ลักษณะทางคลินิกและภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Enterovirus และโรคมือเท้าปาก
คำสำคัญ:
โรคมือเท้าปากบทคัดย่อ
โรคมือเท้าปาก (hand-foot-mouth disease; HFMD) เป็นโรคติดต่อในเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อกลุ่ม Enterovirus ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงหายเองได้ แต่ในบางรายมีภาวะ แทรกซ้อนทางระบบประสาทซึ่งต้องได้รับการรักษาเฉพาะเพื่อลดความรุนแรงของโรค การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังนี้ จัดทำเพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ลักษณะทางคลินิกและภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับความรุนแรงในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Enterovirus และ โรคมือเท้าปาก ทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนโรงพยาบาลอุดรธานีในช่วงเวลา ตั้งแต่ 1 กันยายน 2558 ถึง 30 กันยายน 2563 รวม 5 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 74 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Pearson’s Chi-squared test, Fisher exact test และ T-test.
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 74 ราย เป็นชาย 42 ราย (ร้อยละ 56.8) เฉลี่ยอายุ 23.8 เดือน มีอาการก่อนมาโรงพยาบาล 2.3 วัน อุณหภูมิแรกรับ เฉลี่ย 37.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 38.4 องศาเซลเซียส พบตุ่มทั้งมือ เท้า และปาก 64 ราย (ร้อยละ 86.5) มักป่วยในช่วงฤดูฝน พบมากที่สุดในเดือนมิถุนายน จำแนกเป็นอาการไม่รุนแรง (uncomplicated HFMD) 61 ราย (ร้อยละ 82.4) และกลุ่มที่มีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท (complicated HFMD) 13 ราย (ร้อยละ 17. 6) โดยในกลุ่มนี้ มีอาการชัก, ซึม, อาเจียน, กระตุก, อุณหภูมิกายสูงสุดมากกว่า 39 องศาเซลเซียส และระยะเวลาเฉลี่ยที่นอนโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่ม uncomplicated HFMD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทตรวจพบสารพันธุกรรมของ EV71 4 ราย, Coxsackie A16 1 ราย ผู้ป่วยจำนวน 3 ใน 5 ราย ได้รับ IVIG พบว่าอาการทางระบบประสาทดีขึ้นตามลำดับและกลับมาเป็นปกติ
สรุป: HFMD พบในผู้ป่วยอายุน้อย มีอาการไข้ ตุ่มที่ มือ เท้า และ ปาก พบภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทได้มากถึง ร้อยละ 17.6 การรักษาด้วย IVIG ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
References
กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. โรคมือ-เท้า-ปาก (Hand-Foot-And-Mouth Disease; HFMD) และโรคจากเชื้อ Enterovirus71 (EV71). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 มกราคม 2565] เข้าได้ถึงจาก http://www.thaipe-diatrics.org/attchfile/HFMD_22%2007%202012%20final.pdf
Huang C, Liu C, Chang Y. Neurologic complications in children with enterovirus71 infection. N Engl J Med 1999; 341(13): 936-42.
Wong Ssy, Yip Ccy, Lau Skp, Yuen Ky. Human enterovirus71 and hand, foot and mouth disease. Epidemiol Infect 2010; 138(8): 1071-89.
A Guide to Clinical Management and Public Health Response for Hand, Foot and Mouth Disease (HFMD). [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 24]. Available from: https://www.who.int/westernpacific/emer gencies/surveillance/archives/hand-foot-and-mouth-disease
Chea S, Yi-bing Cheng. Workshop on Use of Intravenous Immunoglobulinin Hand, Foot and Mouth Disease in Southeast Asia. EID Journal 2015; 21(1).
Cai K, Wang Y, Guo Z, Yu Huiju, Li H, Zhang L, et al. Clinical characteristics and managements of severe hand, foot and mouth disease caused by enterovirus A71 and coxsackievirus A16 in Shanghai, China. BMC infect Dis 2019; 19(285): 1-8.
Somchai Owatanapanich, Rochana Wut-thanarungsan. Risk Factors for Severe Enteroviral Infections in Children. J Med Assoc Thai 2016; 99(3): 322-330.
Ni H, Yi B, Yin J, Fang T, He T, Du Y, et al. Epidemiological and etiological characteristics of hand, foot, and mouth disease in Ningbo, China, 2008-2011. J Clin Virol 2012;54:342-8.
Peter McMinn, Ivan Stratov. Neurological Manifestations of Enterovirus 71 Infection in Children during an Outbreak of Hand, Foot and Mouth Disease in Western Australia. CID 2001;32(2):236-242.
Gomez FC, Vinas ET, Calderon EM, Lacasa LA, Estarellas EC, Casas MC, et al. Neurological disease associated with Enterovirus infection: Retrospective analysis of risk factors in a pediatric population. Research Square [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 24]. Available from: https://doi.org/10.21203/rs.3.rs-1258816/v1
Myung-Soo Lee, Da-Eun Jung. Neurological manifestations and experience with IV Immunoglobulin in children with Enterovirus 71 infections. Ann Child Neurol Org 2010;18:300-6.
Du Z; Huang Y; Lawrence WR; Xu J; Yang Z, et al. Leading Enterovirus Genotypes Causing Hand, Foot, and Mouth Disease in Guangzhou, China: Relationship with Climate and Vaccination against EV71. Int J Environ Res Public Health 2021; 18 (1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร