ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ธีราภรณ์ ฉายาวุฒิพงศ์ กลุ่มงานห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, การช่วยฟื้นคืนชีพ, การฟื้นคืนชีพ

บทคัดย่อ

            ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างเร่งด่วนซึ่งการช่วยฟื้นคืนชีพเป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้อวัยวะสำคัญได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ เนื่องจากขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกลับมาฟื้นคืนชีพของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ให้การช่วยเหลือจำเป็นต้องปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพให้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทั้งนี้จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลค่อนข้างต่ำ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นคืนชีพ จึงมีความสำคัญเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลซึ่งได้รับการรักษาและฟื้นคืนชีพ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยเป็นการศึกษาแบบ Retrospective Case-Control study ทำการรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 รวมระยะเวลา 5 ปีย้อนหลังโดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ฟื้นคืนชีพและไม่ฟื้นคืนชีพ จากนั้นนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา (ความถี่, ร้อยละ, มัธยฐาน, IQR, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ simple และ multiple logistic regression กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.05

            จำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษามีทั้งสิ้น 170 ราย แบ่งเป็นเป็นกลุ่มที่ฟื้นคืนชีพ (ROSC group) จำนวน 86 ราย (ร้อยละ 50.58) โดยในกลุ่ม ROSC พบเป็นเพศชาย 48 ราย (ร้อยละ 55.8) อายุเฉลี่ย 65.2 ปี (SD = 15.30) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นคืนชีพหรือ Sustained ROSC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ การมีผู้พบเห็นขณะหัวใจหยุดเต้น (adjusted OR=2.274, 95%CI 0.141-0.989, p=0.041) และการได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนทีมช่วยเหลือไปถึง (adjusted OR=0.820, 95%CI 0.005-0.874, p=0.038)

            สรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นคืนชีพในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ซึ่งเข้ารับการรักษา ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ การมีผู้พบเห็นขณะหัวใจหยุดเต้นและได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพก่อนทีมช่วยเหลือไปถึงดังนั้นการพัฒนาความรู้ด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนจึงมีความสำคัญในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในอนาคตต่อไป

References

Suraseranivongse S, Chawaruechai T, Saengsung P. Outcome of cardiopulmonary resuscitation in a 2300-bed hospital in a developing country. Resuscitation 2006; 71: 188-93.

Jintapakorn W, Tasanapitak J, Intaraksa P. Results of cardiopulmonary resuscitation (CPR) at Songklanagarind Hospital. Songkla Med J 2005;23(Suppl 2): S223–7.

Sasson C, Rogers MA, Dahl J, Kellermann AL. Predictors of survival from out-of hospital cardiac arrest: a systematic review and meta-analysis. Circulation Cardiovascular quality and outcomes 2010; 3(1): 63-81.

ธวัช ชาญชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์. ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2554; 29(1): 39-49.

Haukoos JS, Witt G, Gravitz C, Dean J, Jackson DM, Candlin T, et al. Out-of-hospital cardiac arrest in denver, colorado: epidemiology and outcomes. Academic emergency medicine: official journal of the Society for Academic Emergency Medicine 2010; 17(4): 391-8.

Michał Czapla, Marzena Zielinska, Anna Kubica-Cielinska, Dorota Diakowska, Tom Quinn and PiotrKarniej. Factors associated with return of spontaneous circulation after out-of-hospital cardiac arrest in Poland: a one-year retrospective study. Journal of BMC Cardiovascular Disorders 2020; 20: 288.

วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. ว.สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(1): 16-23.

ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. Chiangrai medical journal 2564; 13(1): 11-19.

มธุรส บูรณศักดา, กัญญา วังศรี, แพรว โคตรุฉิน, วัชระ รัตนสีหา. อัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเมื่อมีและไม่มีแพทย์ร่วมออกเหตุ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(2): 105-10.

Lai CY, Lin FH, Chu H, Ku CH, Tsai SH, Chung CH, et al. Survival factors of hospitalized out of-hospital cardiac arrest patients in Taiwan: a retrospective study. PLoS One 2018; 13(2): e0191954.

Levine GN, O’Gara PT, Beckman JA, Al-Khatib SM, Birtcher KK, Cigarroa JE, et al. Recent Innovations, Modifications, and Evolution of ACC/AHA Clinical Practice Guidelines: An Update for Our Constituencies: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. Circulation 2019; 139: e879–e886.

Okubo M, Schmicker RH, Wallace DJ, Idris AH, Nichol G, Austin MA, et al. Outcomes Consortium Investigators. Variation in Survival after Out-of-Hospital Cardiac Arrest between Emergency Medical Services Agencies. JAMA Cardiol 2018; 3: 989–999.

Berg KM, Soar J, Andersen LW, Böttiger BW, Cacciola S, Callaway CW, et al. Adult Advanced Life Support: 2020 International Consensus on Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care Science with Treatment Recommendations. Circulation 2020; 142 (suppl1): S92–S139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30