อุปสรรคและแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่อ้วนลงพุง

ผู้แต่ง

  • ยุภา โพผา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุวิมล แสนเวียงจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • มณฑา ลิ้มทองกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศิปภา ภุมมารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กัลยภรณ์ เชยโพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุจิตรา หัดรัดชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, อ้วน, อุปสรรค, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

            วิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาครั้งนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพอุปสรรคและแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่อ้วนลงพุง ในชุมชนคลองโยง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 19 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในหมู่บ้านคลองโยง 1 มีเส้นรอบเอวเพศชาย ≥ 90 เซนติเมตร และเพศหญิง ≥ 80 เซนติเมตร คัดเลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง มกราคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลศึกษา ผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.92 อายุเฉลี่ย 49 ปี พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่อ้วนลงพุง ได้แก่ 1) ด้านการบริโภคอาหาร ได้แก่ นิสัยกินอาหารหวานมัน เค็ม กินผักน้อยและนิสัยกินอาหารไม่ตรงเวลา ข้ามอาหารมื้อเช้า กินอาหารมื้อดึก 2) ด้านกิจกรรมทางกาย ได้แก่ นิสัยเคลื่อนไหวร่างกายน้อยและไม่ต่อเนื่อง 3) ด้านการนอนหลับ ได้แก่ การนอนหลับน้อยและไม่มีคุณภาพ สำหรับอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่อ้วนลงพุง ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน คือ ความคิดความเชื่อของบุคคล และลักษณะอาชีพของบุคคล และ 2) ปัจจัยภายนอก คือ ลักษณะครอบครัวไม่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่อ้วนลงพุงพบความตระหนักในภาวะสุขภาพของตนเอง ข้อค้นพบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงในชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักในภาวะสุขภาพให้บุคคลเกิดความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

References

World Health Organization. Obesity and overweight. [Internet]. [cited 2020 Oct 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

ต่อศักดิ์ อินทรไพโรจน์, ปัทมวรรณ เผือกผ่อง. ฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อไขมัน: เลปทิน อดิโพเนคทิน และรีซิสทิน. ว.ไทยไภษัชยนินธ์ (ฉบับการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์) 2554; 6: 1-18.

สุพิชญา คงเจริญ. โรคอ้วน: ภัยเงียบในยุดิจิทัล (Obesity: Silent Killer in the digital era. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(3): 22-9.

ไพบูลย์ พิทยาเธียรอนันต์, รักมณี บุตรชน, จอมขวัญ โยธาสมุทร, วิชัย เอกพลากร, ยศ ตีระวัฒนานนท์, เนติ สุขสมบูรณ์, และคนอื่นๆ. ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประเทศไทย. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2554; 5(3): 287-98.

ลักษณาวลัย มหาโชติ. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของสมาชิกชมรมแอโรบิก อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

คณิตา จันทวาส. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัวของบุคลกรสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

Hansen S. Demographic and social-cognitive factors associated with weight loss in overweight, pre-diabetic participants of the PREVIEW Study. Int.J. Behav 2018; 25: 682–92.

Metzgar C.J, Preston A.G, Miller D.L., Nickols-Richardson S.M. Facilitators and barriers to weight loss and weight loss maintenance: a qualitative exploration. Journal of Human Nutrition and Dietetics 2014; 1-11.

กีรติภรณ์ สิงห์วิเศษ, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวของข้าราชการตำรวจที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. ว.พยาบาลตำรวจ 2557;6(1):142-56.

Doaa M.G., Amany A.S. Obesity and eating habits among university students in Alexandria,Egypt: A cross sectional study. World journal of nutrition and health 2017; 5(3): 62-8.

วสุนธรา รตโนภาส, สุนารี แซ่ว่าง. พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก: กรณีศึกษานักศึกษาโปรแกรมวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 วันที่ 22 ธันวาคม 2558; ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร .กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2558. หน้า 579–85.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2555.

Hassan N, Wahba S, El-Masry S, ElhamidE, Boseila S, Ahmed N, et al. Eating habits and lifestyles among a sample of obese working Egyptian women. Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences 2015; 3(1): 12-7.

จันทนา อึ้งชูศักดิ์. น้ำตาล สุขภาพ และการจัดการด้านการบริโภคที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.

บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์. สรีรวิทยา 2. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.

Lee J, Hwang Y, Kim KN, Ahn C, Sung HK, Ko KP, et al (Oh KH, Ahn C, Park YJ, Kim S, Lim YK, Park SK. ) Associations of urinary sodium levels with overweight and central obesity in a population with a sodium intake. BMC Nutr. 2018 Nov 21;4:47.10.1186/s40795-018-0255-6.32153908; PMC7050808.

นิธิยา รัตนาปนนท์, วิบูลย์ รัตนาปนนท์. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2559.

อรพินทร์ เชียงปิ๋ว. นาฬิกาชีวภาพกับการนอนหลับ .ว.มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2555; 4(7): 145-55.

Chika O., Hironori I., Isao M., Keiko Y., Hiroyasu I. Skipping breakfast with overweight in Japanese women. Journal of Obesity 2019; 2019(Article ID 2439571): 1-5.

Petri W. The role of physical activity and exercise in obesity and weight management: Time for critical appraisal. Journal of Sport and Health Science 2016; 5(2): 151-54.

ทิพรดา ประสิทธิแพทย์, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ชิงชัย เมธพัฒน์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยเทคนิคเต๋าซิ่นซีต่อภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานสถานประกอบการขนาดใหญ่เขตพื้นที่ภาคตะวันออก. ว.วิทยาลัยพยาบาลประปกเกล้า 2563; 31(2): 171-86.

Maha H A., Ian A M., Moira A T. Irregular meal-pattern effects on energy expenditure, metabolism, and appetite regulation: a randomized controlled trial in healthy normal-weight women. The American Journal of Clinical Nutrition 2016; 104(1): 21-32.

Rathod S., Nagose V., Kanagala A., Bhuvangiri, Kanneganti H, Annepaka E. Sleep duration and its association with obesity and overweight in medical students: A cross-sectional study. National Journal of Physiology, Pharmacy and Pharmacology 2018; 8(1): 113-7.

Fleary S., Ettienne R. Inherited or Behavior? What Causal Beliefs about Obesity Are Associated with Weight Perceptions and Decisions to Lose Weight in a US Sample. International Scholarly Research Notices 2014; 2014(4): 1-10.

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, วิชุดา กิจธรธรรม, ฐาศุกร์ จันประเสริฐ, มนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยมและวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืนด้วยการสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556.

มธุรส บุญแสน, ทวีศักดิ์ กสิผล, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุงค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี . ว.พยาบาลทหารบก 2557; 15(2): 312-9.

Pender, NJ., Murdaugh, CL., Parsons, MA. Health promotion in nursing practice. 6thed. New Jersey: Pearson Education; 2011.

Merete HH., Gerd LN. Dietary change, Motivators, and Barriers affecting diet and physical activity among overweight and obese: A mixed methods approach. International journal of environmental research and public health 2021; 18(20): 1-15.

Nanda S., Mohabbat A., Nagaraju D., Varayil J., Ratrout B., Abu-Lebdeh H., et al. Improving awareness of patients with obesity and its healthcare implications. Quality in Primary Care 2015; 23(4): 201-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30