthesia. 2010; 14 (3), 212-217.
31. Miller CA. Nursing for wellness in older adults (6thed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wikins. 2012.
32. Lin Y, Chen J, Wang Z. Meta-analysis of factors which influence delirium following cardiac surgery. Journal of Cardiac Surgery. 2012; 27(4): 481-492.
33. วิไลวรรณ ทองเจริญ. ความไม่สมดุลของสารน้ำ อีเล็กโทรลัยท์และกรดด่าง. ใน ลิวรรณ อุนาภิรักษ์ (บรรณาธิการ), พยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาลหน้า. 2555; 341-363. กรุงเทพฯ: บุญศิริ.
34. เนตรดาว ชัชวาล, พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ, อริสรา อยู่รุ่ง. บทบาทพยาบาลกับการดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้สูงอายุ. วารสารทหารบก. 2561; 19(2): 103-110.
35. สุวรรณา สกประเสริฐ, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, พรทิตา วิศวาจารย์, ปิติพร สิริทิพากร. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ Delirium ในผู้สูงอายุโรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2559; 33(1): 61-68.
36. Naughton BJ, Saltzman S, Ramadan F, Chadha N, Priore R, Mylotte JM. A multifactorial intervention to reduce prevalence of delirium and shorten hospital length of stay. J Am Geriatr Soc. 2005; 53(1): 18-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30