ประสิทธิภาพของสารสกัดกรุงเขมาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบบ่อยในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • นิภาภรณ์ เครือคำ สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • จรินยา ขุนทะวาด สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • ปราณี ศรีราช สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • กนกวรรณ แสนสุภา สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • เพ็ญศิริ จันทร์แอ สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์ สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • นฤวัตร ภักดี สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • ปราณี แสนวงค์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร
  • ภานิชา พงศ์นราทร สาขาวิชาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร

คำสำคัญ:

กรุงเขมา, เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบบ่อยในโรงพยาบาล, เชื้อแบคทีเรียดื้อยา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นรูปแบบเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่พบบ่อยในโรงพยาบาลของลำต้นและใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย 95% Ethanol และ Deionized water (DI) โดยเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการศึกษา คือเชื้อ Pseudomonas aeruginosa (P. aeruginosa), Escherichia coli (E. coli), Staphylococcus aureus (S. aureus) และเชื้อแบคทีเรียดื้อยา Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) โดยทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Disc diffusion

            ผลการทดลองพบว่าใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย 95% Ethanol ให้ปริมาณสารสกัด (%Yield) มากที่สุด คือ 4.84% ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของลำต้นและใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย 95% Ethanol พบว่าเกิดบริเวณโซนใส (Inhibition zone) ในการยับยั้งแบคทีเรีย P. aeruginosa เท่ากับ 15.00±0.02 และ 12.80±0.05 mm. ตามลำดับ ลำต้นกรุงเขมาที่สกัดด้วย DI Water มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa และ E. coli เท่ากับ 8.40±0.05 และ 7.89±0.07 mm. แต่ใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย DI Water มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ S. aureus เท่ากับ 7.50±0.05 mm. ซึ่งฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ MRSA ของลำต้นและใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย 95% Ethanol และ DI Water ไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อ MRSA นอกจากนี้การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Broth dilution พบว่าลำต้นและใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย 95% Ethanol สามารถยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ (MIC) เท่ากับ 62.50 mg/ml และ 125.00 mg/ml และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 125.00 mg/ml และ 250.00 mg/ml ตามลำดับ รวมทั้งลำต้นกรุงเขมาที่สกัดด้วย DI Water สามารถยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa และ E. coli มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 125.00 mg/ml, 250.00 mg/ml ส่วนใบกรุงเขมาที่สกัดด้วย DI Water สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 125.00 mg/ml และ 250.00 mg/ml จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากกรุงเขมาส่วนของลำต้นสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดจากส่วนของใบ

References

ภานุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์ จากการติดเชื้อติดยาจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2555; 6(3): 352-360.

นิตยา อินทราวัฒนา, มุทิตา วนาภรณ์. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลและสถานการณ์ดื้อยา. ว.การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 22(1): 81-92.

สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แอลทีเพรส; 2544:1-16.

เดชพิภัทร์ อมรทิพย์วงศ์, ปวีญา มงคลวิสุทธิ์, พวงมณี จิตตวงศ์, อำไพ สุภาจีน, วิภัสรา มนทสิทธิ์. ความชุกของเชื้อ K. pneumonia และ E. coli ชนิดสร้างเอนไซม์ extended spectrum β-lactamase ที่แยกได้จาก ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน่าน และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2553. ว.เทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2554; 44(3): 169-76.

Danchaivijit S, Judaeng T, Sripalakij S, Naksawas K, Plipat T. Prevalence of nosocomial infection in Thailand 2006. J Med Assoc Thai 2007; 90(8): 1524-9.

อัฐญาพร ชัยชมภู, นฤมล ทองไว. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน. ใน: การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน; วันที่ 8-9 ธันวาคม 2554; ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. นครปฐม; 2554.

ศรัญญา พรศักดา, มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย, กิตติ ศรีสะอาด, มัณฑนา นครเรียบ, ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ, ทวีรัตน์ วิจิตรสุนทรกุล, และคนอื่นๆ. ผลของสารสกัดจากมะเขือพวงในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Salmonella typhimurium. ว.วิทยาศาสตร์การเกษตร 2553; 40(3/1)(พิเศษ): 573-576.

สุวรรณี แสนทวีสุข, ดวงใจ จงตามกลาง, ทัศน์วรรณ สมจันทร์, ปิติพงษ์ โตบันลือภพ. ปริมาณสารฟีนอลิคทั้งหมดความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรบางชนิด. ว.แก่นเกษตร 2555; 2(พิเศษ): 480-83.

กีรติญา เอี่ยมถาวร, ยิ่งมณี ตระกูลพัว. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโพรพอลิส นมผึ้ง และฟ้าทะลายโจร. ใน: การประชุมวิชาการ The 4th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2012 “Pharmacy Profession in Harmony”; วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2555.

กัญญารัตน์ เป็งงำเมือง, ธีรนาฎ จันสุตะ, โสมรัศมี แสงเดช, พรกรัณย์ สมขาว. การสำรวจการใช้สมุนไพรในชุมชน ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562; 8(2): 150-165.

Seetharaman S., Indra V., Durairasu M., Sangeetha, B. Phytochemical profiling antibacterial and antioxidant potential of Cissampelos pareira L. leave extracts. International Journal of Chemistry Studies 2018; 2(2): 88-90.

Njeru SN., Obonyo MA., Onsarigo SN., Ngari SM. Bioactivity of Cissampelos pareira medicinal plant against mycobacterium tuberculosis. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry 2015; 3(6): 167-173.

พัชวรรณ ชูศิลป์กุล. การพัฒนาสารสกัดฟ้าทะลายโจรเพื่อใช้ในตำรับเจลแต้มสิว [วิทยานิพนธ์]. เชียงราย:มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2559.

รัฐฎาพร อุ่นศิวิไลย์. ฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของสารสกัดย่านาง เครือหมาน้อยและรางจืด. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2554

Arora M., Bainsal N., Verma N., Kapoor R. Standardization of Cissampelos pareira: a new boon. world. Journal of Pharmaceutical Research 2013; 3(1): 1527-36.

Ngoci NS., Ramadhan M., Ngari MS., Leonard OP. Screening for antimicrobial activity of Cissampelos pareira L. methanol root extract. European Journal of Medicinal Plants 2014; 4(1): 45-51.

Khadija B. Evaluation of in-vitro antimicrobial activity of Cissampelos pareira. [Thesis for degree of Bachelor of Pharmacy] Department of Pharmacy. Dhaka Banglades: East West University; 2012.

ภานิชา พงศ์นราทร, จุฑามาศ พิลาลักษ์, รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์, ปราณี ศรีราช, ศิรนันท์ วิเศษการ, นฤวัตร ภักดี และคนอื่นๆ. การพัฒนาเวชสำอาง เจลล้างหน้ารักษาสิวจากสารสกัด กรุงเขมา. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 9 “เชื่อมโยงเครือข่าย วิชาการด้วยงานวิจัย”; วันที่ 29-31 สิงหาคม 2560; ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. สุรินทร์; 2561.

Yan Y., Li X., Zhang C., Lv L., Gao B., Li M. Research progress on antibacterial activities and mechanisms of natural alkaloids: A review antibiotics. Antibiotics 2021; 10: 318.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30