การหาความสัมพันธ์ของ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา และดัชนีการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา ที่มีต่อความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง เพื่อประเมินสารน้ำในผู้ป่วยผู้ใหญ่ไทย ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ ณ ห้อง

ผู้แต่ง

  • วารีณา เลาหพันธุ์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเสนา

คำสำคัญ:

การประเมินสารน้ำในร่างกาย, หลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา, ความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง

บทคัดย่อ

            การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา (IVC diameter หรือ IVCmax) และดัชนีการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา (IVC index) ที่มีต่อความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (CVP) เป็นการศึกษาเชิงสังเกตโดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า (prospective double-blind observational study) ณ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาดกลาง ทำการศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำและได้รับการสอดสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter) ทุกรายที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเสนา ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2564 ผู้วิจัยใช้เครื่องอัลตราซาวน์วัดขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา (Inferior vena cava; IVC) ในขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าสุด และหายใจออกสุด นำค่าที่ได้มาคำนวณหาดัชนีการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวา (IVC index) จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์Correlation Coefficient โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient = r) หาความสัมพันธ์ระหว่าง IVCmax กับ CVP และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman Correlation Coefficient: rs) หาความสัมพันธ์ระหว่าง IVC index กับ CVP เนื่องจากข้อมูลแจกแจงแบบไม่ปกติ

            ผลการศึกษาจากผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 31 ราย เป็นเพศหญิง 22 ราย (71.0%) และเพศชาย 9 ราย (29.0%) อายุเฉลี่ย 61.8 ปี (SD = 12.4) ใส่ท่อช่วยหายใจ 17 ราย (54.8%) และไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ 14 ราย (45.2%) ผลการศึกษาพบว่า IVC index มีความสัมพันธ์กับค่า CVP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.361, P = 0.046) และพบว่าสามารถใช้ทำนายค่า CVP โดยมีความไว 90.48% ความจำเพาะ 40% และความแม่นยำ 74.19% อย่างไรก็ตาม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง IVCmax กับ CVP (r = 0.299, p = 0.012)

            สรุป ดัชนีการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดดำอินฟีเรียเวนาคาวาที่ได้จากการวัดโดยเครื่อง อัลตราซาวน์ข้างเตียงในห้องฉุกเฉิน มีความสัมพันธ์และสามารถใช้ทำนายความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลางได้

References

Kelm DJ, Perrin JT, Cartin-Ceba R, Gajic O, Schenck L, Kennedy CC. Fluid overload in patients with severe sepsis and septic shock treated with early goal-directed therapy is associated with increased acute need for fluid-related medical interventions and hospital death. Shock 2015; 43(1): 68-73.

Chen H, Zhu Z, Zhao C, Guo Y, Chen D, Wei Y, et al. Central venous pressure measurement is associated with improved outcomes in septic patients: an analysis of the MIMIC-III database. Crit Care 2020; 24(1): 433.

Kornbau C, Lee KC, Hughes GD, Firstenberg MS. Central line complications. Int J Crit IllnInj Sci 2015; 5(3): 170-8.

Coen D, Cortellaro F, Pasini S, Tombini V, Vaccaro A, Montalbetti L, Cazzaniga M, Boghi D. Towards a less invasive approach to the early goal-directed treatment of septic shock in the ED. Am J Emerg Med 2014; 32(6): 563-8.

Ilyas A, Ishtiaq W, Assad S, Ghazanfar H, Mansoor S, Haris M, et al. Correlation of IVC Diameter and Collapsibility Index With Central Venous Pressure in the Assessment of Intravascular Volume in Critically Ill Patients. Cureus 2017; 9(2): e1025.

Sarıtaş A, Zincircioğlu Ç, UzunSarıtaş P, Uzun U, Köse I, Şenoğlu N. Comparison of inferior vena cava collapsibility, distensibility, and delta indices at different positive pressure supports and prediction values of indices for intravascular volume status. Turk J Med Sci. 2019; 49(4): 1170-1178.

Sokal RR, Rohlf FJ. Introduction to biostatistics, 2nd ed. New York: Dover Publications; 2009.

Worapratya P, Anupat S, Suwannanon R, Wuthisuthimethawee P. Correlation of caval index, inferior vena cava diameter, and central venous pressure in shock patients in the emergency room. Open Access Emerg Med 2014; 6: 57-62.

Mintz GS, Kotler MN, Parry WR, Iskandrian AS, Kane SA. Real-time inferior vena caval ultrasonography: normal and abnormal findings and its use in assessing right-heart function. Circulation 1981; 64(5): 1018-25.

Jue J, Chung W, Schiller NB. Does inferior vena cava size predict right atrial pressures in patients receiving mechanical ventilation?. J Am Soc Echocardiogr 1992; 5(6): 613-9.

Brennan JM, Blair JE, Goonewardena S, Ronan A, Shah D, Vasaiwala S, Kirkpatrick JN, Spencer KT. Reappraisal of the use of inferior vena cava for estimating right atrial pressure. J Am Soc Echocardiogr 2007; 20(7): 857-61.

Nagdev AD, Merchant RC, Tirado-Gonzalez A, Sisson CA, Murphy MC. Emergency department bedside ultrasonographic measurement of the caval index for noninvasive determination of low central venous pressure. Ann Emerg Med 2010; 55(3): 290-5.

Kircher BJ, Himelman RB, Schiller NB. Noninvasive estimation of right atrial pressure from the inspiratory collapse of the inferior vena cava. Am J Cardiol 1990; 66(4): 493-6.

Wiwatworapan W, Ratanajaratroj N, Sookananchai B. Correlation between inferior vena cava diameter and central venous pressure in critically ill patients. J Med Assoc 2012; 95(3): 320-4.

Thanakitcharu P, Charoenwut M, Siriwiwatanakul N. Inferior vena cava diameter and collapsibility index: a practical non-invasive evaluation of intravascular fluid volume in critically-ill patients. J Med Assoc Thai 2013; 96(3): S14-22.

Fields JM, Lee PA, Jenq KY, Mark DG, Panebianco NL, Dean AJ. The interrater reliability of inferior vena cava ultrasound by bedside clinician sonographers in emergency department patients. Acad Emerg Med. 2011; 18(1): 98-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30