ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกำลังกาย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ ศรีสุข นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกำลังกาย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองของ Methakanjanasak (2005) มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีปัญหาควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้จำนวน 70 ราย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการจับสลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองทำการให้ความรู้ฝึกทักษะดูแลตนเอง 4 ด้าน โดยใช้วิดีโอร่วมด้วย ทบทวนความรู้ติดตามความก้าวหน้าใช้เวลา 12 สัปดาห์ ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางไลน์แอปพลิเคชัน, เฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ ส่งวันเว้นวันนาน 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มิถุนายน 2564 ถึงเดือน กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ด้านการควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกำลังกาย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann-Whitney U Test

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีค่าคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p=0.001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

References

American Diabetes Association. Lifestyle Management. Diabetes Care 2017; 40(1): S33-S43.

International Diabetes Federation. Diabetes prevalence [Internet]. 2019 [cited 2020 May 24]. Available from: http://www.idf.org/diabetes_ preval-ence

ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลหนองกุงศรี. สถิติผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวานเข้ารับการรักษาปีงบประมาณ 2561-2563. เอกสารอัดสำเนา.

อารีย์ เสนีย์. โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ว.พยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 129-134.

เพ็ญบุญญา สัตยสมบรูณ์, สุวรรณี สร้อยสงค์, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, คุณญา แก้วทันคำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ว.บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่ 2563; 6(1): 164-179.

โชติกา สัตนาโค, จุฬาภรณ์โสตะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2560; 10(4): 32-47.

สุจิตราภรณ์ ทับครอง, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, นิตยา วิโรจนะ, พาจนา ดวงจันทร์. ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชั่นไลน์ต่อความรู้และความเข้าใจโรคเบาหวานของบุคลากรในสถานศึกษา. ว.พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561; 19(36): 78-87.

กรรณิการ์ ยิ่งยืน, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(1): 365-371.

Ewers B, Bruun J, Vilsbøll, T. Effects of basic carbohydrate counting versus standard outpatient nutritional education (The BCC Study): intervention study focusing on HbA1c and glucose variability in patients with type 2 diabetes. BMJ Open 2019; 9: 1-9.

ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์, พรสวรรค์ คำทิพย์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการติดตามด้วยแอปพลิเคชัน LINE ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายแกว่งแขนและระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. ว.สภาการพยาบาล 2563; 35(2): 52-69.

Methakanjanasak, N. Self-management of end stage renal disease patient receiving hemodialysis. [Dissertation]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2005.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

พรสวรรค์ อิมามี, นิรัตน์ อิมามี, ยุวดี รอดจากภัย, นิภา มหารัชพงศ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. ว.สุขศึกษา 2563; 43(2): 78-91.

สุชีลา บุญจันทร์, ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ. ผลของการให้ความรู้เรื่องการนับคาร์โบไฮเดรตร่วมกับการโทรศัพท์ติดตามต่อค่าระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. ว.โภชนาการ 2561; 53(2): 71-83.

สุรดา โพธิ์ตาทอง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนตัวชี้วัดทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

อุทัย ยะรี, มัณฑนา สีเขียว. การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. ว.มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2562; 8(1): 222-238.

นฤมล ฮาตไชย. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคไตเรื้อรังร่วมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

รติรัตน์ กสิกุล, เบญจา มุกตพันธ์.การประเมินผลการให้คำปรึกษาโดยวิธีการนับคาร์โบไฮเดรตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(4): 42-50.

แสงทอง ธีระทองคำ. การออกกำลังกายแบบแกว่งแขนเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน. ว.การปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2560; 4(1): 36-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30