ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปัญญาธร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • พรพิมล ศรีสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โควิด19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจำนวน 215 คน เครื่องมือเป็นแบบทดสอบความรู้ ค่าความเชื่อมั่น 0.72 และแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าความเชื่อมั่น 0.81 และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19  ค่าความเชื่อมั่น 0.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.40 มีความรู้ระดับปานกลาง รองลงมาคือระดับน้อยร้อยละ 27.91 และมีความรู้ระดับดีเพียงร้อยละ 10.69 (2) การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.50 คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด19 ระดับปานกลางและร้อยละ 91.50 กลัวการติดโรค ภาพรวมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด19 อยู่ในระดับมาก (x̄=3.66, SD=0.26) และ (3) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก (x̄=3.86, SD= 0.27) โดยมีการปฏิบัติมากตามลำดับ คือ การปฏิบัติบทบาทของอสม. (x̄=3.90, SD=0.28) การเว้นระยะห่างทางสังคม (x̄=3.85, SD=0.32) และการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (x̄=3.84, SD=0.22)

            จากผลการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงและความกลัวการเกิดโรค พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเป็นแบบอย่างในการดูแลตนเองแก่ประชาชนและปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ

References

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2020/

กรมควบคุมโรค. Coronavirus disease 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneu-monia/file/g_km/handout001_12032020.pdf3.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในประเทศไทย. ว.สถาบันบำราศนราดูร 2563;14(2): 92-103.

เกษริน อุบลวงศ์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2560; 33(2): 14-24.

พรศิริ พันธศรี, กาญจนา ศรีสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของผู้สูงอายุสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. ว.สุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2563; 6(1): 45-57.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, จิดาภา ศรีอรุณ, นามิต้า ฉาดหลี, ฐิติพร จันทร์พร, อนงค์ จันทร์เพิ่ม, ชุลีพร ไชยสุนันท์, และคนอื่นๆ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ว.สถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2561; 7(2): 43-52.

องค์การอนามัยโลก. What is need now to protect health workers [Internet]. 2020 [cited 2020 May 12]. Available from: https://weforum. org/agenda/2020/04/10-april-who-briefing-health- workers-covid-19-ppe-training/

ปิยะวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ. ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19158

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การจัดระบบอสมและภาคประชาชนสำหรับ Local quarantine และ Home quarantine [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/viralpneumonia

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จังหวัดอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/Region News/RegionNews/Detail/TCATG210818170217677

Rosenstock, I.M. Historical Origins of the Health Belief Model. Sage journal [Internet]. 1974 [cited 2020 May 12]. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/109019 817400200403

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. ว.รัฐศาสตร์ปริทรรศน์ 2019; 6(1): 28-57.

อติเทพ จินดา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดพังงา. ว.วิชาการแพทย์เขต11 2560; 31(3): 555-568.

วิชัย ศิริวรวัจนชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของอสม.ในการเฝ้าระวังและป้องกัน

โรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564; 4(2): 63-75.

ธวัชชัย วิเชียรประภา, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดจันทบุรี. ว.สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7(2): 53-68.

ศุภัคชญา ภวังครัตน์, สมภพ อาจชนะศึก, ปิยณัฐ นามชู. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)_

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ว.รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2564; 4(1): 44-58.

วิทยา ชินบุตร, นภัทร ภักดีสรวิชญ. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. ว.สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2): 304-318.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสิณี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี. ว.วิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 53-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30