ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สายฝน แก้วที สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการทำงาน, การบริหารงานบุคคล, บุคลากร

บทคัดย่อ

            การบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เป็นบทบาทสำคัญยิ่งในการบริหารประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรให้มีคุณภาพสูงขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

            วิธีดำเนินการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ศึกษากลุ่มตัวอย่างบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอุดรธานี จำนวน 393 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples Test และ multiple linear regression

            ผลการวิจัย: ลักษณะส่วนบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ได้แก่ ข้าราชการมีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกับพนักงาน/ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติมีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกับผู้บริหาร/หัวหน้า รายได้พิเศษอื่น ๆ ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกับรายได้ 5,000 บาทขึ้นไป และบุคลากรที่มีระยะเวลาทำงานต่ำกว่า 10 ปี มีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกับบุคลากรที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ด้านประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.44, SD = 0.92) หัวข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานบริหารบุคคล มีการธำรงรักษาบุคลากร และมีการวางแผนการบริหารงานบุคคล ด้านพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.67, SD = 0.85) หัวข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือมีการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นระดับสูง มีการปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Identity) และมีความอดทนอดกลั้น ด้านประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.51, SD = 0.88) หัวข้อที่มีคะแนนมากที่สุดคือมีความรับผิดชอบ (responsibility) มีการสนับสนุน (support) และมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (standard) สำหรับปัจจัยทำนายระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรโดยรวมมีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ร้อยละ 80 (R2adj. 0.808, p<0.001) จำนวน 9 ปัจจัย เรียงลำดับอิทธิพลทำนายมากไปน้อย ได้แก่ พฤติกรรมการทำงานโดยรวม (R2adj. 0.891) ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม (R2adj. 0.562) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (standard) (R2adj. 0.524) ความขัดแย้ง (conflict) (R2adj. 0.456) การให้รางวัลและลงโทษ (reward and punishment) (R2adj. 0.424) การสนับสนุน (support) (R2adj. 0.409) ความรับผิดชอบ (responsibility) (R2adj. 0.407) เงินเดือน (R2adj. 0.056) และระยะเวลาทำงาน (R2adj. 0.010)

            ผลการศึกษานี้พบว่าการบริหารงานบุคคลโดยรวมอยู่ในระดับสูงสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรน่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร คาดว่าจะส่งผลให้ทำงานมีประสิทธิภาพดีตามไปด้วย

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. โปรแกรมข้อมูลบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2563.

เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, ชัยรัตน์ ประเสริฐล้ำ, ประกายพรรณ จินดา. การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่องค์การสุขภาวะ กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2560; 9(2): 64-74.

Sunarsih N, Helmiatin. Influence of Organizational Climate, Motivation, and Job Satisfaction on Employee Performance. Integrative Business and Economics Research 2017; 6(1): 262-276.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). คู่มืออธิบายตัวชี้วัด การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: ซีโน พับลิชชิ่ง (ประเทศไทย); 2551.

Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 1995.

น้องนุช วงษ์สุวรรณ, สถิตย์ นิยมญาติ, บุญเลิศ ไพรินทร์. ประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ว.มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 2561; 11(1): 1760-1776.

ทองคำ ศรีเนตร, ภคิน ไชยช่วย. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. ว.วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี 2561; 7(1): 32-39.

ศิริพงศ์ สมพีรพันธุ์. กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา [การศึกษาอิสระ]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน; 2560.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

Sovia, Suharti, Yellyanda, Abbasiah and Nomiko D. Factors affecting the performance of public health nurses in family nursing care. Enferm Clin 2019; 29(1): 74-77.

ธัญญานันท์ ศรีธรรมนิตย์. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลของโรงพยาบาลเอกชน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

พิมพ์ชนก วงษ์เจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

ภูษณดา สมบัติสกุลกิจ, กนกอร บุญมี. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนกลาง. ว.ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2562; 16(1): 95-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30